Skip to main content
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง


ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย

1. เริ่มที่กรณีการส่ง SMS ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้แจงกรณีนี้ว่า


"นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ชี้แจงว่า การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นการเชิญชวนประชาชนให้มามีส่วนร่วมทางการเมือง และการตอบกลับนั้นเป็นความสมัครใจของเจ้าของโทรศัพท์เอง (มติชนรายวัน, 20 มีนาคม พ.ศ. 2552)

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101200352&sectionid=0101&selday=2009-03-20


เราจะเห็นได้ว่าการชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากประเด็นในเรื่องจริยธรรมได้เลย เป็นไปได้ที่การส่งข้อความสั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์แต่มันเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างแน่นอน เป็นเรื่องผิดจริยธรรมอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปให้กับบริษัทเอกชน รัฐบาลอภิสิทธิ์ชอบอวดอ้างเรื่องจริยธรรมแต่กลับทำผิดหน้าตาเฉย แถมยัง(กล้า)บอกว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะตอบกลับ


2. กรณีของนายกษิต ภิรมย์ ผู้ซึ่งเปรียบเหมือน "ปลาเน่า" บรรจุกระป๋อง การอภิปรายจากฝ่ายค้านได้เปิดเผยให้เห็น "ตำหนิ" ในชีวิตมากมายจนน่าตกใจทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว และเรื่องการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขอตั๋วจากการบินไทยปีละ 500 ใบ อ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่กลับไปแจกจ่ายให้ญาติ เรื่องเปียโน (ไม่เสียภาษี) ที่อ้างว่าจะเอาไปให้ผู้บริหารบ้านเมืองแต่กลับนำไปเป็นของตนเอง และที่สร้างชื่อเสียให้กับตนเองคือการลงทุนปิดสนามบินเพื่อให้ตนเองได้เป็นรัฐมนตรี นายกษิต ภิรมย์ ตอบฝ่ายค้านว่า


"ทำไมผมถึงไป ขอเรียนว่าใครก็ตามที่มีอุดมการณ์ มีความเป็นนักประชาธิปไตย และร่วมต่อต้านการทุจริตมิชอบ รวมกระทั่งการต่อสู้การเป็นเผด็จการรัฐสภา ครอบงำสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ เป็นสิ่งที่ผมต่อสู้มาตลอดชีวิต ผมไม่มีความละอายใดๆ ที่จะทำในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่เปิดเผย


ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กล่าวหาว่าผมใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อสมเด็จฯ ฮุนเซนนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ท่านได้รับข้อมูลว่าไทยได้ส่งกำลังทหาร 500 นาย เข้าประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นหลังจากท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ต่างประเทศสมัยนั้น เดินทางกลับมาจากการเยือนกัมพูชา สมเด็จฯฮุนเซนก็ออกมาประกาศว่าให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกไป ด้วยความรักชาติ และต้องการรักษาความสง่างาม รักษาศักดิ์ศรีของทหารไทย ผมจึงได้พูดไปอย่างที่ปรากฏในเทปบันทึกภาพที่ท่านผู้อภิปรายนำออกมาเปิดเผยต่อที่ประชุม"

(มติชนรายวัน, 21 มีนาคม. พ.ศ. 2552) 

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol04210352&sectionid=0133&day=2009-03-21


เข้าใจได้ที่นายกษิต ภิรมย์ ไม่สนใจเรื่องเล็กน้อยอย่างตั๋วเครื่องบินหรือเปียโน แต่น่าตกใจที่นายกษิต ภิรมย์กล้าพูดว่าตนเอง "มีความเป็นนักประชาธิปไตย" อันที่จริงถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ ควรจะกล่าวว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง การตัดสินด้วยเสียงข้างมาก ผมจึงออกมาต่อต้าน" ผมอยากจะสรุปการกระทำของนายกษิต ภิรมย์ ว่า "จัดการสิ่งที่(เห็นว่า)เลว ด้วยการกระทำที่เลวกว่า"


ในเรื่องประเด็นเขาพระวิหาร กล่าวคำผรุสวาทใส่สมเด็จฯ ฮุนเซ็นออกสื่อสาธารณะโดยไม่ระวังปาก นายกษิต ภิรมย์ ออกตัวว่าเป็นการตอบโต้การกระทำของสมเด็จฮุนเซ็น ที่เกิดจากการเข้าใจผิด


สมมติว่าเกิดจากการเข้าใจผิดจริง นายกษิต ภิรมย์ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงกริยาหรือกล่าวถ้อยคำหยาบคายอย่างที่ได้กล่าวไป ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เป็นนักการทูตหลายประเทศ ไม่ได้มีกิริยาวาจาแตกต่างจากชาวบ้านร้านตลาดเลยแม้แต่น้อย เปิดเผยสกุลรุนชาติของตนเองออกมาง่ายดาย ถ้านายกษิต ภิรมย์ อยากจะเป็น "แมน" กว่านี้ แค่เปิดปากยอมรับผิดและขอโอกาสปรับปรุงแก้ไขน่าจะช่วยให้ตนเองดูดีขึ้น


3. ที่หนักเกินเยียวยาคือการให้เหตุผลของสส.พันธมิตร นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เขาพูดหลายครั้งหลายหนเรื่องปิดสนามบินว่า พันธมิตรไม่ได้ปิด แต่ผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิด


"นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิงว่า ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสากลถือเป็นทัศนคติของคนมอง แต่การจะเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายได้ต้องครบองค์ประกอบตามอนุสัญญาทางการบิน ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอากาศยานในขณะบินอยู่ ต้องปิดน่านฟ้าสากล แต่เราไม่เคยยึดเครื่องบินหรือทำลายอากาศยาน เพียงใช้เวทีด้านหน้าสนามบิน โดยไม่มีการปิดถนนและในบันทึกการประชุมบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บอท.) ก็ระบุว่าผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ และ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้สั่งปิดไม่ใช่เรา"

( เดลินิวส์, วันที่ 21 มีนาคม 2552) http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=194032&Newstype=1&template=1


การให้เหตุผลของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นเรื่องน่าทุเรศเหลือเชื่อ เป็นการเอาสีข้างเข้าถูอย่างแท้จริง ผมสามารถยกตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่า สมมติว่าเกิดการลอบวางระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งจนเสียหายยับเยิน ผู้อำนายการจึงสั่งปิดโรงเรียน 2 สัปดาห์เพื่อซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย กรณีนี้เราจะกล่าวโทษผู้อำนวยการว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงเรียนปิด?


ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่น่าเชื่อว่านายสมเกียติ พงษ์ไพบูลย์ พูดเช่นนี้ขณะอยู่ในสภาฯ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์เป็นตัวสะท้อนได้อย่างดีถึงคุณภาพของพันธมิตร

 

รัฐบาลเอาตัวรอดไปได้เพราะแรงหนุนจากหลายฝ่าย แต่เราก็ได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่งว่าระดับสติปัญญาและคุณภาพของรัฐบาลนี้มีไม่มากนัก แค่พูดให้เป็นเหตุเป็นผล หรือตอบให้ตรงคำถามยังทำไม่ได้เลย.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…