Skip to main content

หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้

แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"

นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า

แต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550 ซึ่งร่างโดยนักวิชาการเฮง... กลับสนองความต้องการของกลุ่มข้าราชการที่ต้องการกลับเข้ามามีบทบาทในวงการเมือง ที่ต้องการเข้ามามี "ส่วนแบ่ง" ในวงการเมืองซึ่งมีเงินสะพัดมหาศาล

ผู้เขียน "รัดทะมะนวย ฉบับหัวคูณ" ใช้นามปากกาว่า "วาทตะวัน สุพรรณเภษัช นักเขียน มิลเลี่ยนคลิก" เป็นการรวบรวมบทความที่เคยเผยแพร่ทางเวบไซต์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ช่วง 1 ปีตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

สามารถติดตามได้ไม่ยากว่าแท้จริงแล้ว ผู้เขียนชื่อมีชื่อจริงว่า พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช ส่วนคนที่จัดพิมพ์คือ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีต รอง ผบ.ตร. เป็นคนจัดพิมพ์ออกจำหน่ายเล่มละ 100 บาท ส่วนคนที่ซื้อมาเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับผู้สมัครพรรคพลังประชาชนคือ พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก ผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 (กทม. นนทบุรี สมุทร ปราการ) แห่งพรรคพลังประชาชน

พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช เปิดเผยถึงที่มาที่ไปของ "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" ให้ฟังว่า
"ผมไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์รัฐประหาร เพราะไม่เชื่อว่าคนที่ทำลายประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ จะเข้าใจ ประชาธิปไตย และเชื่อเสมอว่า ตำรวจเข้าใจประชาธิปไตยมากที่สุด และเมื่อรัฐประหารเสร็จเรียบร้อย ก็มีข่าวเรื่องการทุจริตต่างๆ นานา อย่างรถหุ้มเกราะล้อยาง ซึ่งผมไม่พอใจมาก เพราะในอดีตมีทหารกี่คนที่ทุจริตและถูกดำเนินคดีไม่รู้จัก กี่คน..."

พร้อมกันนี้ ผู้เขียนได้อธิบายความหมายของคำว่า "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" แบบมีอารมณ์ขันว่า
"มันไม่ได้เป็นคำหยาบคายอะไร หากอ่านหนังสือผมให้หมดก็จะรู้ว่า คำว่ารัดทำมะนวย เป็นคำที่ยืมมาจาก สุจิตต์ วงศ์เทศ ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ มติชนว่า รัดทำมะนวยปล้นอำนาจประชาชน ส่วน ฉบับหัวคูณ ผมเอามาจากคำของซือแป๋ ราชดำเนิน (พล.ต.หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช) ที่เขียนเอา ไว้ว่า ไอ้พวกทุจริตมันเป็นพวกหัวคูณ คือคิดอะไรแต่เรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง โดยการคูณ คูณ คูณ คูณ ว่าเป็นเงินเท่าไร ผมก็ยืมเอาคำมาผสมกันเป็น รัดทำ มะนวย ฉบับหัวคูณ"

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มดังกล่าวหน้า 129 ผู้เขียนระบุคำว่า รัดทำมะนวย มาจากบทกวีของ คุณชนะ คำมงคล ที่เขียนไว้ว่า

"เจ้าขุนทองยังไม่มา เห็นแต่หน้าเจ้าขุนทวย
กำลังร่างรัดทำมะนวย ฉวยอำนาจประชาชน"

ส่วน พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ผู้จัดพิมพ์ และเป็นประธานชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงมาจากหนังสือ "ทำลายรัฐตำรวจ สร้างรัฐทหาร" ของชมรมข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นหนังสือ ที่ชมรมทำออกจำหน่ายให้กับข้าราชการตำรวจ ช่วงต้นปี 2550 เพื่อชี้แจงถึงรายละเอียดร่าง พ.ร.บ. ข้าราชการตำรวจ ที่จะมีผลกระทบกับตำรวจทุกคนในอนาคต

"...เพราะคนนอกที่ไม่ใช่ตำรวจ กำลังจะเข้ามามีอำนาจเหนือตำรวจทั้งประเทศ ต่อมารัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ (จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี) เริ่มพูดถึง นโยบายการปราบยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และการฆ่าตัดตอน 2,000 ศพ ชมรมเห็น ว่าเป็นการสร้างเรื่องเพื่อทำลายข้าราชการตำรวจ และผลักให้ตำรวจทั้งประเทศเป็นผู้ร่วมกระทำผิด และผลักให้ไปเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ โดยไม่ตั้งใจ"

"...ทำให้ตำรวจที่เป็นผู้ปฏิบัติเสียกำลังใจอย่างมาก จึงรวมตัวกันออกหนังสืออีกเล่ม เพื่อบอกความจริงกับสังคมชื่อ "ฆ่าตัดตอน โกหกบันลือโลก" ซึ่งเป็นเป็นหนังสือคู่แฝดที่จัดทำมาพร้อมกับ "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ"

หนังสือเล่มนี้ จะเป็นสีสันและอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2550 มากไปกว่านั้นหนังสือเล่มนี้จะต้องส่งผลสะเทือนไม่มากก็น้อย ต่อชะตาชีวิตของรัฐธรรมนูญปี 2550

มันยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อที่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้นเป็นรัฐธรรมนูญเถื่อนที่ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อะไรเลย เพราะผู้ร่างก็เป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกตั้งขึ้นโดยอำนาจเถื่อนที่ไม่ได้การยอมรับ ซ้ำเนื้อหาก็เถื่อนเอามาก ๆ (เวลาที่ผมเข้าไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเผอิญเห็นหน้านักวิชาการที่ช่วยยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 แล้ว ผมก็นึกถึงรัฐธรรมนูญเถื่อนทุกที ราวกับว่าที่หน้าผากของนักวิชาการท่านนี้มีรัฐธรรมนูญปี 50 แปะอยู่)

ผมเชื่อว่าชะตาชีวิตของรัฐธรรมนูญปี 2550 คงจะสั้นเอามาก ๆ หรืออย่างน้อยก็จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์น่ายำเกรง เป็นกรอบกฏหมายสูงสุดที่สัปดน น่าหัวร่อ มันจะกลายเป็นขี้ปากให้ใครต่อใครเอามาด่าเล่น

แม้ว่าผมจะไม่ค่อยเห็นด้วย กับเหตุผลที่ทางผู้จัดพิมพ์ยกมาอ้างในการจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ" แต่ผมเห็นด้วยว่ารัฐธรรม "นวย" ปี 2550 นั้น "หัวคูณ" จริงๆ

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…