Skip to main content

นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่


น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ โรงพยาบาลได้กลายเป็นแหล่งแพร่รับส่งเชื้อโรคไปแล้ว ผมถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าไม่กลัวติดโรคกันบ้างหรือ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งบอกว่าพวกเขาฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว

\\/--break--\>
แม้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะทำงานกันอย่างแข็งขัน แต่ขั้นตอนต่าง ๆ และจำนวนผู้ป่วยมากมายมหาศาลทำให้ต้องรอคอยเป็นเวลานาน (เพียงเพื่อจะได้พบหมอสัก 5 นาที) หลายคนดูอ่อนระโหยแรงแรง เด็กบางคนนั่งพิงผนังจนหลับไป ใบหน้าของเด็กบางคนแสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดทรมานที่ได้รับ พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กก็ดูทุกข์ใจไม่แพ้กัน ภาพในโรงพยาบาลไม่มีอะไรชวนให้สุขใจเลย


ผมรอแล้ว รอเล่า และคิดว่าคงรอกันอีกนาน จึงฆ่าเวลาด้วยการโทรศัพท์คุยกับคนนั้น คนนี้ คุยไปคุยมาก็อดไม่ได้ที่จะระบายให้คนที่อยู่ปลายสายโทรศัพท์ฟังเกี่ยวกับการรับมือกับโรคระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ของรัฐบาล

 

รัฐบาลล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการจัดการกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่ได้ลงมือทำอะไรที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพหรือความเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาแม้แต่น้อย ต้องรอให้ปัญหาเกิดเสียก่อนแล้วค่อยหาทางคิดแก้ไขไปตามยถากรรม รัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรเพราะคงกลัวกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

สิ่งที่รัฐบาลทำมากที่สุดคือการกลบข่าวเรื่องไข้หวัด 2009 เบี่ยงประเด็นไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ ไล่ตั้งแต่หมีแพนด้า น้องนก ล่าสุดคือคดีลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล


รัฐบาลหมกมุ่นอยู่กับสโลแกน ประเภท กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ แต่การให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 2009 แทบไม่มีเลย


สิ่งที่ผมอยากรู้ก็คือการดูแลรักษาตนเองเมื่อป่วย ต้องการรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น เมื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เข้าสู่ร่างกายแล้ว ใช้เวลานานกี่วันจึงจะแสดงอาการ? คนที่เคยเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานมากน้อยแค่ไหน? ยาที่ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลกับไข้หวัดใหญ่ 2009 คือยาตัวเดียวกัน? ทำไมรัฐบาลไม่รณรงค์ให้คนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่? ฯลฯ


ผมต้องค้นคว้าหาข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเองโดยสอบถามเอาจากผู้รู้และจากอินเตอร์เนตซึ่งอาจไม่ถูกต้องชัดเจน


นอกจากนี้แล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ตำแหน่งนายกฯ จากการวิ่งราวก็พูดไม่รู้เรื่องมากยิ่งขึ้นทุกวัน บางครั้งฟังเหมือนกำปั้นทุบดิน ทำหน้าซึม ๆ หล่อ ๆ ออกโทรทัศน์ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่ไม่ให้ประกาศยุติกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด? นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า


"สมมุติว่าเราคิดว่าหยุดทุกสิ่งทุกอย่าง และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม มีบางประเทศประเมินว่าใน 1 สัปดาห์ที่หยุดกิจกรรม อาจเสียหายเป็นแสนล้านบาท แต่หลังจากนั้นก็กลับมาแพร่ระบาดอีก เช่นหยุดโรงเรียน พอเปิดก็กลับมาอีก เพราะไม่มีใครมีภูมิคุ้มกัน จึงต้องหาความพอดี ดังนั้นที่เราดูคือ อัตราการเสียชีวิต และดูว่ากำลังของโรงพยาบาลต่างๆ รับได้หรือไม่ ถ้ามีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นก็ต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้นเพื่อถ่วงดุล" (มติชน, 16 ก.ค.52)

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0103160752§ionid=0101&selday=2009-07-16

 

แม้แต่การใช้คำพูดให้เป็นเหตุเป็นผล นายกฯ คนนี้ก็ทำไม่ได้ คำพูดที่ผมขีดเส้นใต้ไว้แสดงให้เห็นถึงการพูดโดยไม่คิด พูดแบบกำปั้นทุบดิน ไร้วุฒิภาวะ พูดย้ำถึงข้อเท็จจริงโง่ๆ "เพราะไม่มีใครมีภูมิคุ้มกัน"

 

แน่นอนที่การปิดโรงเรียนไม่ได้ทำให้ไข้หวัดใหญ่หายไปจากประเทศไทย เช่นเดียวกับการปิดร้านเกมหรือโรงเรียนกวดวิชา แต่การปิดโรงเรียนเป็นการชะลอการแพร่กระจายของเชื้อโรค ยอดของผู้ป่วยย่อมน้อยลงกว่าการไม่ทำอะไรแน่ ๆ

 

ยิ่งนานวัน ความล้มเหลวไม่ได้เรื่องของรัฐบาลที่มาจากการปล้นชิงเขามา ยิ่งปรากฏชัด แม้แต่คนที่เคยวิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อย่างหนัก มาวันนี้กลับยกย่องชมเชยในเรื่องการจัดการกับโรคซาร์หรือไข้หวัดนกที่เคยระบาดมาก่อน

 

เรากำลังอยู่ในยุคมืดจริงๆ รัฐบาลทำงานไม่ได้เรื่อง กฎหมายไม่เป็นกฏหมาย สถาบันหลักๆ ทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงหลักการ ฯลฯ ภายใต้ภาวะการณ์เช่นนี้ เป็นไปได้มากขึ้นที่ชีวิตจะสั้นลง.

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…