การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง
นายสมเชาว์ โกศล นายกสมาคมมัคคุเทศก์ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้ได้รับผลกระทบกล่าวว่า “กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศไม่มั่นใจเดินทางมาภาคใต้ ได้หันไปจองแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคอีสานแทน ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน อย่าปล่อยให้เกิดวิกฤตท่องเที่ยวซ้ำสอง หลังจากเกิดการปิดสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตร เมื่อปี 2551 มาแล้ว" (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)
สหภาพแรงงานใช้มุกแบบพันธมิตรคือ ลาหยุด-ป่วย,ข่มขู่จะปิดหัวลำโพง,ยึดหัวรถจักรขบวนที่กำลังวิ่งอ้างว่าจะนำไปตรวจสภาพความพร้อม
พนักงานฝ่ายบริการ รฟท.คนหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า “ผู้บริหารและฝ่ายการเดินรถสั่งให้จำหน่ายตั๋วโดยสารและปล่อยขบวนรถให้มาที่ จ.สุราษฎร์ธานี ไป-กลับ ได้วันละ 3 ขบวนเท่านั้น เนื่องจากมีขบวนรถเหลืออยู่น้อยแล้ว หากปล่อยให้ขบวนรถเดินทางไปถึงชุมทางทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และชุมทางหาดใหญ่ อาจถูกกลุ่มสหภาพ รฟท.ยึดหัวรถจักรไว้อ้างตรวจซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มแรงกัดดันให้ฝ่ายบริหารลาออก เพราะหัวรถจักรส่วนใหญ่และขบวนรถท้องถิ่นถูกกักไว้ที่ อ.หาดใหญ่ จนเกือบหมดแล้ว” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)
เป็นที่รู้กัน สาวิทย์ แก้วหวาน ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรมาช้านานตั้งแต่ขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อเนื่องมาจนถึงอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ กระทั่งได้เป็นแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตร
ดังนั้นสไตล์การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงาน ฯ กับรูปแบบการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรจึงมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เรียกได้ว่าลอกกันมาเลยทีเดียว
ความคล้ายคลึงที่ว่านั้นคือ ทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องของตนเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ นำความเดือดร้อนของประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเพื่อเป็นข้อต่อรอง ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการยึดสนามบินซึ่งเป็นการนำ “ความเดือดร้อนนานาชาติ” เข้ามาเป็นเครื่องต่อรองซึ่งก็ได้ผลเพราะรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นไป (ด้วยความร่วมมือของศาล) แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองนั้นกลุ่มพันธมิตรไม่แม้แต่จะคิดรับผิดชอบ
ว่าที่จริง นอกจากการยึดสนามบิน การประท้วงโดยการหยุดงานเพื่อต่อรองกับรัฐบาลในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 สมาชิกรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งทั่วประเทศนัดหยุดงานพร้อมกันเพื่อกดดันรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ท่ามกลางความพรั่นพรึงของประชาชนที่ต้องใช้บริการรัฐวิสาหกิจ
สาเหตุและข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฯ ในการนัดหยุดงานครั้งนี้แม้ว่าจะอ้างเรื่องของความไม่พร้อมของหัวรถจักร แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องภายในที่ประชาชนไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย “กรณีที่มีพนักงานนัดหยุดงานพร้อมเพรียงจำนวนมากที่สถานีหาดใหญ่และสถานีปากน้ำโพนั้น ส่วนเหนึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจที่มีการโยกย้ายระดับผู้ช่วยพนักงานประจำสถานีทั้ง 2 แห่งออกไปจากพื้นที่ โดย ทั้ง 2 คน เป็นกรรมการและอนุกรรมการของสหภาพ รฟท.ด้วย” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552) ทั้งยังเรียกร้องเลยเถิดไปถึงขั้นให้ปลดผู้บริหารรฟท.
พนักงานรัฐวิสาหกิจทำเช่นนี้ได้เพราะมีอำนาจต่อรอง เป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่เอาแต่ได้ ผมมองว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ได้รับสวัสดิการล้นเหลือ เมื่อเทียบกับประชาชนหาเช้ากินค่ำซึ่งไม่มีสวัสดิการอะไรกับเขาเลย
อันที่จริงผมไม่เคยคิดว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเป็นขบวนการภาคประชาชนเลยด้วยซ้ำ ยิ่งเมื่อดูที่รูปแบบและผลกระทบจากการเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งเน้นสร้างความเดือดร้อนสาธารณะแล้วยิ่งไม่อาจนับว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนได้เลย น่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มุ่งกดดันรัฐบาลเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะตัวมากกว่า เช่นเดียวกับที่ผมไม่นับการเคลื่อนไหวของสำนักสันติอโศกกระทั่งกลุ่มพันธมิตรว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนเหมือนกัน เพราะหากดูที่เป้าหมายของการเคลื่อนไหวแล้วเห็นได้ชัดว่าบั่นทอนทำลายพลังประชาชน ทำให้ขบวนการภาคประชาชนอ่อนแอลง
บล็อกของ เมธัส บัวชุม
เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” เป็นอย่างไร “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550 ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ” ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…