หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
ผมไม่เคยเห็นด้วยเลยกับแนวคิดเรื่องชาตินิยม ไม่ว่าจะอวดอ้างว่าเป็นชาตินิยมแบบไหนก็ตาม จะชาตินิยมแบบนักวิชาการอย่างนิธิ เอียวศรีวงศ์ หรือชาตินิยมมอมเมาแบบพันธมิตร สุดท้ายแล้วก็ไม่ต่างกันนักเพราะนำไปสู่อะไรที่คับแคบหรือเป็นเผด็จการ สังเกตดูเถิดว่าชาตินิยมกับความเป็นเผด็จการมีอะไรหลายอย่างที่ใกล้เคียงกัน
อุดมการณ์ชาตินิยมทำให้หลงตัวเอง มองไม่เห็นไม่รู้ข้อเสียของตนเอง เอาแต่โทษคนอื่น นำไปสู่ความล้าหลังและรักชาติแบบผิด ๆ ว่าที่จริงความรักชาติที่กินไม่ได้นั้นไร้ประโยชน์ นำไปสู่อคติหรือความโง่เขลาเบาปัญญา
ดังนั้นผมจึงรู้สึกต่อต้านอย่างรุนแรงที่รัฐบาล นักวิชาการ หรือกลุ่มพันธมิตรพากันปลุกผีเรื่องชาตินิยมกระทั่งคลั่งชาติขึ้นมา ฉวยโอกาสตอบโต้กับฝ่ายทักษิณซึ่งทำอะไรในระดับอินเตอร์ด้วยการชูเรื่องชาติ
ทีนี้เราลองดูสิว่าชาตินิยมแบบพันธมิตรที่ออกมาจากปากจ้าวลัทธิสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นน่าขยะแขยงเพียงไร สนธิบอกว่า
“ทำไมชาติถึงสำคัญ เพราะชาติประกอบด้วยสองอย่างคือศาสนา และพระมหากษัตริย์ เมื่อพวกเรารักชาติ ก็เท่ากับพวกเรามีศรัทธาในศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตามที่เราเคารพ เมื่อเราศรัทธาในศาสนา ศาสนาแข็งแกร่ง สถาบันกษัตริย์ก็ย่อมแข็งแกร่งด้วย เมื่อศาสนาแข็งแกร่ง สถาบันแข็งแกร่ง ชาติก็แข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นแล้วศาสนาและพระมหากษัตริย์จะแยกออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด” http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26623
ถ้าสนธิเชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดทุกคำก็แสดงว่าสนธิคงมีความโง่อยู่ในตัวเอง ทำไมชาติจะแยกออกจากศาสนาหรือพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ชาติหลายชาติในโลกนี้ไม่จำเป็นต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เจริญรุ่งเรืองได้ ตัวอย่างมีเยอะแยะไป หรือในชาติที่มีพระมหากษัตริย์หากเกิดการเปลี่ยนราชวงศ์ ชาติก็ยังไม่เปลี่ยนไปไหน ชาติยังคงอยู่ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนราชวงศ์หรือเปลี่ยนระบอบการปกครอง
ชาติไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสถาบันกษัตริย์กระทั่งไปด้วยกันไม่ได้ด้วยซ้ำไป การผูกชาติไว้กับสถาบันกษัตริย์ส่งผลต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอย่างมาก หน้าตาประชาธิปไตยของไทยจึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่
นอกจากนี้แล้ว คำพูดที่หยิบยกมาจะเห็นได้ว่า ชาตินิยมของสนธิ (หรืออาจหมายถึงชาตินิยมของกลุ่มพันธมิตรด้วยบางส่วน) ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ประชาชน” อยู่เลย มีแต่ศาสนา (ความงมงาย) และพวก “เจ้า” (อาศัยความงมงายในการครองอำนาจ)
ชาตินิยมเป็นของพวกเจ้า โดยพวกเจ้าและเพื่อพวกเจ้า โดยร่วมมือกับศาสนาคอยกล่อมเกลาประชาชน ในขณะที่พวกคนชั้นกลางหรือพ่อค้าอย่างสนธิ อาจฉวยโอกาสสร้างคะแนนทางการเมืองหรือหลอกขายของไปด้วยพร้อมกัน ดังนี้แล้วจึงเป็นที่ชัดเจนว่าชาตินิยมไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรมากนักกับคนระดับรากหญ้า หากแต่เป็นอุดมการณ์ในการมอมเมาให้คนขาดสติปัญญา
จึงไม่น่าแปลกใจที่พันธมิตรหรือพรรคประชาธิปัตย์จะคุ้นเคย หรือนิยมชมชอบฉวยใช้ประโยชน์จากอุดมการณ์ชาตินิยม แล้วก็โชคดีเช่นเคยที่ชาตินิยมมาถูกที่ถูกเวลาสำหรับลดแรงวิพากษ์วิจารณ์ในการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ โชคดีสำหรับพันธมิตรเช่นกันที่ได้โอกาสปลุกกระแสความนิยมขึ้นมาอีกหน
ขอส่งท้ายด้วยบทกวีพันธมิตร ซึ่งเป็นแรงหนึ่งที่ช่วยปลุกผีชาตินิยมพันธมิตรขึ้นมา น่าละอายที่กวีระดับซีไรต์ยังจมปลักอยู่กับชาตินิยมล้าหลัง บ่ายเบี่ยงไปว่าไม่ใช่เรื่องคลั่งชาติแต่เป็นเรื่องศักดิ์ศรีพร้อมกับยัดเยียดเรื่อง “ทรราชย์” “ผิดไม่ยอมรับผิด” ให้อีกฝ่าย ลองอ่านดู
@ ต้านศัตรู @
@ นี่ไม่ใช่ลัทธิ “ชาตินิยม”
ไม่ใช่เรื่อง ปลุกระดม ขึ้นเข่นฆ่า
ไม่ใช่เรื่อง คลั่งชาติ ไม่พัฒนา
ไม่ใช่เรื่อง อมาตยา บ้าชนชั้น
หากเป็นเรื่อง เอกราช อธิปไตย
ศักดิ์ศรี ความเป็นไท ใช่ทาษนั่น
ล่วงละเมิด หมิ่นหยาม สิ่งสำคัญ
ไม่เคารพ กันและกัน บั่นไมตรี
ผิดไม่ยอม รับกรรม ที่ทำผิด
กลับตะบิด ตะแบงไป ในทุกที่
ตั้งเข็มผิด ก็ผิดไกล ไปทุกที
เงินชั่วชี้ ชั่วช้า สาริยำ
หนึ่งนายทุน ทรราช ฉกาจกล้า
สองขุนศึก เฒ่าชรา บ้าระห่ำ
สามเจ้าตั้ง ศักดินา ออกหน้านำ
สามศัตรู ขู่ขย้ำ ประเทศไทย
ต้องร่วมมือ กำหมัด ขจัดมาร
ต้องร่วมต้าน ร่วมสู้ ศัตรูใหม่
ต้องเป็นใจ เดียวกัน ประสานชัย
ต้องขับไล่ อันธพาล เผาบ้านเมือง
สามัคคี คนไทย ที่ใจไท
ไม่ยอมให้ ศัตรู มาขู่เขื่อง
ความเป็นธรรม ต้องสำแดง ให้แรงเรือง
ร่วมปลดเปลื้อง อยุติธรรม งำแผ่นดิน!
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
บล็อกของ เมธัส บัวชุม
เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี" หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่ แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…