Skip to main content

คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล

“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน” (มติชน 31 ธันวาคม 50)

บางคนอาจจะรู้ว่าเจ้าของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” นี้เป็นใครเพราะคุณสมัคร  สุนทรเวช บอกเป็นนัยไว้แล้ว   และบุคคลที่เป็นเจ้าของ “มือสกปรก”  นี้ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่ากำลังทำอะไรอยู่ แต่อาจจะมองไม่เห็น “มือตนเอง” หรือไม่รับรู้ว่า “มือของตนเอง” นั้น “สกปรก” เพราะเขาและมือเขา “อยู่ในที่มืด”   และเป็นเพราะว่ามือของเขา “ไม่เคยสะอาด”  มาก่อนเลยนั่นเอง

สมัคร  สุนทรเวช กล่าวถึงบุคคลผู้นี้ว่า
“เมื่อตนไปหาเสียงที่ภาคอีสาน เจอหนังสือวางขาย ตนเห็นรูปที่หน้าปก เห็นชื่อ ตำแหน่ง แล้วข้างใต้ชื่อเขียนว่า 'ก้อนกรวดในรองพระบาท' เห็นแล้วก็ใจหายวูบ ไม่กล้าแม้จะเปิดอ่าน ตนแค่เล่าให้ฟังเท่านั้นเอง วันนี้ก็จะเล่าเพียงเท่านี้ ใครจะถามเท่าไหร่ ก็จะไม่พูดอีก ไปหาอ่านเองก็แล้วกัน มีวางขายอยู่ทั่วไป ป่านนี้ถ้าใครเก็บแล้วก็ไม่ทราบได้” (มติชน 31 ธันวาคม 50)

 

เชื่อว่าเจ้าของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” ที่คุณสมัคร สุนทรเวช พูดถึง คงจะเคย “สอดมือ” เข้ามา “แทรกแซง” วงการเมืองหลายครั้งหลายหน และคงไม่เคยคิดจะ “ล้างมือ” หรือรู้จัก “ความพอเพียง” แต่อย่างใด เพราะคอยแต่ป้วนเปี้ยนวนเวียนเข้ามาทำให้ระบบการเมืองยุ่งเหยิงอลหม่านครั้งแล้ว ครั้งเล่า

“มือสกปรกที่มองไม่เห็น” นี้อาจมีหลายคู่ ทั้งมือเล็ก มือใหญ่ สกปรกมาก สกปรกน้อยลดหลั่นกันไป “มือสกปรก” เหล่านี้ส่งผลต่อความเป็นไปของระบบการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์อย่างมหาศาล ซึ่งจะว่าไปนี่เป็นปัญหาสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยมาตลอดนั่นคือปัญหาของการแทรกแซงจากอำนาจ “นอกวงการเมือง”  อาทิ เช่น กองทัพ ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ รวมทั้งจาก “มือสกปรก” ที่คุณสมัคร สุนทรเวชพูดถึงในครั้งนี้

สิ่งที่ “มือสกปรก” ได้ลงมือทำคือ
“เพราะมือที่มองไม่เห็นได้ทำให้เกิดบุคคลที่เรามองเห็นตัว ทำการประหลาดโดยการส่งตำรวจเข้าไปเป็นกรรมการชุดพิเศษ แล้วตำรวจคนนี้ ซึ่งขอย้ำเลยว่า เป็นนายตำรวจที่คลุกคลีตีโมงอยู่กับพันธมิตร ซึ่งต่อต้านรัฐบาลที่แล้วตลอดมา คนๆ นี้ได้ดำเนินการ ทั้งจังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และอีกหลายจังหวัด เตรียมการเอาผู้คน ซึ่งเป็นพยานที่จัดทำขึ้นมาเอง ใส่รถนำมาสอบสวนในกรุงเทพฯ พนักงานสอบสวนถูกเกณฑ์ เข้าไปเพื่อจะสอบสวนในเรื่องนี้ เป้าหมาย คือ ต้องการยุบ พปช.ทำกันถึงขนาดจะลากเอาตัวไปเกี่ยวพันกับคณะกรรมการบริหาพรรค เขาย่ามใจเคยทำสำเร็จมาแล้ว เมื่อยุบพรรค ที่ กกต.ไม่อยากให้ออกชื่อ บัดนี้จึงพยายามอีก” (มติชน 31 ธันวาคม 50)

ดังนั้น ปัญหาของระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ใช่เรื่องการ “ขายสิทธิ ขายเสียง” ที่ชนชั้นกลางหรือสื่อมวลชนโง่ ๆ รณรงค์เวลาที่มีการเลือกตั้ง การ “ขายสิทธิ ขายเสียง” เป็นเรื่องเล็กน้อยเอามาก ๆ เมื่อเทียบกับการที่ทหารเอารถถังมาฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า และเทียบกันไม่ได้เลยกับบทบาทการทำลายระบอบประชาธิปไตยของ “ตัวละครที่ไม่ยอมลงจากเวที” อย่าง “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” หรือเล็กน้อยจนเทียบไม่ได้เช่นเดียวกันกับความเสียหายที่เกิดจากบรรดานักวิชาการ ผู้ออกแบบรัฐธรรมนูญและคอยกำกับทิศทางการเมือง

การโจมตีเรื่องการ “ซื้อสิทธิ ขายเสียง” จึงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเป็นการ “โยนความผิด”  ที่การเมืองการปกครองไปไม่ถึงไหนให้แก่ “คนระดับล่าง” เท่านั้นเอง ส่วนคนที่ทำลายประชาธิปไตย “ตัวจริง” นั้นกลับลอยนวล

อาจเป็นไปได้ที่ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” จะใช้อำนาจและอิทธิพลแทรกผ่านเข้ามาป่วนกระทั่งล้มการจัดตั้งรัฐบาลผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่คุณจาตุรนต์  ฉายแสง ระบุว่ามีอยู่ 4 คนที่วางตัวไม่เป็นกลางซึ่งอาจแจกใบเหลือง-แดงให้แก่ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคพลังประชาชน เป็นจำนวนมาก หรืออาจไปไกลถึงขั้นถูกยุบพรรคพลังประชาชนดังที่เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่งกับพรรคไทยรักไทย

ไม่ว่าเจ้าของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” จะเป็นใคร ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกประณาม สาธารณชนควรร่วมกันลงชื่อประณามเพื่อให้เกิดสำนึกในความผิดที่ได้ทำในครั้งนี้และครั้งที่ผ่านๆ มา หรือถ้าเป็นไปได้ก็หาช่องทางฟ้องร้องในทางกฎหมาย

“มือสกปรกที่มองไม่เห็น” นี่แหละ ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายความเจริญงอกงามและพัฒนาการของการเมืองไทย

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…