Skip to main content

ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน


อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง สีหน้าท่าทางของตัวการ์ตูนสื่อความหมายได้อย่างดีหรืออาจโจ่งแจ้งเกินจริงด้วยซ้ำ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวได้โดยแทบไม่ต้องอ่านคำพูดหรือบทสนทนาของตัวการ์ตูนเลยก็ได้ ดังนั้นหนังสือการ์ตูนจึงสามารถเปิดดูผ่าน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถยืนอ่านที่ร้านหนังสือรวดเดียวจบโดยไม่ต้องซื้อให้เปลืองเงิน


แต่การ์ตูนของชัย ราชวัตร ต่างออกไปตรงที่เน้นการใช้ “คำพูด” ในการเล่าเรื่องและเรื่องที่เล่าก็มักเป็นแง่มุมเกี่ยวกับการเมือง หรือข่าวสังคมที่กำลังเป็นกระแสความสนใจบวกกับทัศนคติล้าหลังของตัวเขาเอง


ชัย ราชวัตร ง้างปากตัวการ์ตูนให้พูดในสิ่งที่เขาต้องการซึ่งยอมรับว่าหลายครั้งการ์ตูนของเขาจบลงด้วยการใช้คำพูดหักมุมให้ทึ่งและประหลาดใจจนน่าติดตาม บางครั้งก่อให้เกิดอารมณ์ขันกับความสะใจระคนกัน


ท่านทูตสหรัฐคนที่แล้วก็ยอมรับว่าเขาชอบอ่านการ์ตูนของชัย ราชวัตร เพราะช่วยให้เห็นแง่คิดและทัศนคติทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่ง


อย่างไรก็ตาม การ์ตูนของชัย ราชวัตร ในคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นตอนที่อ่านแล้วหัวเราะไม่ออกเพราะคาดไม่ถึงว่า ชัย ราชวัตร จะสามารถ “หยาบ” ได้ถึงเพียงนี้ แต่อย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นก็คือ ชัย ราชวัตร แสดงความ “หยาบ” ผ่านตัวการ์ตูนหลายครั้งหลายหนแล้ว


ในการ์ตูน ลูกสาวตัวน้อยอยู่ในชุดนักเรียนท่าทางไร้เดียงสา ถามแม่ที่กำลังตากผ้าอยู่ด้วยถ้อยคำที่ดูเหมือนไร้เดียงสาว่า

แม่จ๋า ถ้าหนูเรียนพยาบาล หนูจะได้เป็นรัฐมนตรีคลังไหมคะ”

แม่ตอบว่า

ถ้าแกเรียนพยาบาล แกจะเป็นอะไรก็ได้ แต่แกต้องหาผัวเป็นนักการเมืองให้ได้ก่อน”

(ไทยรัฐ, 14 กุมภาพันธ์, 51)


รู้โดยไม่ต้องวิเคราะห์ว่าบทสนทนาข้างต้นเชื่อมโยงกับการจัดคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช คนที่มีข้อมูลอยู่บ้างก็จะรู้ได้ว่าหนึ่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้คือคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี มีอาชีพเป็นพยาบาลและเป็นภรรยาของคุณไพโรจน์ สุวรรณฉวี ซึ่งเป็นนักการเมือง


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังท่ามกลางคำครหาว่า “ขี้เหร่” แต่ด้วยความที่สามีเป็นนักการเมืองในพรรคเพื่อแผ่นดินและมีอิทธิพลไม่น้อย คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จึงขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ได้


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ว่า

เรื่องนี้ถือเป็นมุมมองของแต่ละคน เพราะต่างคนก็ต่างมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างในต่างประเทศแถบยุโรปถ้าเป็นตำแหน่ง ส.. ก็จะเป็นกันทั้งตระกูล เป็นมรดกตกทอด ดิฉันคิดว่าการที่เรามาอาสาทำงานทางการเมืองโดยที่เรามีความพร้อม ไม่ทราบว่าเป็นที่น่ารังเกียจหรือมันผิดตรงไหน ในเมื่อประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกเราเข้ามาทำงานในตรงนี้แล้วจะทำงานให้ดีที่สุดให้สมกับที่ชาวบ้านเลือกเข้ามา การที่ใครจะมองดิฉันไปในทิศทางใดก็ไม่เป็นไร ขอน้อมรับทั้งหมด”


ไม่ว่าคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จะ “ขี้เหร่” จริงหรือไม่ก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ของ ชัย ราชวัตร ในครั้งนี้ถือว่า “ไม่เข้าท่า” อย่างแรง


ที่เห็นชัดเจนอย่างมากเป็นอันดับแรกก็คือการดูถูกผู้หญิง อันดับต่อมาก็คือการดูถูกอาชีพพยาบาล แฝงด้วยความเหยียดหยันนักการเมืองตามสไตล์ของเขา


ตามเนื้อหาในการ์ตูนของเขา ผู้หญิงที่เป็นพยาบาลจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ก็ด้วยความสามารถในการหาสามีที่เป็นนักการเมือง ไม่ใช่เพราะความขยันขันแข็งในอาชีพพยาบาลของตนเอง!


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี พูดถึงอาชีพพยาบาลของตนเองว่า

อาชีพพยาบาลไม่ใช่อาชีพที่น่ารังเกียจ เป็นอาชีพที่สังคมยอมรับ ความจริงแล้วตอนที่เริ่มต้นเรียนพยาบาล คุณแม่ไม่ค่อยสบายและอยากจะให้เรียน จึงตัดสินใจสอบเข้าเรียนพยาบาล เริ่มจากวิทยาลัยพยาบาลกอง ทัพบก รุ่นที่ 10 หลังจากนั้นไปเรียนต่อพยาบาลศาสตร์ มหิดล และเรียนต่อปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหา วิทยาลัยเกริก เริ่มต้นทำงานพยาบาลจริงๆเพียง 3 ปี จากนั้นจะทำงานด้านวิชาการและด้านการบริหารเสียส่วนใหญ่ ไม่ทราบเหมือนกันว่าอาชีพพยาบาลไม่ดีตรงไหน”


ชัย ราชวัตร อาจไม่ตั้งใจ แต่ความไม่ตั้งใจนี่แหละที่สะท้อนให้เห็น “สันดาน” ของเขา สันดานในการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างขาดความรับผิดชอบ ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในฐานะที่เป็นสื่อสารมวลชน


หากมองในแง่ศิลปะ การ์ตูนของ ชัย ราชวัตรก็ล้มเหลว หลายครั้งที่ตัวละครการ์ตูนของเขารู้มากเกินไป บุคลิกลักษณะของตัวละครกับสิ่งที่ตัวละครพูด ไปด้วยกันไม่ได้เลย บางทีอ่านการ์ตูนของเขาแล้วก็นึกถึงการโฆษณาชวนเชื่อของสนธิ ลิ้มทองกุล


อย่าปล่อยให้นักเขียนการ์ตูนแบบนี้ลอยนวล ช่วยกันประณาม เพราะหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ใช่เวทีสำหรับแสดงสันดานหยาบ

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…