Skip to main content

-1-

การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง

ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!)

ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าโลกของการเสพยาเสพติดคือการปลดปล่อยตนเองจากกฏระเบียบน่ารำคาญของสังคมที่เข้าไปยุ่มย่ามวุ่นวายกับชีวิตส่วนตัว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่จะเสพยาเสพติด (ชนิดใดก็แล้วแต่) หรือแสวงหาประสบการณ์สุดขั้วอันเป็นความสุขหรือความทุกข์ส่วนตนที่สังคมไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าการเสพยาเสพติดเป็นวิธีการในการตอบโต้กับค่านิยมกระแสหลัก เป็นการกบฎเล็ก ๆ ต่อระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ปัจเจกชนและเสรีชนกลืนไม่ลง คือการหาความสุขที่หาไม่ได้จากสังคมที่รกรุงรังด้วย “ศีลธรรม”  

ทัศนะแบบนี้จางคลายกระทั่งแปรเปลี่ยนไปเมื่อวัยเพิ่มขึ้น หรือเมื่อต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของคนอื่น ผมย้อนกลับไปมองตนเองผ่านการเปลี่ยนแปลงความคิดแล้วก็เข้าใจถึงสัจธรรมของชีวิตบางประการ...

-2-

ไม่กี่วันก่อน ผมได้รับฟัง “เรื่องสั้น” เกี่ยวกับตำรวจและยาบ้าอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไร้เกียรติของวงการตำรวจสมกับคำร่ำลือ พฤติกรรมของตำรวจที่ชอบหากินกับซากฟอนเฟะของสังคมเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมทราม ตกต่ำ ขาดความน่านับถือในวิชาชีพตำรวจจนยากจะกู้คืน

(หลายคนจึงบอกว่ามีลูกมีหลานอย่าให้เป็นตำรวจ หรือบางคนอยากเป็นตำรวจเพราะสามารถใช้อำนาจหาเงินพิเศษนอกเหนือไปจากเงินเดือนได้ง่าย แต่ไม่มีใครอยากเป็นตำรวจเพราะเห็นว่าอาชีพนี้ทำประโยชน์ให้กับสังคม)

ญาติของเด็กคนหนึ่งเล่าว่าประมาณเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง ตำรวจหลายนายเข้ามาถามหาเด็กที่ขายยาบ้าจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั้งซอย

“ไม่ทราบ” ญาติของเด็กคนนั้นตอบเมื่อตำรวจถามว่าเด็กอยู่ไหน
ญาติโทรศัพท์ไปบอกเด็กที่รวมกลุ่มกันอยู่หลังบ้าน บอกว่าตำรวจมา ให้อยู่กันเงียบ ๆ อย่าออกมา

หลังจากสำรวจอย่างหยาบ ๆ ถามใครหลายคนและไม่เห็นวี่แววของเด็กคนที่ต้องการแล้ว ตำรวจจึงหันหลังกลับ แต่บางครั้ง คนเราเมื่อถึงคราวซวย โชคชะตาก็จะดลบันดาลให้พบกับความซวยเข้าจนได้

จังหวะนั้นเอง เด็กคนหนึ่งก็เดินออกมาจากหลังบ้านที่ซุกซ่อนตัวกันอยู่เพื่อมาดูว่าตำรวจกลับกันหรือยัง

ตำรวจเห็นพอดีตอนที่เด็กเดินกลับไปที่ซ่องสุมกันอยู่หลังบ้านแล้วก็วิ่งตามเข้าไป ญาติพยายามโทรศัพท์บอกให้เด็กวิ่งหนี แต่ไม่ทันแล้ว ตำรวจกรูกันเข้าไปจับเด็กไว้ได้ทั้งหมด 5 คน หลายคนมียาบ้าอยู่ในตัว

เด็กคนหนึ่งทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกว่า “อะไรอะพี่ ผมไม่รู้เรื่อง พี่คุยกับแม่ผมป่าว”

ตำรวจตบหน้าเด็กคนนั้นทันทีที่พูดจบ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว เด็กคนนั้นเงียบ อึ้ง นึกไม่ถึงว่าจะได้รับตอบโต้แบบนี้ ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำกับเขาแบบนี้ เพื่อนรุ่นเดียวกันไม่มีใครกล้าเล่นกับเขา แม้กระทั่งเด็กรุ่นพี่ก็ยังไม่กล้า
อีกคนหนึ่งหน้าเสีย ตกใจจนเกือบจะร้องไห้ เขาไม่คิดว่าความคึกคะนองไปตามประสาจะได้รับผลที่น่ากลัวแบบนี้ ตำรวจน่ากลัวกว่าที่เขาคิดมากนัก ดูเหมือนเป็นปิศาจในเครื่องแบบสีกากีที่พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง

ส่วนตัวหัวหน้าแก๊ง คนที่ตำรวจตามล่าตัวอยู่ในอาการสะลึมสะลือด้วยฤทธิ์ยาบ้า เขาได้แต่ส่ายหน้าอย่างไร้เรี่ยวแรงเมื่อตำรวจถาม อย่างไรก็ตาม เมื่อโดนตบไปฉาด สองฉาด สติสัมปชัญญะก็ดูเหมือนจะกลับคืนมา

ตำรวจค้นตัวเขาพบยาบ้า 60 เม็ดและเงินพันกว่าบาท ตำรวจบอกเขาว่าจะลงบันทึกว่าพบยาบ้าเพียง 30 เม็ดและไม่พบเงิน เขาจะยอมรับไหม?

แน่นอนเด็กคนนั้นยอมรับเพราะคิดว่า  30 เม็ดโทษก็คงจะน้อยกว่า 60 เม็ด

สรุปแล้วตำรวจเอายาบ้าเป็นของตัวเอง 30 เม็ดและริบเงินเด็กเข้ากระเป๋าตัวเองอีกพันกว่าบาท! ช่างเป็นเรื่องที่น่าสมเพชเวทนาอาชีพตำรวจที่รายได้ไม่พอกินจนต้องหาลำไพ่พิเศษด้วยการริบเงินบาปของเด็กมาเป็นของตัวเอง

จากพฤติกรรมของตำรวจ ทำให้ผมได้ข้อคิดว่าการจะกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทยจำต้องปฏิรูประบบการทำงานของตำรวจด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยัดยาบ้า กระบวนการสืบสวนสอบสวนหรือตลอดจนการทำตัวเป็นโจรหรือเป็นผู้จำหน่ายเสียเองฯลฯ  เพราะตำรวจเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ทำให้ยาเสพติดไหลเวียนอยู่ในสังคม .
                               

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…