Skip to main content

-1-

การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง

ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!)

ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าโลกของการเสพยาเสพติดคือการปลดปล่อยตนเองจากกฏระเบียบน่ารำคาญของสังคมที่เข้าไปยุ่มย่ามวุ่นวายกับชีวิตส่วนตัว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่จะเสพยาเสพติด (ชนิดใดก็แล้วแต่) หรือแสวงหาประสบการณ์สุดขั้วอันเป็นความสุขหรือความทุกข์ส่วนตนที่สังคมไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าการเสพยาเสพติดเป็นวิธีการในการตอบโต้กับค่านิยมกระแสหลัก เป็นการกบฎเล็ก ๆ ต่อระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ปัจเจกชนและเสรีชนกลืนไม่ลง คือการหาความสุขที่หาไม่ได้จากสังคมที่รกรุงรังด้วย “ศีลธรรม”  

ทัศนะแบบนี้จางคลายกระทั่งแปรเปลี่ยนไปเมื่อวัยเพิ่มขึ้น หรือเมื่อต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของคนอื่น ผมย้อนกลับไปมองตนเองผ่านการเปลี่ยนแปลงความคิดแล้วก็เข้าใจถึงสัจธรรมของชีวิตบางประการ...

-2-

ไม่กี่วันก่อน ผมได้รับฟัง “เรื่องสั้น” เกี่ยวกับตำรวจและยาบ้าอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไร้เกียรติของวงการตำรวจสมกับคำร่ำลือ พฤติกรรมของตำรวจที่ชอบหากินกับซากฟอนเฟะของสังคมเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมทราม ตกต่ำ ขาดความน่านับถือในวิชาชีพตำรวจจนยากจะกู้คืน

(หลายคนจึงบอกว่ามีลูกมีหลานอย่าให้เป็นตำรวจ หรือบางคนอยากเป็นตำรวจเพราะสามารถใช้อำนาจหาเงินพิเศษนอกเหนือไปจากเงินเดือนได้ง่าย แต่ไม่มีใครอยากเป็นตำรวจเพราะเห็นว่าอาชีพนี้ทำประโยชน์ให้กับสังคม)

ญาติของเด็กคนหนึ่งเล่าว่าประมาณเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง ตำรวจหลายนายเข้ามาถามหาเด็กที่ขายยาบ้าจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั้งซอย

“ไม่ทราบ” ญาติของเด็กคนนั้นตอบเมื่อตำรวจถามว่าเด็กอยู่ไหน
ญาติโทรศัพท์ไปบอกเด็กที่รวมกลุ่มกันอยู่หลังบ้าน บอกว่าตำรวจมา ให้อยู่กันเงียบ ๆ อย่าออกมา

หลังจากสำรวจอย่างหยาบ ๆ ถามใครหลายคนและไม่เห็นวี่แววของเด็กคนที่ต้องการแล้ว ตำรวจจึงหันหลังกลับ แต่บางครั้ง คนเราเมื่อถึงคราวซวย โชคชะตาก็จะดลบันดาลให้พบกับความซวยเข้าจนได้

จังหวะนั้นเอง เด็กคนหนึ่งก็เดินออกมาจากหลังบ้านที่ซุกซ่อนตัวกันอยู่เพื่อมาดูว่าตำรวจกลับกันหรือยัง

ตำรวจเห็นพอดีตอนที่เด็กเดินกลับไปที่ซ่องสุมกันอยู่หลังบ้านแล้วก็วิ่งตามเข้าไป ญาติพยายามโทรศัพท์บอกให้เด็กวิ่งหนี แต่ไม่ทันแล้ว ตำรวจกรูกันเข้าไปจับเด็กไว้ได้ทั้งหมด 5 คน หลายคนมียาบ้าอยู่ในตัว

เด็กคนหนึ่งทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกว่า “อะไรอะพี่ ผมไม่รู้เรื่อง พี่คุยกับแม่ผมป่าว”

ตำรวจตบหน้าเด็กคนนั้นทันทีที่พูดจบ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว เด็กคนนั้นเงียบ อึ้ง นึกไม่ถึงว่าจะได้รับตอบโต้แบบนี้ ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำกับเขาแบบนี้ เพื่อนรุ่นเดียวกันไม่มีใครกล้าเล่นกับเขา แม้กระทั่งเด็กรุ่นพี่ก็ยังไม่กล้า
อีกคนหนึ่งหน้าเสีย ตกใจจนเกือบจะร้องไห้ เขาไม่คิดว่าความคึกคะนองไปตามประสาจะได้รับผลที่น่ากลัวแบบนี้ ตำรวจน่ากลัวกว่าที่เขาคิดมากนัก ดูเหมือนเป็นปิศาจในเครื่องแบบสีกากีที่พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง

ส่วนตัวหัวหน้าแก๊ง คนที่ตำรวจตามล่าตัวอยู่ในอาการสะลึมสะลือด้วยฤทธิ์ยาบ้า เขาได้แต่ส่ายหน้าอย่างไร้เรี่ยวแรงเมื่อตำรวจถาม อย่างไรก็ตาม เมื่อโดนตบไปฉาด สองฉาด สติสัมปชัญญะก็ดูเหมือนจะกลับคืนมา

ตำรวจค้นตัวเขาพบยาบ้า 60 เม็ดและเงินพันกว่าบาท ตำรวจบอกเขาว่าจะลงบันทึกว่าพบยาบ้าเพียง 30 เม็ดและไม่พบเงิน เขาจะยอมรับไหม?

แน่นอนเด็กคนนั้นยอมรับเพราะคิดว่า  30 เม็ดโทษก็คงจะน้อยกว่า 60 เม็ด

สรุปแล้วตำรวจเอายาบ้าเป็นของตัวเอง 30 เม็ดและริบเงินเด็กเข้ากระเป๋าตัวเองอีกพันกว่าบาท! ช่างเป็นเรื่องที่น่าสมเพชเวทนาอาชีพตำรวจที่รายได้ไม่พอกินจนต้องหาลำไพ่พิเศษด้วยการริบเงินบาปของเด็กมาเป็นของตัวเอง

จากพฤติกรรมของตำรวจ ทำให้ผมได้ข้อคิดว่าการจะกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทยจำต้องปฏิรูประบบการทำงานของตำรวจด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยัดยาบ้า กระบวนการสืบสวนสอบสวนหรือตลอดจนการทำตัวเป็นโจรหรือเป็นผู้จำหน่ายเสียเองฯลฯ  เพราะตำรวจเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ทำให้ยาเสพติดไหลเวียนอยู่ในสังคม .
                               

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…