Skip to main content

-1-

การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง

ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!)

ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าโลกของการเสพยาเสพติดคือการปลดปล่อยตนเองจากกฏระเบียบน่ารำคาญของสังคมที่เข้าไปยุ่มย่ามวุ่นวายกับชีวิตส่วนตัว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่จะเสพยาเสพติด (ชนิดใดก็แล้วแต่) หรือแสวงหาประสบการณ์สุดขั้วอันเป็นความสุขหรือความทุกข์ส่วนตนที่สังคมไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว

ก่อนหน้านี้ ผมมองว่าการเสพยาเสพติดเป็นวิธีการในการตอบโต้กับค่านิยมกระแสหลัก เป็นการกบฎเล็ก ๆ ต่อระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ปัจเจกชนและเสรีชนกลืนไม่ลง คือการหาความสุขที่หาไม่ได้จากสังคมที่รกรุงรังด้วย “ศีลธรรม”  

ทัศนะแบบนี้จางคลายกระทั่งแปรเปลี่ยนไปเมื่อวัยเพิ่มขึ้น หรือเมื่อต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของคนอื่น ผมย้อนกลับไปมองตนเองผ่านการเปลี่ยนแปลงความคิดแล้วก็เข้าใจถึงสัจธรรมของชีวิตบางประการ...

-2-

ไม่กี่วันก่อน ผมได้รับฟัง “เรื่องสั้น” เกี่ยวกับตำรวจและยาบ้าอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไร้เกียรติของวงการตำรวจสมกับคำร่ำลือ พฤติกรรมของตำรวจที่ชอบหากินกับซากฟอนเฟะของสังคมเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมทราม ตกต่ำ ขาดความน่านับถือในวิชาชีพตำรวจจนยากจะกู้คืน

(หลายคนจึงบอกว่ามีลูกมีหลานอย่าให้เป็นตำรวจ หรือบางคนอยากเป็นตำรวจเพราะสามารถใช้อำนาจหาเงินพิเศษนอกเหนือไปจากเงินเดือนได้ง่าย แต่ไม่มีใครอยากเป็นตำรวจเพราะเห็นว่าอาชีพนี้ทำประโยชน์ให้กับสังคม)

ญาติของเด็กคนหนึ่งเล่าว่าประมาณเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง ตำรวจหลายนายเข้ามาถามหาเด็กที่ขายยาบ้าจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั้งซอย

“ไม่ทราบ” ญาติของเด็กคนนั้นตอบเมื่อตำรวจถามว่าเด็กอยู่ไหน
ญาติโทรศัพท์ไปบอกเด็กที่รวมกลุ่มกันอยู่หลังบ้าน บอกว่าตำรวจมา ให้อยู่กันเงียบ ๆ อย่าออกมา

หลังจากสำรวจอย่างหยาบ ๆ ถามใครหลายคนและไม่เห็นวี่แววของเด็กคนที่ต้องการแล้ว ตำรวจจึงหันหลังกลับ แต่บางครั้ง คนเราเมื่อถึงคราวซวย โชคชะตาก็จะดลบันดาลให้พบกับความซวยเข้าจนได้

จังหวะนั้นเอง เด็กคนหนึ่งก็เดินออกมาจากหลังบ้านที่ซุกซ่อนตัวกันอยู่เพื่อมาดูว่าตำรวจกลับกันหรือยัง

ตำรวจเห็นพอดีตอนที่เด็กเดินกลับไปที่ซ่องสุมกันอยู่หลังบ้านแล้วก็วิ่งตามเข้าไป ญาติพยายามโทรศัพท์บอกให้เด็กวิ่งหนี แต่ไม่ทันแล้ว ตำรวจกรูกันเข้าไปจับเด็กไว้ได้ทั้งหมด 5 คน หลายคนมียาบ้าอยู่ในตัว

เด็กคนหนึ่งทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกว่า “อะไรอะพี่ ผมไม่รู้เรื่อง พี่คุยกับแม่ผมป่าว”

ตำรวจตบหน้าเด็กคนนั้นทันทีที่พูดจบ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว เด็กคนนั้นเงียบ อึ้ง นึกไม่ถึงว่าจะได้รับตอบโต้แบบนี้ ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำกับเขาแบบนี้ เพื่อนรุ่นเดียวกันไม่มีใครกล้าเล่นกับเขา แม้กระทั่งเด็กรุ่นพี่ก็ยังไม่กล้า
อีกคนหนึ่งหน้าเสีย ตกใจจนเกือบจะร้องไห้ เขาไม่คิดว่าความคึกคะนองไปตามประสาจะได้รับผลที่น่ากลัวแบบนี้ ตำรวจน่ากลัวกว่าที่เขาคิดมากนัก ดูเหมือนเป็นปิศาจในเครื่องแบบสีกากีที่พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง

ส่วนตัวหัวหน้าแก๊ง คนที่ตำรวจตามล่าตัวอยู่ในอาการสะลึมสะลือด้วยฤทธิ์ยาบ้า เขาได้แต่ส่ายหน้าอย่างไร้เรี่ยวแรงเมื่อตำรวจถาม อย่างไรก็ตาม เมื่อโดนตบไปฉาด สองฉาด สติสัมปชัญญะก็ดูเหมือนจะกลับคืนมา

ตำรวจค้นตัวเขาพบยาบ้า 60 เม็ดและเงินพันกว่าบาท ตำรวจบอกเขาว่าจะลงบันทึกว่าพบยาบ้าเพียง 30 เม็ดและไม่พบเงิน เขาจะยอมรับไหม?

แน่นอนเด็กคนนั้นยอมรับเพราะคิดว่า  30 เม็ดโทษก็คงจะน้อยกว่า 60 เม็ด

สรุปแล้วตำรวจเอายาบ้าเป็นของตัวเอง 30 เม็ดและริบเงินเด็กเข้ากระเป๋าตัวเองอีกพันกว่าบาท! ช่างเป็นเรื่องที่น่าสมเพชเวทนาอาชีพตำรวจที่รายได้ไม่พอกินจนต้องหาลำไพ่พิเศษด้วยการริบเงินบาปของเด็กมาเป็นของตัวเอง

จากพฤติกรรมของตำรวจ ทำให้ผมได้ข้อคิดว่าการจะกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทยจำต้องปฏิรูประบบการทำงานของตำรวจด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยัดยาบ้า กระบวนการสืบสวนสอบสวนหรือตลอดจนการทำตัวเป็นโจรหรือเป็นผู้จำหน่ายเสียเองฯลฯ  เพราะตำรวจเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ทำให้ยาเสพติดไหลเวียนอยู่ในสังคม .
                               

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…