Skip to main content

-1-

ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้น

แต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?”

พาดหัว “แรง” แบบนี้เป็นใครก็คงต้องสะดุดหยุดดู ผมพลิกไปอ่านโดยระทึกในดวงหทัยพลัน จึงได้ทราบว่าที่แท้แล้วคำนี้ได้มาจากบทสัมภาษณ์ของ “จรัญ ภักดีธนากุล”  ขอโทษ เขียนผิด ไม่ใช่ “จรัญ ภักดีธนากุล” แต่เป็น “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ต่างหาก (ชื่อ “จรัล” จำนวนมากที่ขยันเป็นข่าวช่างชวนให้สับสนจริง)

บทสัมภาษณ์ของ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ตีแสกหน้า “ธีรยุทธ  บุญมี” ตรง ๆ โดยไม่ต้องอ้อมค้อมให้น่ารำคาญ “จรัล  ดิษฐาอภิชัย” อ้างอิงไปถึง “ลาว คำหอม” นักคิดนักเขียนผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทำอะไรที่ถอยหลังอย่างเช่นเรื่องการใช้กฎหมาย “มาตรา 7”   อันโด่งดังที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือที่เรียกว่าเป็นนายกพระราชทานและ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนมาตรา 7 อย่างแข็งขัน   

พอพูดถึง “ลาว คำหอม” ก็ให้รู้สึกว่านักคิดนักเขียนที่มีความคิดทางการเมืองก้าวหน้าแบบ “ลาว  คำหอม” นั้นหายากเต็มทีในสมัยปัจจุบันซึ่งถ้าไม่หมกมุ่นกับปัญหา “ตัวบุคคล”  อย่างอดีตนายก ฯ “ทักษิณ ชินวัตร”  จนคิดอะไรไม่ออก มองอะไรไม่เห็นก็เอาการเอางานกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” “คุณธรรม จริยธรรม” “บริโภคนิยม”  “ทุนนิยมสามานย์”

ผมเคยบ่นกับบรรณาธิการใหญ่ท่านหนึ่งว่าทำไมนักเขียน (บางคน) จึงมีความคิดที่จะขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร แต่ขาดสติและปัญญาที่จะต่อต้านรัฐประหาร (ผมจำไม่ได้แล้วล่ะว่าบรรณาธิการใหญ่ท่านนั้นตอบว่าอะไร)

ที่ “จรัล ดิษฐาอภิชัย” อ้าง “ลาว คำหอม” นั้นก็เพราะ “ลาว  คำหอม” เป็นบุคคลที่ “ธีรยุทธ  บุญมี” เคารพนับถือ

-2-

ผมเคยสงสัยหลายครั้งว่า “ธีรยุทธ  บุญมี”  เคยเข้าไปอยู่ใน “ป่า” จริงหรือ แน่นอนใคร ๆ ก็รู้ว่าเขาเคย “เข้าป่า” หลายปี ที่ผมสงสัยจริง ๆ ก็คือ “ป่า” ให้กำเนิดหรือตอกย้ำหรือสร้างความคิดทางการเมืองแบบใดกับกลุ่มคนที่ “เข้าป่า” (ผมเขียนถึง “เข้าป่า” นะครับ ไม่ใช่ “เข้าป๋า” ตัวเองชักจะสับสนเหมือนกัน)

แต่ละครั้ง แต่ละหนที่ “ธีรยุทธ  บุญมี”  นำเสนอความคิดสู่สาธารณะ สร้างความผิดหวังอย่างรุนแรงให้กับผมและเชื่อว่าหลายคนก็คงผิดหวังเหมือนกัน อันที่จริงบทบาทที่ดูดีที่สุดของ “ธีรยุทธ  บุญมี” ก็คือการเป็นจิตรกรและแปลวรรณกรรม ไม่ใช่ปัญญาชนสาธารณะขาประจำที่ออกมาสร้างข่าวด้วยการวิจารณ์รัฐบาลหรือนำเสนอความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดก็คือเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์พลังขับเคลื่อนใหม่ในสังคมไทย” ซึ่งอ่านแล้วอยากจะอาเจียน

ธีรยุทธ บุญมี  บอกว่า “กระบวนการตุลาการภิวัตน์มองอย่างกว้างที่สุดก็คือ กระบวนการที่อำนาจตุลาการปรับตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตวินิจฉัยของตัวเองเพื่อให้ตัวเองปฏิบัติภาระหน้าที่รองรับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของยุคสมัยได้ดี ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง”

แค่คำว่า “อัตวินิจฉัยของตัวเอง”  ก็มีปัญหาแล้วละครับ ไม่รู้มันแปลว่าอะไร แล้วประโยคนี้ยิ่งเป็นปัญหาหนัก  “ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง” ใครที่มีความรู้ในการตีความภาษาช่วยอธิบายหน่อยเถิดว่ามันมีความหมายว่าอะไร “ภารกิจของยุคสมัย” ที่ฟังดูโก้เก๋นั้นหมายถึงอะไร?

“ธีรยุทธ  บุญมี” อธิบายต่อไปว่าด้านหลัก ๆ ของตุลาการภิวัฒน์มีอะไรบ้าง มีข้อหนึ่งที่เขาบอกว่า

“การรักษาหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคของคนกลุ่มน้อย ความเสมอภาคทางเพศ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก คนชรา การดูแลความเสมอภาคในโอกาสการทำงานของสตรี คนกลุ่มน้อย”

อ่านแล้วอยากจะอาเจียนจริง ๆ ผมอยากจะถามคนอ่านว่า คนที่มีความคิดแบบ “ชนชั้นนำนิยม” ที่ยกอภิสิทธิ์การตัดสินใจต่าง ๆ ให้อยู่ในวิจารณญาณของคนบางกลุ่มซึ่งในที่นี้คือตุลาการนั้นจะเชื่อเรื่องความเท่าเทียม ? ช่างน่าสงสัยว่าความเท่าเทียมที่ “ธีรยุทธ บุญมี”  พูดถึงนั้น คงจะเป็นความเท่าเทียม “ภายในชนชั้น” คือระหว่าง “พวกไพร่ด้วยกันเอง” มากกว่าจะเป็นความเท่าเทียมระหว่างคนที่เป็นตุลาการกับคนที่เป็นชาวนาหรือกรรมกร

“ธีรยุทธ  บุญมี” ยังด้นต่อไปว่า “ถ้าพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา มีคดีความที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตุลาการภิวัตน์ไม่มากนัก อาทิเช่น การตัดสินคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปตท. ซึ่งขัดแย้งกับองค์กรผู้บริโภค การตัดสินคดียุคพรรคไทยรักไทย ในข้อหาสร้างความเสียหายให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และคดีอื่นๆ อีกไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจบทบาทของตุลาการภิวัตน์ให้ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้ตุลาการภิวัตน์ได้มีบทบาทที่เป็นคุณกับประชาชนและประเทศต่อไป”

ชัดนะครับ “ธีรยุทธ บุญมี” บอกว่าการยุบพรรคไทยรักไทยเป็นตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งที่จริงเหตุการณ์นี้นำความเสื่อมมาสู่สถาบันตุลาการมากกว่าอะไรอื่น สถาบันตุลาการถูกด่าทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ประชาชนสูญศรัทธา หนำซ้ำยังทำอะไรที่ขัดกับคำตัดสินนั่นคือเลือกไทยรักไทยในคราบของพลังประชาชนกลับเข้ามาอีก

ยิ่งอ่านบทความของ “ธีรยุทธ  บุญมี” แล้วก็ยิ่งรู้สึกสลดอดสู แล้วพอได้เห็นพาดหัวของเนชั่นสุดสัปดาห์ก็รู้สึกดีขึ้นมาหน่อย แต่อยากจะแย้งเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า

“ตุลาไม่ได้ตอแหลหรอก แต่มันเป็นปัญหาตัวของบุคคลเสียมากกว่า”
                                            


 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…