Skip to main content

เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง

การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร การกลายเป็นตัวตลกของ “มือสกปรกที่มองไม่เห็น” การเล่นจำอวดของตุลาการรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรค  การเดินขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศน์ ฯลฯ

และประเด็นที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ก็คือ กระบวนการสร้างข่าวลวง ข่าวลือ การ ”ปั้นน้ำเป็นตัว” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของสื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น “สื่อแท้” อย่างสื่อในเครือของผู้จัดการ  

ASTV และเวบไซต์ผู้จัดการ คือสุดยอดของ “การปั้นเป็นตัว” “จับแพะชนแกะ” “ใส่สีตีข่าว” “มั่ว” ชนิดที่หาไม่ได้อีกแล้วไม่ว่าจะในอดีตหรืออนาคตทั้งนี้เพราะด้วยความต่อเนื่อง และความเอาจริงเอาจังที่ไม่เคยลดราวาศอก (ราวกับว่าความเท็จจะเป็นความจริงได้หากตอกย้ำไปเรื่อยๆ)  

“การปั้นน้ำเป็นตัว” ซึ่งเป็นงานถนัดของสื่อค่ายนี้นั้นเล่นตั้งแต่ประเด็นเรื่องในมุ้งไปจนถึงจ้องล้มรัฐบาล เอาแค่นามปากกา “ซ้อเจ็ด” แห่งเวบไซต์ผู้จัดการซึ่งเขียนนินทาคนดังราวกับตนเองนอนแอบอยู่ใต้เตียงก็เพียงพอที่จะบอกได้ว่าสื่อในเครือ “ผู้จัดการ” นั้นปั้นน้ำเป็นตัวได้เก่งขนาดไหนและขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสื่อมากเพียงใด

ส่วนในเรื่องการเมืองนั้น เผอิญผมได้อ่านข่าว/บทความสองชิ้นจากการตามลิงค์ไปเวบไซต์ผู้จัดการ อ่านไปอุทานไปกับจินตนาการการ “ผูกนิยาย” ของเขา

ชิ้นแรกโดยฝีมือของคำนูญ สิทธิสมาน ข่าว/บทความชิ้นนี้กล่าวถึงการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ NBT ในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเนปาลซึ่งจะส่งผลต่อความเป็นไปของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศของเขา จากนั้นก็โยงไปถึงมติชนสุดสัปดาห์ซึ่งเคยเล่นข่าวนี้เหมือนกันโดยตั้งคำถามว่า

“กรณีที่หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นำมาขึ้นปก แล้วขึ้นพาดหัวว่า “Case study กรณีเนปาล” ซึ่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเคยนำไปตั้งข้อสังเกตในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ที่เวทีลีลาศสวนลุมพินีว่านักหนังสือพิมพ์อาวุโสคนคุมเนื้อหาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ที่เคยเข้าป่าจับปืน สมาทานลัทธิเหมามาก่อนมีเจตนาซ่อนเร้นพิเศษอะไรหรือไม่”

จากนั้นก็กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของคุณจักรภพ  เพ็ญแข ในสมัยที่เป็น นปก. ซึ่งเคยเคลื่อนขบวนไปบ้านสี่เสาเทเวศร์

“คุณจักรภพ เพ็ญแขเกิดไม่ทันโตไม่ทันที่จะสัมผัสกับลัทธิเหมาโดยตรง เมื่อ 30 ปีก่อน แต่ ณ ปี 2550 ท่านคงสมาทานความคิดความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเข้าไปผสมผสานสันดาปกับประสบการณ์ส่วนตัวของท่าน ก่อให้เกิดพลังทางอุดมการณ์คุกรุ่นรุนแรง”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews...D=9510000045831

ทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่นคือ “การปั้นน้ำเป็นตัว” ยัดเยียดให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นพวก “ซ้าย” เพื่อที่จะดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาชนกับกลุ่มคนพวกนี้ ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่านี่เป็นวิธีการที่ “ทุเรศ”

อีกชิ้นหนึ่งก็โดย คำนูณ  สิทธิสมาน เจ้าเก่า มีการพาดหัวนำเรื่องด้วยถ้อยคำโฆษณาชวนเชื่อให้น่าหวาดเสียวว่า
“ยามเฝ้าแผ่นดิน” แฉขบวนการหมิ่นเหม่เบื้องสูง เพ่นพ่านทั่วเวบไซต์เครือข่ายหนุน “ทักษิณ” ล่าสุดแกนนำ  “19ก.ย.ต้านรัฐประหาร” เข้ารับข้อหาหมิ่นฯ ฐานไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ จี้ “หมัก” สวมวิญญาณ “เลือดสีน้ำเงิน” ใช้อำนาจนายกฯ-รมว.กลาโหม ตัดสินใจยุติปัญหาก่อนสายเกินแก้ พร้อมชี้เบาะแส “นายใหญ่-นายหญิง” จ้องปลดนายกฯ นอมินี”

การปั้นน้ำเป็นตัวหนนี้เริ่มด้วยการพูดถึงข่าวการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญที่เกิดขึ้นจากนักเคลื่อนไหวสองท่าน ในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทั่วไป แต่มีการพยายามที่จะ “ปั้นน้ำ” โดยทะลึ่งเติมความเห็นเข้าไปว่า
“เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับการตั้งข้อสังเกตถึงการเสนอข่าวเนปาลของเอ็นบีทีเมื่อวันก่อน” แล้วก็อ้างโน่นอ้างนี่เป็นเรื่อย ๆ ก่อนจะพูดเอง เข้าใจเองว่า

“นายโชติศักดิ์ (ผู้ไม่ยืนในโรงหนัง) นั้นมีชีวิตและอุดมการณ์ที่ตรงกับ นปก. ขณะเดียวกันยังให้สัมภาษณ์เปิดใจกับเวบไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความท้ายบทสัมภาษณ์ที่ดูจะหมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดกฎหมายค่อนข้างสูง”

น้ำเริ่มจะ “เป็นตัว”

แล้วก็ตามพล็อตเดิมคือโยงไปหาอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ก่อนจะสรุปไปตามโครงสร้างของนิยายที่ต้องดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาชนกับฝ่ายตรงข้ามว่า

“รูปธรรมกระแสอุดมการณ์ใหม่ยังปรากฏอยู่ในข้อเขียน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บบอร์ดและเวบไซต์ที่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน มีความหมิ่นเหม่หลายต่อหลายครั้ง ขณะเดียวกันยังเปิดพื้นที่ในเว็บบอร์ดเพื่อแสดงความคิดเห็น มีรหัสเรียกขานชวนให้คิดให้เข้าใจว่า จงใจหมายถึงสถานบันที่เคารพสูงสุด”

ข่าว/บทความชิ้นที่สองยังไม่จบเท่านี้หากแต่ยังใช้จินตนาการ “ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ต่อไปว่านายกฯ สมัคร สุนทรเวช กำลังจะถูก “นายใหญ่” ปลด

“คนที่ต้องการจะเอานายกสมัครลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นคนที่ให้นายสมัครขึ้นมาเป็นนายกฯ นั่นเอง”

แบบเดิมครับ อ้างแพะ อ้างแกะไปเรื่อย ๆ ก่อนจะสรุปจบตามพล็อตว่า
“การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแย่งชิงกันระหว่างคนรักทักษิณ กับคนไม่ชอบทักษิณเท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้น มันเป็นอนาคตเป็นวิกฤติของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าระบอบนี้ก้าวไม่พ้นวิกฤติในช่วงนี้ เชื่อว่าจะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง”

ครับ อ่านข่าวจากสื่อในเครือผู้จัดการเหมือนกับอ่านนิยายจริงๆ เสียแต่เป็นนิยายน้ำเน่าเล่าเรื่องเดิมๆ ที่น่าทุเรศ

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการเขียนนิยายแบบนี้ต้องมีความสามารถไม่น้อย เป็นความสามารถในการ ”ปั้นน้ำ” ให้ “เป็นตัว” ซึ่งจะว่าไปก็เป็นงานถนัดของสื่อในเครือ “ผู้จัดการ”

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…