Skip to main content

กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วย

นักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว นี่ยังไม่รวมถึงดาราที่ต้องปะทะกับพวกปาปาราซซี่อยู่บ่อย ๆ ในเรื่องกล้อง  บางรายถึงขนาดชูนิ้วกลางให้กล้องหรือแย่งเอาฟิล์มมาทำลาย ดังนั้น ในบางสถานการณ์อานุภาพของกล้องจึงร้ายแรงไม่แพ้อาวุธอื่น

เหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้บางคนขยาดกล้องก็เพราะกล้องถ่ายรูป (ของบรรดานักข่าว) นำไปสู่การทำลายความเป็นส่วนตัว พื้นที่ส่วนตัวอันเป็นพื้นที่หวงแหนต้องห้ามที่ไม่อนุญาตให้คนแปลกหน้าเข้ามายุ่มย่ามเพราะความเป็นส่วนตัวบางเรื่องนั้นเป็น “ความลับ” หรือ “ลับเฉพาะ” ที่ไม่สามารถเผยแพร่สู่วงกว้างได้

แต่ความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งของบุคคลสาธารณะเป็นสิ่งที่สามารถขายได้ขายดีเป็นที่นิยม ความเป็นส่วนตัวที่ขายได้ขายดีก็คงจะหนีไม่พ้นความเป็นส่วนตัวประเภทนุ่งน้อยห่มน้อย, การลักลอบคบชู้, การเป็นมือที่สาม,  การแอบไปเที่ยวกับเสี่ย, การหาลำไพ่พิเศษ พูดง่าย ๆ ก็คือเรื่องที่วน ๆ อยู่แถว ๆ ใต้สะดือ  หรือถ้าจะให้มีระดับขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเป็นความเป็นส่วนตัวประเภทไปพักผ่อนกับคู่รักตามชายหาดสวยงามที่ไหนสักแห่ง

การขายความเป็นส่วนตัวในโลกยุคปัจจุบันนั้นเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่ธุรกิจมากมายซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “ธุรกิจเรื่องส่วนตัว” ไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทซุบซิบ, รายการประเภท Gossip, คอลัมน์เกี่ยวกับใต้สะดือ อย่างเช่น ซ้อเจ็ด แห่งค่ายผู้จัดการ ที่ถึงแม้จะเลวทรามอย่างไรก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรตติ้งสูงมาก นี่ยังไม่รวมถึงผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการ “ขโมยถ่าย” ที่กำลังแพร่ระบาดทั้งโดยมืออาชีพและมือสมัครเล่น

เมื่อพูดถึงธุรกิจ “ขโมยถ่าย” นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากมายเหมือนธุรกิจอื่น ๆ  มีเพียงกล้องถ่ายรูปตัวเดียวพกติดตัวไปไหนมาไหนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นก็พอ อย่างไรก็ตาม การ “ขโมยถ่าย” อาจจะต้องสุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บตัวบ้างในบางโอกาสหรืออาจเสี่ยงต่อการที่กล้องถ่ายรูปจะถูกทำลาย

จะว่าไป กล้องถ่ายรูปคงไม่อาจทำลายความเป็นส่วนตัวได้หากภาพที่จับได้ไม่ถูกนำไปเผยแพร่ ดังนั้นไม่ใช่กล้องถ่ายรูปเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มันต้องมีการเผยแพร่หรือเจตนาที่จะเผยแพร่เข้ามาร่วมด้วย

เมื่อพูดถึงกล้องถ่ายรูปสิ่งที่หลายคนนึกถึงต่อไปก็คือบรรดาปาปาราชชี่หรือนักข่าว ดังนั้นคงจะเป็นเรื่องแปลกหากบรรดาปาปาราชชี่หรือนักข่าวจะกลัวกล้องหรือกลัวที่จะถูกคนอื่นถ่ายรูป  เหตุการณ์การปะทะกันระหว่างการแถลงข่าวของกลุ่มนปก. กับนักข่าวกลัวกล้องที่เกิดขึ้นเมื่อหลายวันก่อนที่รัฐสภาแม้นจะไม่สลักสำคัญนัก แต่ก็เป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรจะบันทึกเอาไว้

ผมค้นหาข่าวนี้จากสื่อหลายแหล่งจนในที่สุดก็พบว่าหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยโพสต์ให้รายละเอียดมากกว่าใครเพื่อน เป็นรายละเอียดแฝงความคิดเห็นที่เรียกได้ว่าเกินความจำเป็นในการนำเสนออันเป็นเรื่องที่สื่อดี ๆ ไม่กระทำ  ไทยโพสต์ออนไลน์เขียนว่า

“ที่ห้องแถลงข่าวรัฐสภา แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกอบด้วย นายจรัล  ดิษฐาอภิชัย นพ.เหวง โตจิราการ โดยมีนายสุชาติ นาคบางไทร แกนนำกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ซึ่งก่อเหตุปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันอาทิตย์รวมอยู่ด้วย  บรรยากาศการแถลงข่าวเป็นไปอย่างดุเดือด   เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า ในฐานะที่เป็นแกนนำทราบหรือไม่ว่าในกลุ่มต่อต้านนั้นมีการพกพาอาวุธหลายชนิด   ทั้งมีดและไม้หน้าสาม  เพื่อโจมตีกลุ่มพันธมิตรฯ  แต่นายสุชาติย้อนถามผู้สื่อข่าวด้วยความไม่พอใจว่า ตนไม่เห็นอาวุธใดๆ เลย  ถ้ามีจริงให้เอาภาพถ่ายมายืนยัน ก่อนจะถามกลับว่า คุณเห็นอะไรที่พันธมิตรฯ บ้างหรือไม่  ผู้สื่อข่าวจึงตอบไปว่า  ได้ทำข่าวการชุมนุมของกลุ่ม นปช.จึงเห็นความเคลื่อนไหวตลอด  และช่วงหนึ่งมวลชนของ นปช.เองได้มาขอร้องให้ตนช่วยถือไม้ไปตีพันธมิตรฯ ด้วย  นายสุชาติโต้ทันทีว่า  แสดงว่าคุณก็ใช้ความรุนแรง แต่ผู้สื่อข่าวบอกกลับไปว่ากลุ่มของ นปช.มาขอให้ถือ

ต่อมานายสุชาตินำกล้องส่วนตัวขึ้นมาถ่ายรูปผู้สื่อข่าวหลายคนที่ตั้งคำถามต่อเนื่อง  จนผู้สื่อข่าวต่างรุมถามว่าถ่ายรูปไปทำไม ได้รับคำตอบว่า  "แค่ถ่ายรูปแค่นี้  คุณก็กลัวแล้วหรือ  ผมแค่ถ่ายรูปเพื่อดูหน้าพวกคุณคือใคร ผมจะได้ไปศึกษาท่าน"

ก่อนเหตุการณ์บานปลาย ผู้สื่อข่าวได้ขอให้นายจรัลช่วยลบภาพดังกล่าว แต่นายจรัลนิ่งเงียบ จากนั้นผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในฐานะเป็นอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คิดอย่างไรกับประเด็นสิทธิเสรีภาพ และท่าทีของการคุกคามสื่อเช่นนี้  นายจรัลตอบโต้อย่างมีอารมณ์ว่า พวกคุณชอบใช้คำว่าคุกคาม และผมก็เลิกนับถือสื่อมวลชนมานานแล้ว  ก่อนจะตบไมค์ลงกับโต๊ะด้วยความไม่พอใจ พร้อมบอกว่า "เลิกโว้ย" แล้วลุกไปทันที

"จรัล" ห่ามจะชกนักข่าว

จากนั้นนายสุชาติได้เดินไปพูดคุยกับนายนิสิต  สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน  อดีตประธานกลุ่มคนรักทักษิณ  ซึ่งร่วมชุมนุมอยู่ด้วยในคืนเกิดเหตุ  และเป็นผู้นำคณะมาแถลงข่าวว่า "ผมต้องกลับก่อน อยู่ต่อเดี๋ยวอดใจไม่ไหว เดี๋ยวชกเอา"  ต่อมาตัวแทนคณะผู้สื่อข่าวรัฐสภาได้เข้าไปแจ้งกับนายนิสิต   ถึงพฤติกรรมการข่มขู่ผู้สื่อข่าวด้วยวาจาและการถ่ายภาพดังกล่าว  และขอให้นายนิสิตรับรองว่า ถ้าจะมีการแจ้งความ นายนิสิตต้องเป็นพยานว่าเป็นคนที่พาคนเหล่านี้มาจริง ซึ่งนายนิสิตรับปากว่าพร้อมไปให้การกับตำรวจ  หลังจากนั้นผู้สื่อข่าวทั้งหมดได้หารือร่วมกันและมีมติร่วมกันว่า   จะดำเนินการแจ้งความไว้ที่ สน.ดุสิต เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีเจตนาจะคุกคามผู้สื่อข่าว

นพ.ประดิษฐ์  เจริญไทยทวี  อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า นายจรัลมักจะมีท่าทีคุกคามสื่อมวลชนและผู้อื่นเสมอ  ตั้งแต่บุกบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ   อย่างกรณีเดียวกันนี้เขามาทำกับสื่อ  กระแทกไมค์ใส่หน้าสื่อในห้องแถลงข่าวก็สามารถเอาผิดได้ และตนถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง  ผู้สื่อข่าวน่าจะมาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วย  เพราะผมมองว่ามันเป็นการข่มขู่  และไม่ให้เกียรติ โดยเฉพาะการคว้ากล้องถ่ายรูปมาถ่ายรูปของนายสุชาติ อาจจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงได้เช่นกัน นพ.ประดิษฐ์กล่าวอีกว่า   ทุกวันนี้นายจรัลยังคงเข้าไปทำงานในคณะกรรมการสิทธิฯ  ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการสิทธิฯ  เหลือเพียง  9 คนเท่านั้น เนื่องจากตนได้ออกจากคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดนี้แล้ว
(http://www.thaipost.net/index.aspbk=thaipost&iDate=27/May/2551&news_id=159086&cat_id=501) (27 พ.ค. 51)

ในกรณีข้างต้นเป็นอะไรที่น่าสนใจ เพราะนอกจากแสดงให้เห็นว่านักข่าวกลัวกล้องแล้วมันยังแสดงให้เห็นถึงการเป็นอภิสิทธิ์ชนของนักข่าวที่สามารถคุกคามคนอื่นด้วยการเป็น “ฝ่ายกระทำ” ด้วยการถ่ายรูปอยู่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่าเป็น “สื่อคุกคาม” ซึ่งถ้าว่าหากสังคมไทยมีนักข่าวแบบนี้มากก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความคุกคามโดยสื่อ

ส่วนการให้ความเห็นเชิงป้ายสีอย่างเกินเลยของไทยโพสต์อย่างคำว่า “จรัลห่ามจะชกนักข่าว” นั้นก็เป็นอะไรที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงแม้แต่น้อย อีกทั้งการเขียนข่าวก็อ่านไม่รู้เรื่องเหมือนลอกคนอื่นมาแบบผิด ๆ ถูก ๆ  ซึ่งผมจะค่อยวิพากษ์วิจารณ์หนังสือพิมพ์ยี่ห้อนี้ในโอกาสต่อ ๆ ไป.
                               

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…