Skip to main content
ป่าไม้น่านหายไปไหน?
-
เป็นแคมเปญเรียกความสนใจของกลุ่มเอ็นจีโอบางกลุ่มอยู่...
-
คำตอบของคำถามข้างบน หากไปถามนักอนุรักษ์(ทำท่าจะเดินทางไปหาคำตอบกันอยู่นี่) ก็ไม่พ้นเกี่ยวเนื่องกับซีพี ข้าวโพดอาหารสัตว์ บลา บลา บลา.... ตามประสานักอนุรักษ์สายตาสั้นที่มองไม่เกินขนตาตัวเอง
---
ป่าไม้น่านหายไปไหน??
คำตอบจากผมคือ หายไปเพราะ "ความเหลื่อมล้ำ" ครับ...
.......................
...........
...
ทำไม??
เพราะสังคมนี้มีความเหลื่อมล้ำสูง คนรวยก็รวยล้นฟ้า ส่วนคนจนก็แทบไม่มีจะกิน ภาวะการณ์นี้ มันก็ทำให้ผุ้คนต้องดิ้นรนเพื่อหนีให้พ้นความยากจน ทำงาน สร้างตัว สร้างฐานะ พอมีกินแล้ว ก็ต้องทำเพื่อมีเก็บไว้บ้าง จากนั้นก็ต้องซื้อหาปัจจัยต่างๆสำหรับความสุขสบายของชีวิต มีบ้านดีๆ มีข้าวของเครื่องใช้อำนวยความสะดวก มีรถราสำหรับเดินทางหรือขนสิ่งของ ผลิตผลพืชสวน
แน่นอน คนบ้านนอก เห็นภาพคนรวยในจอทีวีก็อยากรวย อยากมั่งมีด้วยครับ ใครล่ะจะไม่อยากมี ในเมื่อความร่ำรวยมันนำมาซึ่งความสบายของชีวิต คนจนในกรุงเทพ ก็ล้วนเป็นคนอยากรวยที่มุ่งเข้าไปเผชิญโชคกันทั้งนั้น 
-
ทีนี้ เมื่อคนบ้านนอกอยากรวย ทำไมถึงจะรวยได้? ถ้าไม่ไปบวชเป็นพระแล้วอ้าง พุทธวจนะ เสกน้ำหมากขากน้ำมนต์หลอกลวงคนรวยให้เอาเงินมาถวาย ก็ต้องทำงาน.... 
คนบ้านนอกจะทำงานอะไร? ในเมื่ออุตสาหกรรมไม่มี นิคมฯกระจุกตัวอยู่เพียงบางจังหวัด แล้วที่ดินถิ่นฐานบ้านเรามีเยอะ หรือมีน้อย แต่ก็ถือว่ามีที่ดิน ที่เป็นทุนทรัพย์พื้นฐานของชีวิต 
------
การเพาะปลูก ไม่ใช่ว่าคุณจะอยากปลูกอะไรก็ได้ตามใจฉันท์ พื้นที่เยอะๆ แล้วต้องปลูกบางอย่างไว้เพื่อขาย เพื่อให้ได้เงิน ก็ต้องปลูกในสิ่งที่มันขายได้ มีคนรับซื้อ จะปลูกมั่วๆ แล้วขายไม่ได้ ก็จะปลูกไปทำไม? จริงไหม?
เกษตรผสมผสาน เกษตรพอเพียง ที่ปลูกเพื่อกิน เหลือกินถึงขาย สมมุติว่า ทั้งหมู่บ้านป่าทำตามแนวทางนี้ ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ มีพืชผักทุกอย่าง กล้วย ส้ม มะละกอ ตำลึง ผักชี กะหล่ำ คะน้า ผักบุ้ง ชะอม ฟัก แฟง แตงกวา ผลิตผลจากสวนของทุกคน เหลือกินแล้ว เอาไว้ขาย แต่จะขายที่ไหน? ขายให้ใคร? ในเมื่อทุกบ้านต่างมีเหมือนกัน ปลูกเหมือนกัน บ้านป่าเดินทางมาขายในเมืองก็ไกล คุ้มค่าน้ำมันรถไหม? เอางี้ มีรถขนออกมาไหม? สมมุติว่ามี ขนออกมาแล้ว จะไปขายยังไง? นั่งขายเอง หรือจะขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้าในเมือง? ขายส่งแล้ว ได้เงินคุ้มกับการเพาะปลูกในงวดนั้นไหม? และผลผลิตครั้งหน้า อีกกี่เดือนถึงจะได้ออกมาอีก สรุปรวมยอด หักลบกลบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เหลือกี่บาท??
หรือ หากผลผลิตมีน้อย ไม่พอออกไปขายในเมือง เอาไงดี? นั่งขายข้างทางไหม? รอบุญพาวาสนาส่งคนรวยขับรถผ่านมาจอดซื้อฟักลูกนึง ตำลึงสองกำ ขอแถมชะอมอีกกำ อย่างนี้ดีไหม?? 
ว่าแต่.. ค้าขายอย่างนี้ เมื่อไรจะได้มีรถขับรถขี่เหมือนเขานะ?? 
.......
ความยากของการค้าขายในการผลิตแบบพอเพียงนั้น ไม่ใช่จะมีแต่เพียงที่กล่าวมาข้างบน ยังมีปัจจัยเรื่อง ดินฟ้าอากาศ น้ำ แดด อีกด้วย 
โครงการหลวง โครงการเกษตรที่สูง หรือแปลงสาธิตเกษตรต่างๆ ล้วนอยู่ในพื้นที่ป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ น้ำตกบ้าง ตาน้ำบ้าง ไม่เคยมีแปลงสาธิตเกษตรที่ไหนในประเทศไทยไปตั้งอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ขาดน้ำ
และปัญหาของชาวบ้านก็คือ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีที่ดินดีๆ แร่ธาตุสมบูรณ์และใกล้แหล่งน้ำเหมือนโครงการหลวงหรือแปลงสาธิตต่างๆ 
ก็อาจมีบ้าง แต่ใช่จะมีกันทุกคน ดังนั้น แปลงสาธิตทั้งหลาย มันจึงเป็นเรื่องยากที่ชาวบ้านจะทำตาม (ไม่นับว่าชาวบ้านมีทุนน้อยกว่าด้วย) ในขณะที่โครงการต่างๆสามารถเปิดพื้นที่ป่าทำการสาธิตการเพาะปลูกต่างๆได้ สั่งพืชพันธุ์เมืองหนาวมาทดลองปลูกได้ จ้างคนงานมาทำงานได้ จ้างนักวิชาการมาทำงานวิจัยได้ สร้างห้องทดลองได้ ทำโรงเรือนเก็บผลิตผล โรงเรือนแปรรูป ไปจนถึงทำร้านค้าจำหน่าย และระบบสายส่งสิ่งของต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ สบาย และครบวงจร แต่ชาวบ้าน แค่จะซื้อท่อมาต่อน้ำ ติดสปริงเกอร์รดพืชผักก็ยังทำได้ยาก.....
-------
ดังนั้น ในการเพาะปลูกพืชของชาวบ้าน นอกจากเรื่องการตลาดที่จะเอาไปขายที่ไหนแล้ว ยังต้องมาดูว่า พืชอะไรที่เขาจะสามารถปลูกได้ ในสภาพพื้นที่ผืนดินที่มีอยู่ 
--
แถบแถวลพบุรีและใกล้เคียง มากมายด้วยไร่อ้อย แถบแถวที่ราบสูงโคราชมากมายด้วยไร่มันสัมปะหลัง แถบแถวเมืองน่าน ก็มากมายด้วยข้าวโพด 
-------
พวกเขาปลูกเพราะอะไร? มีใครไปบังคับ?? 
ไม่มีการบังคับขู่เข็ญทางกายภาพ แต่มีการบังคับด้วยตลาดรับซื้อ ลานมัน ลานข้าวโพด โรงงานอ้อย ผืนดินของพวกเขาอาจจะปลูกพืชพรรณต่างๆได้มากมาย แต่มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าปลูกแล้วหาที่ขายไม่ได้..??
ปลูก... และขายให้ แม้บางครั้งบางทีจะรู้ว่าถูกกดราคา ได้เงินน้อย แต่ก็ปลูกกันอีก เพราะถ้าไม่ปลูก จะเอาอะไรไปขาย คนเราไม่ใช่แค่กิน ยังมีปัจจัยอื่นๆในชีวิตที่ทำให้ต้องใช้เงิน ลูกไปโรงเรียน แม้จะมีโครงการเรียนฟรี แต่ก็ต้องมีเงินให้ลูกติดไปโรงเรียนจริงไหม? ไหนจะเรื่องอื่นๆอีก และที่สำคัญ สมัยนี้ ไม่มีใครสามารถเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ทำการผลิตไว้กินได้ครบวงจร ต้องมีการแลกเปลี่ยนและซื้อหาในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ผลิต หรือผลิตไม่ได้อยู่กันทุกคน(เรื่องนี้คนในเมืองน่าจะทราบดี?)
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะสรุปว่า นี่แหละคือ คำตอบของคำถามทีว่า ป่าไม้น่านหายไปไหน? ข้างบน
-
ความเหลื่อมล้ำครับ......
-
ความเหลื่อมล้ำที่ถูกสร้างและค้ำจุนไว้ด้วยระบบรัฐ ราชการ ข้าราชการของรัฐไทยนี่แหละ คือปัจจัยที่ทำให้ ป่าไม้หายไป คุณจะด่าซีพีก็ได้ ที่เป็นนายทุนใหญ่ที่ทำธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร ที่คอยรับซื้อข้าวโพดและผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆจากชาวบ้าน แต่.. ใครล่ะที่ทำให้ซีพีใหญ่จนคลุมครอบเป็นเจ้าตลาดอย่างทุกวันนี้ได้ ไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่ระบบราชการของที่นี่หรอกหรือ ที่เปิดโอกาสให้ซีพีเป็นเจ้าตลาดสินค้าเกษตรได้เช่นที่เป็นอยู่ โดยแทบไม่มีคู่แข่ง...?
ไม่นับว่า นอกจากรัฐไทยจะไม่มีการกระจายอำนาจแล้ว ยังไม่มีการกระจายงบประมาณการพัฒนาของรัฐอย่างเหมาะสมอีกด้วย งบประมาณในการพัฒนาประเทศกระจุกอยู่ในกทม.เสียเกินครึ่ง ส่วนที่เหลือค่อยแจกจ่ายไปในจังหวัดอื่นๆอีก70กว่าจังหวัด การกระจุกตัวของงบประมาณของรัฐอย่างนี้ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทกับเมืองหลวง ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนอื่นๆต่อไป การลงทุนภาครัฐตามต่างจังหวัดน้อย การจ้างงานก็ย่อมน้อย จังหวัดไม่เจริญ สาธารณูปโภคไม่พร้อม นายทุนก็ไม่อยากไปปักหลักสร้างโรงงาน สร้างอุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันจะมีการใช้กฎหมายพิเศษมาเปิดพื้นที่อุตสาหกรรมในบางพื้นที่ แต่มันก็เป็นลักษณะการพัฒนาเป็นหย่อมๆ  สร้างความแออัดของคลื่นฝูงชนคนงานเป็นหย่อมๆให้คล้ายกทม. บางปู   โดยที่รอบนอกออกไป ก็ยังเป็นแปลงเกษตร ไร่ข้าวโพด และทุ่งเลี้ยงวัวเช่นเดิม 
------
สรุปก็คือ รัฐไทย กระจุกอำนาจและงบประมาณไว้ เพื่อสร้างให้สังคมไทยเกิดความเหลื่อมล้ำ จากนั้นก็ปล่อยให้บรรษัทใหญ่ นายทุนใหญ่ได้สัมปทานทำธุรกิจแบบครอบทั้งตลาดโดยไร้คู่แข่ง โดยได้แรงงานจากชาวบ้านที่มีความหวัง ความฝันจะหลุดพ้นจากความยากจนมาเป็นผู้ผลิตสินค้าให้บรรษัทใหญ่และจ่ายภาษีเลี้ยงรัฐที่อยู่ในกรุงเทพฯอีกที
-------
การผลิตพืชไร่เช่นข้าวโพดที่ขายกันเป็นกิโลกรัม ต้องใช้พื้นที่เยอะเพื่อจะให้ได้ผลผลิตเยอะๆจะได้ๆเงินมากๆในแต่ละปีแต่ละรุ่น ตรงนี้ก็ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น เพราะแต่ละคนก็ต้องการผลิตให้ได้เยอะๆ เพื่อให้ได้เงินมากๆ จะได้รวยๆกว่าคนอื่นๆ หรือเท่าเทียมคนอื่น ตรงนี้จะเรียกว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบก็ได้ คือ รัฐไทยเป็นเจ้านายใหญ่เหนือผู้คนในรัฐทั้งปวง ซีพีเป็นเจ้านายใหญ่ในตลาดสินค้าเกษตรครบวงจร ส่วนชาวบ้านคนดอยเลยเลียนแบบอยากจะเป็นนายใหญ่ที่สุดบนดอยบ้าง...
สรุป (ซ้ำอีกครั้ง)
ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าในประเทศไทย จะมองมิติเพียงว่า ชาวบ้านบุกรุกที่เพื่อปลูกพืชจำหน่ายอย่างเดียวไม่ได้ หรือจะมองว่า เพราะบรรษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาครอบตลาดเพียงอย่าเดียวก็ไม่ได้เช่นกัน ควรมองให้เห็นรัฐ การทำงานของรัฐ การบงการของรัฐ ที่คอยทำงาน คอยค้ำยัน และเอื้ออยู่เบื้องหลังด้วยระบบกลไลทางการกฎหมายต่างๆ อีกทั้งยังดำเนินนโยบายแบบรวมศูนย์อำนาจ รวมศูนย์งบประมาณ ที่ทำให้ต่างจังหวัดง่อยเปลี้ย แต่เมืองหลวงอ้วนเผละ   
การแก้ไขก็คือ จะต้องมีการกระจายอำนาจ กระจายความมั่งคั่ง กระจายงบประมาณในการพัฒนาประเทศออกไปต่างจังหวัดให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ให้เท่าเทียมหรือเป็นธรรมกว่านี้ มีผู้บริหาร มีทีมงาน มีครม.ที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำงาน ที่เน้นสร้างสังคมเท่าเทียม สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน โดยมีรัฐลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนแหล่งทุนเริ่มต้นให้แก่ชาวบ้าน  
พูดง่ายๆก็คือ รัฐไทย ผู้บริหารรัฐไทยจะต้องทำให้ประชาชนหายขาดจากความยากจน ถ้าคนหายจนเสียแล้ว ใคร? ยังจะมีใครที่ไหนมุดป่าฝ่าดงไปตัดไม้ เผาป่า เดินแบกถังฉีดยาฆ่าหญ้า20กิโลกรัมพ่นไร่ข้าวโพดที่ไหล่ดอยลาดชัน..
งานเกษตร ไม่ใช่งานสบาย เป็นงานหนักที่ทำให้คนที่กรำกับมันตายไว หรือไม่ก็ป่วย อมโรค ทุกวันนี้ ลองเดินทางไปตามบ้านป่าดงดอย ในมุมอับของหลายๆบ้านมีผู้ป่วยโรคไตเยอะแยะ มีผู้พิการจากการประสบอุบัติเหตุระหว่างทำงาน ข้างทางแถวๆลพบุรี ก็ยังมีหนุ่มวัยรุ่นตัวดำเดินขากระเผลกเสียรูปเสียทรง เพราะยกของหนัก แบกอ้อยขึ้นรถสิบล้อ เช่นเดียวกับแม่เฒ่าม้งก็เดินตัวเอียงเพราะไหล่ไม่สมประกอบจากการแบกกระสอบหนักบนดอย
ใครก็อยากมีเงิน เพื่อจะได้ทำงานสบาย ไม่มีใครอยากกรำงานหนักตากแดดแบกของหนัก แต่กว่าจะพอเริ่มมีเงิน หลายๆคนก็เสียรูปเสียทรง หลายคนก็เสียชีวิตระหว่างการทำงาน ตรงนี้รัฐไทย สามารถช่วยได้ ถ้ามีวิสัยทัศน์ต้องการช่วยเหลือประชาชนจริงๆ นอกจากการกระจายอำนาจการปกครอง กระจายงบประมาณในการพัฒนาแล้ว หากรัฐทำลายกลไกการผูกขายการค้าต่างๆลง ทำให้เกิดการแข่งขัน และประกันราคาสินค้าให้มากพอที่ชาวบ้านจะลืมตาอ้าปากได้ ชาวบ้านก็จะมีอยู่มีกิน มีเงินเก็บ สามารถซื้อสิ่งของอำนวยความสะดวกให้ตนเองได้ ก็ไม่จำเป็นต้องรุกพื้นที่ป่าใดๆเพิ่มให้ตัวเองต้องเหนื่อยกว่าเดิมอีก พอๆกับที่เข้มงวดกับการรักษาป่า ตั้งแต่ก่อนถูกรุก ไม่ใช่มาขยันยึดคืนหลังจากที่ถูกบุกรุกไปแล้วเช่นที่เป็นอยู่
------
แน่นอน.. สิ่งที่ผมเขียนมานี้ ก็คงเป็นแค่ความฝันในสายหมอก ตราบใดที่รัฐไทยยังมีรัฐประหาร มีการปกครองแบบเผด็จการ ประชาชนไม่มีแม้แต่สิทธิ์ในการเลือกผู้ปกครองตนเองเช่นที่เป็นอยู่...
ก็อย่างว่า เรื่องรัฐเผด็จการ คสช. นี้ เราคงทำอะไรไม่ได้มากนัก 
........
แต่คน ย่อมมีสิทธิ์ฝันใช่ไหม....?
........
.............
อ้อ เกือบลืม เอ็นจีโอที่กำลังทำแคมเปญไปดูป่าน่านที่หายไป จำได้ว่าหลายๆท่าน หลายๆคนเคยเป็นนั่งร้านให้กับการรัฐประหารครั้งนี้ ด้วยการไปเดินเป็นมวลมหาประชาชนเพิ่มให้กับม็อบ กปปส. เพื่อให้เกิดการรัฐประหารนะ 
ก็ไม่ทราบว่า อยู่ใต้ระบอบเผด็จการมาด้วยกันปีกว่าแล้ว เห็นความทุกข์ของชาวบ้านที่ถูกยึดคืนพื้นที่แล้ว เห็นความทุกข์ของชาวบ้านที่คัดค้านเหมืองแร่แล้ว ก็ไม่ทราบว่า รู้สึกยังไงบ้างนะครับ? ยังสบายดีอยู่ไหม? สิทธิของชุมชน สิทธิของภาคประชาชนยังมั่นคงแน่นแฟ้นเท่าเทียมเสมอภาคดีอยู่หรือเปล่า? และการทำงานอนุรักษ์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง กับการทำงานภายใต้รัฐบาลเผด็จการที่มาจากกระบอกปืน อันไหนเอ็นจีโอและภาคประชาชนสามารถทำงานได้ง่ายและประสบผลดีกว่ากันนะครับ?
(ไม่ต้องตอบก็ได้ ถ้าไม่อยากตอบ ถามไปงั้นแหละ) 

บล็อกของ Road Jovi

Road Jovi
      เมื่อวาน ผมได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือจากชายชาวม้งคนหนึ่ง ซึ่งเขามีคนป่วยเรื้อรังเป็นแม่ของเขาเองที่อายุเยอะแล้ว และเป็นโรคกระดุกพรุน ลุกนั่งไม่ได้ ซ้ำมีแผลกดทับอันใหญ่ๆอีกด้วยสองแผล เขาทราบจากเพื่อนบ้านว่าที่องค์กรที่ผมทำงานอยู่สามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องผ้าอ้อมผู้ป่วย ยาทา
Road Jovi
เพราะไม่รู้ จึงต้องไปดูให้เห็นกับตา
Road Jovi
     จากการอ่านปาฐกถาของท่านกีรตยาจารย์ ผมพบว่า มีความเห็นบางอย่างที่น่าจะเป็นการมองสังคมอย่างคลาดเคลื่อนไปจึงไคร่อยากจะแสดงความเห็นในมุมของผมบ้างเกี่ยวกับปาฐกถาดังกล่าว ดังนี้
Road Jovi
     ฝนตกกลางคืน  ตอนนี้ก็ยังโปรยปรายเป็นสายและพักหยุดบ้างในบางช่วง  ลมพัดเอื่อยๆเรื่อยๆพาความเย็นมาต้องตัวเป็นพักๆ    เป็นบรรยากาศที่น่านอนหลับสำหรับคนที่อยากหลับ   และเป็นบรรยากาศที่น่าดื่มสำหรับผู้ที่อยากดื่ม       แต่สำหรับนักวิชากล้วยผู้
Road Jovi
     ปลูกกล้วยก็ต้องดูแลรักษา   หากฝนแล้งก็ต้องรดน้ำเพื่อให้มันเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง   จนสามารถให้ผลผลิตคือ   เครือกล้วย   ผลกล้วยและปลีกล้วยได้    ต้นกล้วยก็ต้องการแสงแดดเพื่อสังเคราะห์อาหารหล่อเลี้ยงต้น   ในสวนกล้วยมีต้นมะขามใหญ่ยืนแผ่ร่ม
Road Jovi
     พักหลังมานี่  ผมเหมือนผู้หญิงเป็นเมนส์    คือหงุดหงิดพลุ้งพล่านอารมณ์เดือดได้ง่าย   เมื่อมีใ
Road Jovi
 “คุณครูค่ะ ถ้าหนูเรียนจบ ม.6 หนูมาทำงานกับคุณครูได้ไหมค่ะ...”
Road Jovi
 “เด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายควรได้รับการศึกษา และอยากให้สันติภาพเกิดขึ้นในประเทศของเธอและทั่วโลก...” นี่คือคำให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเด็กหญิงมาลาล่า ยูซุฟไซ หลังจากเธอเริ่มฟื้นตัวจากการอาการบาดเจ็บที่ถูกนักรบตอลีบันจ่อยิง...
Road Jovi
       ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้ เป็นคำกล่าวของใครก็ไม่รู้ แต่ผมอยากจะแปลงเป็นอย่างนี้ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้และหนี...  น่าจะเป็นคำกล่าวที่ตรงที่สุด สำหรับการนิยามความหมายให้แก่การดิ้นรนของชาวโรฮิงญาในเวลานี้...