Skip to main content
ข้าวโพดมันไม่ดี
ข้าวโพดมันชั่ว
ข้าวโพดมันเลว
ข้าวโพดมันแตกปลาย
ข้าวโพดมันทำให้เกิดการเผาป่า
ข้าวโพดมันบลา บลา บลา บล่า บล้า บล๊า บล๋า
ฯลฯ
........
"จะด่าข้าวโพดให้ดูมีปัญญาต้องด่าไปถึงห้วงโซ่อุปาทานการผลิตข้าวโพดจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ อย่าไปเน้นด่าแต่ชาวบ้าน เพราะชาวบ้านคือผู้ไม่รู้ อ่อนแอ ขาดการศึกษาและต้องตกเป็นเหยื่อเสมอ....."
 
 
ข้างบน คือ สิ่งที่เราสามารถได้ยินกันบ่อยๆ หากเข้าไปยืนอยู่ในกลุ่มวงการนักอนุรักษ์ ซึ่งมีหลากหลายผู้คน หลากหลายตำแหน่ง หลากหลายสถานะ เท่าที่ดูก็มีทั้งปัญญาชน ทั้งเอ็นจีโอ นักอนุรักษ์ นักพิทักษ์ ราชการ บลา บลา บลา ฯลฯ
จัดแบ่งประเภทการด่าในวงดังกล่าวได้ดังนี้
ด่าโง่ๆ = ต้องด่าชาวบ้านแม่งเหี้ยเลวห่าชอบเผาป่าปลูกข้าวโพด
ด่าแบบเอ็นจีโอ = ชาวบ้านเป็นผู้ไม่รู้ อ่อนแอ ตกเป็นเหยื่อบรรษัทใหญ่นายทุกผลิตข้าวโพด
ด่าแบบปัญญาชน = บรรษัทยักษ์ทำธุรกิจครอบตลาดและใช้เลห์กลหลอกลวงชาวบ้านให้ตกเป็นเหยื่อ
ด่าแบบนักวิชากล้วย = กล้วย!
-----
กล้วย! ให้กับการด่าทุกระดับ ทุกตำแหน่ง ทุกสถานะ และทุกนามที่เกี่ยวข้องกับการด่าในย่อหน้าข้างต้น
เพราะอะไร? เพราะการด่าข้างต้นที่กล่าวมา เป็นการด่าในห้องแอร์ ด่าแบบไม่รู้เรื่อง ด่าแบบตามๆเขาไป ด่าแบบจำขี้ปากเขามา ด่าแบบพาเหรดมาเก๊กท่าถ่ายรูปริมไร่ข้าวโพดแว๊บๆ ด่าแบบพวกฉาบฉวยมาเฉียดแล้วคิดว่าตนบรรลุ
ด่าแบบมองเห็นแต่ขนตาตัวเอง
------
นักวิชากล้วยจะเสนอนวัตกรรมการด่าชุดใหม่ โดยการเชื่อมโยงระหว่างการทำมาหากินเข้ากับการอนุรักษ์และการเมือง
ซึ่งเป็นประเด็นที่นักอนุรักษ์มักจะปฏิเสธว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลยนะ... จ๊ะ
------
การด่าแบบเชื่อมโยงประเด็นทางสังคมสามสี่ประเด็นเข้าด้วยกันนี้ เราสามารถใช้คำของคุณหมอประเวศมาร่วมอธิบายได้ว่า เป็นการด่าแบบบูรณาการ ด่าแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนหัวเหน่า ประมาณนั้น...
 
 
.
.
 
ต่อไปจะเป็นการด่าแบบบูรณาการ
-
การทำไร่ข้าวโพดของชาวบ้านเกิดขึ้นเพราะสภาพความบีบรัดทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน ชาวบ้านชนบทยากจน ข้นแค้น ขัดสน สาหัส ทำอย่างไรถึงจะมีกิน ก็ต้องทำงาน นับตั้งแต่รับจ้างใช้แรงกายแลกเงินไปจนถึงการเพาะปลูกทำสวน ปลูกข้าวปลูกผักไว้กิน ปลูกพืชอื่นๆไว้ขาย และจะปลูกพืชอะไรที่ทนแล้ง ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน และขายได้ ปัจจุบันที่แพร่หลายคือ ข้าวโพด(เราจะไม่พูดถึงการปลูกพืชตามโครงการในฝันต่างๆนาๆนะ เพราะถ้าคุณไม่เด็กเกินไป คุณจะรู้ว่าพืชแต่ละอย่างต่างต้องการสภาพดิน-น้ำ-อากาศแตกต่างกัน และประเทศไทยก็ไม่เหมาะกับพืชหลายๆประเภท พอๆกับที่มันเกี่ยวเนื่องกับการขายด้วย)
ข้าวโพดมาจากไหน? เมล็ดพันธุ์ขาวโพดที่ให้ผลผลิตดีมาจากร้านขายผลิตภัณฑ์การเกษตร ร้านขายพวกนี้ไปเอาเมล็ดพันธุ์มาจากไหน เอามาจากบรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่ที่มีทีมวิจัยค้นคว้า ศึกษา และผลิตสร้างมันออกมาได้ เป็นบรรษัทยักใหญ่ที่คลุมวงธุรกิจการเกษตรในทุกภาคส่วน ทำไม บรรษัทนี้จึงยิ่งใหญ่เหลือเกิน ไม่มีคู่แข่ง ก็ต้องไปดูการเอื้ออำนวยของรัฐ การเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนของบรรษัทยักษ์กับหน่วยงาน องคาพยบต่างๆของภาครัฐและผู้กุมกำอำนาจรัฐนอกรัฐธรรมนูญอีกที (มันง่ายมากสำหรับรัฐเผด็จการกับการที่จะมีบรรษัทแห่งหนึ่ง เกิดขึ้นและยิ่งใหญ่ภายใต้การสนับสนุนอุปถัมภ์จากรัฐเพื่อผูกขาดตลาด และสังคมนี้ก็เป็นสังคมเผด็จการอยู่)
 
 
เห็นไหม?
ทุกอย่างมันเชื่อมสัมพันธ์กันหมด เพราะอะไร เพราะรัฐ!
รัฐสนับสนุน ส่งเสริมการทำธุรกิจของบรรษัทยักษ์ใหญ่ให้สามารถทำธุรกิจอย่างที่เป็นอยู่นี้ได้ เอื้ออำนวยให้เกิดการผูกขาดตลาดไร้คู่แข่งได้ กำหนดราคารับซื้อหรือขายได้ตามใจราวพระเจ้า ดังนั้น นอกจากจะคิดด่าชาวบ้านเผาป่าผลิตข้าวโพดให้นายทุน ด่านายทุนผูกขาด ก็ควรด่ารัฐและอำนาจเหนือรัฐที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจครอบตลาดอีกทีด้วย และตรงนี้เอง เรื่องการอนุรักษ์จึงเป็นเรื่องการเมือง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าคุณกล่าวว่าชาวบ้านรุกพื้นที่ป่า เผาป่าเพื่อผลิตข้าวโพดให้นายทุน ก็แล้วนายทุนสามารถทำธุรกิจอย่างผูกขาดได้ก็เพราะใคร........???
ยิ่งภายใต้รัฐเผด็จการทหารอย่างที่เป็นอยู่ ตรวจสอบไม่ได้ ทวงถามไม่ได้ จับ-ปรับ-ยึด-อนุมัติ-ขับไล่ กระทำการต่างๆได้ด้วย ม.44 ในทุกเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวบ้าน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ได้โดยไม่มีใครกล้าทัดทาน ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า เรื่องการอนุรักษ์นั้นมันเป็นเรื่องการเมืองอย่างยิ่ง ซึ่งถึงทุกวันนี้ ถ้าใครยังจะยืนยันว่ามันไม่ใช่อีกล่ะก็.. ก็ควรไปลาหมาตายซะ!!
 
 
 
เรื่องอนุรักษ์ เป็นเรื่องการเมือง แล้วการจะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน-น้ำ-ฟ้า-ป่า-อากาศให้ได้ดี เราสามารถดูตัวอย่างได้จากประเทศพัฒนาแล้ว
พวกเขาทำอย่างไร...?
กระจายอำนาจทางการเมืองการปกครอง กระจายงบประมาณในการพัฒนาประเทศออกไปให้เท่าเทียม เป็นรัฐประชาธิปไตย ที่มีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ระบบการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจต่อเนื้อหาที่เรียนพร้อมทั้งสามารถประยุกติ์ใช้ได้กับสภาพความเป็นจริงของสังคม ส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงงาน อิเล็คทรอนิก ไปจนถึงอินเตอร์เน็ต โซเซี่ยลมีเดียต่างๆ เพราะงานเหล่านี้เป็นงานที่ต้องการทักษะทางสติปัญญามาก และได้รับค่าตอบแทนมาก การศึกษาที่ดีจะสามารถปูทางให้ผู้คนในสังคมกลายมาเป็นแรงงานทักษะสูงได้ เป็นการยกระดับสังคมขึ้นทั้งสังคม จากประเทศด้อยพัฒนาให้เป็นประเทศพัฒนา ซึ่งเมื่อผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีรายได้ที่ดีจากงานทักษะทางปัญญา มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ก็ย่อมไม่มีใครอยากจะไปทำงานเผาป่า ปลูกข้าวโพด ทำเกษตรกรรมตากแดด ร้อน เค็มเหงื่อกลางไร่นาเรือกสวน เมื่อผู้คนไม่มีความสนใจที่จะทำการเกษตร ป่าไม้ก็ไม่ถูกรุกเพิ่ม เงินภาษีจากภาคส่วนอุตสาหกรรม และภาษีรายได้ส่วนบุคคล ก็สามารถนำมาใช้พัฒนางานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ปรับปรุง ส่งเสริม ทำให้ป่าไม้เป็นสถานที่เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของเด็กๆและเยาวชนไป อีกทั้งยังสามารถสร้างสถาบันวิจัย สังเคราะห์สารต่างๆจากพืชในป่ามาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย
 
 
 
ไม่ต้องกลัวว่า จะไม่มีคนผลิตสินค้าเกษตรให้รับประทาน ประเทศพัฒนาแล้วทุกที่ ต่างก็ยังมีคนทำเกษตรกรรม ญี่ปุ่น อเมริกา หรือยุโรป ยังมีกันทั้งนั้น แถมมีคุณภาพที่ดีอีกด้วย สินค้าที่ผลิตก็มีคุณภาพดี เกษตรกรผู้ผลิตก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมของภาครัฐ ทำลายการผูกขาดของพ่อค้าคนกลางหรือบรรษัทเกษตรยักษ์ใหญ่ ให้เป็นไปตามกลไกตลาด และ/หรือรัฐคอยควบคุมดูแลอีกที แน่นอน ในประเทศเหล่านั้น สินค้าเกษตรมักมีราคาแพง แต่ มันจะแพงก็จะเป็นไร ในเมื่อประชาชนมีรายได้สูงก็สามารถจับจ่ายได้อย่างไม่ลำบากอยู่แล้ว
มินับว่า ความก้าวหน้าทางวิชาการจะทำให้เกษตรกรสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่นผลิต สร้าง อุปกรณ์ช่วยในการทำการเกษตรที่ดีขึ้น ทำงานได้ง่ายขึ้น สบาย สะดวกยิ่งขึ้น หรือถ้าต้องใช้สารเคมีก็มีอุปกรณ์ช่วยทำแทน ไม่ต้องเดินแบกถังพ่นจนเหมือนคลุกตัวด้วยสารเคมีเช่นที่เป็นอยู่ เป็นต้น
 
 
 
การจะพัฒนาประเทศ ต้องพัฒนาให้คนทั้งประเทศกลายเป็นแรงงานมีทักษะ ทำงานได้เงินเดือนที่สูงในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องด้วยการเป็นสังคมประชาธิปไตย กระจายอำนาจการปกครองและงบประมาณในการพัฒนาออกไปในทุกถิ่นที่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงเกินกว่ากันจนเกิดคำว่าเมือฟ้าเมืองเทวดาอย่างที่เป็นอยู่
-----
ถ้าทำให้ประเทศนี้เป็นประเทศพัฒนาได้ งานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะเดินหน้าก้าวไกลกว่าการต้องมาไล่จับคนบุกรุกป่า,การตระเวนไล่จับชาวบ้านป่าที่มีไม้ท่อนไว้ครอบครอง,การออกลาดตระเวนเสี่ยงตายกับผู้คนที่แอบเข้าไปล่าสัตว์,หรือกระทั่งการต้องคอยจัดงานรำลึกให้แก่สืบฯทุกๆปีจนยกย่องมากมายจนจะกลายเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ผืนป่าไปเสียแล้ว(โดยที่งานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติก็ไม่ได้เดินหน้าไปไหนเกินกว่าตอนที่สืบฯยังมีชีวิตเอาเสียเลย)
 
 
สรุป จะด่าข้าวโพด ด่าคนปลูกข้าวโพด ด่าลานรับซื้อข้าวโพด ด่าบรรษัททำธุรกิจข้าวโพด ก็ต้องอย่าลืมด่ารัฐที่ทำให้เกิดห่วงโซ่เกษตรกรรมข้าวโพดอย่างนี้ด้วย
-
และเรื่อง อนุรักษ์เป็นเรื่องการเมือง แต่ก็มีคนบ้าที่ไม่ประสา พยายามพูดว่ามันไม่เกี่ยวกัน
-
และนี่ก็คือการทดลองสร้างทักษะการด่าแบบบูรณาการตามสไตย์ของคุณหมอประเวศ โดยมีการพยายามจับประเด็นหลายๆประเด็นมาเชื่อมโยงกันให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยมีข้าวโพด,ผู้ปลูกข้าวโพด,ผู้ค้าข้าวโพด,บรรษัท,ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อันสืบเนื่องจากข้าวโพดอยู่ตรงปลายสามเหลี่ยมด้านหนึ่ง และมีเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง ส่วนด้านสุดท้ายก็คือรัฐ รวมเป็นรูปสามเหลี่ยมที่เราสามารถจะเอาไปเขยื้อนหัวเขา หัวเข่า หรือหัวเหน่าอีกที ก็ว่ากันไปครับ...
..........................................................................................................
.
----
-----------
----------------------
ปล. คำว่า "กล้วย" ทุกคำ ล้วนมีความหมายเหมือนคำว่ากล้วยในนิยายเรื่อง "พันธุ์หมาบ้า"
ปล.2 นักวิชากล้วยก็คือนักวิชากล้วย ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับใครทั้งสิ้น แค่เพียงแวะมาใช้พื้นที่เป็นครั้งคราว แล้วจะกลับเข้าป่ากล้วยต่อไป
ปล.3 รูปทั้งหมด ถ่ายมาจากหลายที่หลายแห่งในหลายจังหวัดภาคเหนือ

บล็อกของ Road Jovi

Road Jovi
      เมื่อวาน ผมได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือจากชายชาวม้งคนหนึ่ง ซึ่งเขามีคนป่วยเรื้อรังเป็นแม่ของเขาเองที่อายุเยอะแล้ว และเป็นโรคกระดุกพรุน ลุกนั่งไม่ได้ ซ้ำมีแผลกดทับอันใหญ่ๆอีกด้วยสองแผล เขาทราบจากเพื่อนบ้านว่าที่องค์กรที่ผมทำงานอยู่สามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องผ้าอ้อมผู้ป่วย ยาทา
Road Jovi
เพราะไม่รู้ จึงต้องไปดูให้เห็นกับตา
Road Jovi
     จากการอ่านปาฐกถาของท่านกีรตยาจารย์ ผมพบว่า มีความเห็นบางอย่างที่น่าจะเป็นการมองสังคมอย่างคลาดเคลื่อนไปจึงไคร่อยากจะแสดงความเห็นในมุมของผมบ้างเกี่ยวกับปาฐกถาดังกล่าว ดังนี้
Road Jovi
     ฝนตกกลางคืน  ตอนนี้ก็ยังโปรยปรายเป็นสายและพักหยุดบ้างในบางช่วง  ลมพัดเอื่อยๆเรื่อยๆพาความเย็นมาต้องตัวเป็นพักๆ    เป็นบรรยากาศที่น่านอนหลับสำหรับคนที่อยากหลับ   และเป็นบรรยากาศที่น่าดื่มสำหรับผู้ที่อยากดื่ม       แต่สำหรับนักวิชากล้วยผู้
Road Jovi
     ปลูกกล้วยก็ต้องดูแลรักษา   หากฝนแล้งก็ต้องรดน้ำเพื่อให้มันเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง   จนสามารถให้ผลผลิตคือ   เครือกล้วย   ผลกล้วยและปลีกล้วยได้    ต้นกล้วยก็ต้องการแสงแดดเพื่อสังเคราะห์อาหารหล่อเลี้ยงต้น   ในสวนกล้วยมีต้นมะขามใหญ่ยืนแผ่ร่ม
Road Jovi
     พักหลังมานี่  ผมเหมือนผู้หญิงเป็นเมนส์    คือหงุดหงิดพลุ้งพล่านอารมณ์เดือดได้ง่าย   เมื่อมีใ
Road Jovi
 “คุณครูค่ะ ถ้าหนูเรียนจบ ม.6 หนูมาทำงานกับคุณครูได้ไหมค่ะ...”
Road Jovi
 “เด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายควรได้รับการศึกษา และอยากให้สันติภาพเกิดขึ้นในประเทศของเธอและทั่วโลก...” นี่คือคำให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเด็กหญิงมาลาล่า ยูซุฟไซ หลังจากเธอเริ่มฟื้นตัวจากการอาการบาดเจ็บที่ถูกนักรบตอลีบันจ่อยิง...
Road Jovi
       ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้ เป็นคำกล่าวของใครก็ไม่รู้ แต่ผมอยากจะแปลงเป็นอย่างนี้ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้และหนี...  น่าจะเป็นคำกล่าวที่ตรงที่สุด สำหรับการนิยามความหมายให้แก่การดิ้นรนของชาวโรฮิงญาในเวลานี้...