Skip to main content
มีบางคนมองราวกับว่าประชาธิปไตยมีศีลธรรมเหมือนศาสนา(ที่มีวัตรปฏิบัติตายตัวต้องประพฤติเหมือนกันอย่างเท่าเทียมเสมอกันห้ามย่อหย่อนแตกแถว) ซึ่งเป็นการตีความที่กว้างเกินกว่าหลักการของมันคือเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพมากๆ เพราะด้วยหลักการดังกล่าวนี้ ศีลธรรม(ข้อปฎิบัติ)ของประชาธิปไตย ก็คือ'การยอมรับความแตกต่าง'
คนรักประชาธิปไตย คนอยากสร้างสังคมประชาธิปไตย และคนที่อยู่ในสังคมประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องรักชอบเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องถือศีลธรรมนับถือศาสนาเหมือนๆกัน และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างเท่าเทียมเสมอกัน
เพราะประชาธิปไตย ยึดมั่นในความเป็นคน คน ที่มีความคิดอ่านหลากหลาย มีพื้นฐานชีวิตมากมายแตกต่างกัน คนทุกคนจึงเป็น คน ที่ไม่เหมือนกัน แต่ประชาธิปไตยให้ค่าทุกคนเท่ากัน มีความเป็นคน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกยากดีมีจนร่ำรวยต่างเชื้อชาติหรือสีผิวเผ่าพันธุ์
เมื่อคนมีความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและความเป็นคน
แต่ประชาธิปไตยให้คุณค่าแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน
ศีลธรรมหลักๆของประชาธิปไตยที่ทุกคนจะต้องยอมรับยึดมั่นและปฎิบัติก็คือ 'การยอมรับความแตกต่าง' และต้องยอมรับให้ได้แม้กระทั่งว่า คนอื่นยอมรับความแตกต่างได้ไม่เท่ากับตน
แคบเข้ามา...
ในกลุ่มคนที่บอกว่ารักประชาธิปไตยนี่ ก็มีระดับความคิดอ่านทางการเมืองหลายเฉด ไล่ระดับ ไม่เท่ากัน แต่เมื่อบอกว่าสนับสนุนประชาธิปไตยแล้ว ทุกคนก็ต้องมายอมรับความแตกต่างหลากหลายให้ได้กัน ซึ่งระดับการยอมรับได้ของแต่ละคน แต่ละกลุ่มก็แตกต่างกัน ก็ธรรมดา ตามประสามนุษย์
ที่กล่าวมานี่ เพราะผมรู้สึกมีปัญหา กับพวกยึดมั่นpc หรือศาสดาpc ที่ชอบกล่าวหาคนอื่นว่าไม่pc ว่าไม่ยึดมั่นในหลักการ ว่าคนอื่นไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าตน ฯลฯ ซึ่งเรื่องนี้มันตลกมาก เพราะในขณะที่พวกนี้ชี้นิ้วว่าคนอื่นอย่างนั้น เขาก็กลับกำลังประพฤติตนเป็นนักท่องคำภีร์ยึดศีลธรรมในศาสนามาข่มคนอื่นไปพร้อมๆกัน
"คุณไม่มีหลักการเท่าผม,ไม่ยึดหลักการเท่าผม) ก็ไม่ต่างจากการชี้หน้าคนอื่นว่า "คุณไม่มีศีลเท่าผม,ถือศีลไม่เคร่งครัดเท่าผม) ซึ่งพอยึดหลักศีลธรรมอิงศาสนาอย่างนี้มากๆ มันก็เท่ากับกำลังทำลายศีลธรรมของประชาธิปไตยคือ 'การยอมรับความแตกต่าง' ไปพร้อมๆกัน
แต่คนพูดคงไม่รู้.....
ไม่รู้ตัว..........
ในวงกว้างระดับสังคม ไม่มีสังคมไหนปราศจากคนที่มีแนวคิดประชาธิปไตย,อนุรักษนิยม,เผด็จการ
แต่การจัดการคนที่มีความคิดแตกต่างในแต่ละสังคมนั้นย่อมแตกต่างกัน บีบบังคับ,ปิดกั้น,จองจำ สำหรับสังคมเผด็จการและอนุรักษนิยมเข้มข้น / ให้อิสรเสรี แต่คอยดูอยู่ห่าง สำหรับสังคมประชาธิปไตย
ทีนี้ กระชับเข้ามาอีก
บางคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย จะต้องชักจูง จูงใจ ให้คนชนชั้นกลางส่วนใหญ่ของประเทศ(สลิ่ม) เปลี่ยนความคิดมาสนับสนุนประชาธิปไตย ให้เห็นถึงความเลวร้ายของเผด็จการ แล้วหันมาอยากเลือกตั้ง โอเค ความคิดนี้ก็ดี แต่เป็นการมองแบบด้านเดียว เป็นการมองผ่านสายตชนชั้นกลางที่หวังการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ ใช้คนเยอะๆ ออกมาบนถนนมากๆ กดดันให้เผด็จการถอยจากอำนาจไป ซึ่งก็ต้องแอบมีความหวังเล็กๆในใจว่าเผด็จการจะต้องมีจิตใจที่ใสสะอาด มีคุณธรรม มีความละอาย ยอมคืนอำนาจและถอยหนีออกไปอย่างเงียบๆ ประมาณนั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เป็นจริง
ไม่เคยมีเผด็จการคนไหนมีจิตใจยึดมั่นในศีลธรรมของศาสนา ความละอายเกรงกลัวต่อบาปก็อย่าได้คิดว่าจะมี เพราะถ้ามี เขาคนนั้นย่อมเป็นเผด็จการไม่ได้ ขาดคุณสมบัติอย่างแรง
ในด้านมวลชน ไม่เคยมีสังคมไหนที่ผู้คนจะคิดเห็นเหมือนกัน เราจะเห็นว่าในโลกปัจจุบัน ในประเทศโลกที่หนึ่งที่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังมีกลุ่มคนที่นิยมฟาสซิสต์บ้าง นาซีบ้าง ย้อนไปไกลกว่านั้น สมัยปฏิวัติฝรั่งเศษ แน่นอน คนปารีสจำนวนไม่น้อยที่เกลียดพวกลุกขึ้นมาเผาคุกบาสติล และโค่นระบอบกษัตริย์ลงไป สมัยสงครามกลางเมืองอเมริกาก็เช่นกัน นายทาสในรัฐฝ่ายเหนือจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบใจแนวคิดของกลุ่มนำของฝ่ายเหนือ แต่ชื่นชมแนวทางของพวกรัฐฝ่ายใต้มากกว่า
เพราะอะไร? เพราะทุกสังคม ทุกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมย่อมมีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ สำหรับคนที่คิดว่าตนจะได้ จากการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ย่อมชอบ แต่สำหรับคนที่คิดว่าตนจะเสีย จากการเปลี่ยนแปลงนั้นเขาก็ย่อมไม่แฮปปี้ เช่นเดียวกับคนกลางๆที่ยังคิดไม่ออกว่าตนจะได้หรือเสียก็ย่อมถูกแบ่งเป็นสองแนวคือ ชอบและไม่ชอบเช่นกัน นี่คือ ธรรมดาของคนในสังคม ไม่มีใครหรือสังคมไหนสามารถทำให้คนทุกคนในสังคมคิดเห็นเหมือนกันได้ ยกเว้นสังคมเผด็จการ(เป็นความฝันในอุดมคติที่ทำได้ใกล้เคียงที่สุดคือเกาหลีเหนือ)
การจัดการคนเห็นต่างที่ไปเห็นด้วยและ/หรือเข้าร่วมกับฝ่ายศัตรูทำได้ยังไง? ในสังคมเผด็จการก็คงจับมันไปขัง ไปฆ่า ทรมานรีดเค้นข้อมูล ในสังคมประชาธิปไตยก็ใช้หลายระดับ ต้องแต่สอดส่อง คอยติดตามจับตา ไม่ให้เป็นพิษเป็นภัย ไปจนถึงถ้าจำเป็นก็ต้องจับคุมขัง
กล่าวมานี้ เพื่อจะบอกว่า มันไม่ใช่มีแค่แนวคิดที่อยากจะให้คนส่วนใหญ่(เน้น ชนชั้นกลาง) หันหนีจากเผด็จการมาสนับสนุนประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ มันยังมีแนวทางอื่นอีกด้วย หลายแนวทาง หรืออาจจะทำผสมพร้อมๆกันไปก็ได้ เพราะคงไม่มีแนวทางไหนดีเลิศประเสริฐเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ทุกอย่างต้องทำไปพร้อมติดตามผลตรวจสอบและพร้อมจะปรับเปลี่ยนได้เสมอ เพื่อให้สามารถมุ่งไปให้ถึงเป้าหมายได้สำเร็จ
หยดน้ำเกิดบนที่สูง ซับซาบละอองไอเมฆ ค่อยๆซึมผ่านก้อนหิน หยดไหลรินลงมาเรื่อยๆ รวบรวมปริมาณให้มากขึ้นเป็นสายน้ำ ไหลล่องอ่อนช้อยลัดเลาะผ่านกอหญ้า พงไม้ ก้อนหิน ไม่ฝืนตัวชนกับสิ่งที่แข็งกว่า ตราบจนรวบรวมปริมาณน้ำได้มากพอจนเป็นแม่น้ำสายใหญ่จึงจะกัดเซาะกินลึกผืนดินเป็นร่อง เป็นโตรกผา เป็นหุบเหวลึก จากจุดกำเนิดบนยอดเขาผืนดินสูง แม่น้ำอาจไหลซอกซอนผืนดินไปเป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่นกิโลเมตร กินพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร วกวนไปมาซ้าย-ขวานับไม่ถ้วนโค้ง แต่สุดท้ายแม่น้ำก็จะถึงซึ่งจุดหมายคือมหาสมุทธ
ไม่ว่าจะเดินทางกี่วัน กี่เดือน กี่ปี กี่ไมล์ ไกลกี่กิโลเมตร แต่เป้าหมายของแม่น้ำก็มั่งคง และทำให้มันถึงที่ จนสำเร็จ!
- - - - - - - - - - - - - - - - -
- - - - - -
- -
ปล. จริงๆแล้ว ผมไม่เชื่อว่า สลิ่ม คือชนชั้นกลางกลุ่มใหญ่ของสังคมไทย จริงๆพวกเขาเป็นชนชั้นกลางกลุ่มน้อยที่ใกล้ชิดกับชนชั้นนำ แต่มีศักยภาพสูง กุมระบบเศรษกิจส่วนใหญ่ของประเทศ และมีสื่อสารมวลชนพร้อมทั้งเครือข่ายกลุ่มองค์กรต่างๆในมือเท่านั้น
และด้วยศักยภาพที่พวกเขามีนี่เอง ทำให้พวกเขาสามารถชักนำสังคมให้เป็นไปและเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ได้..

ปล.2 ภาพทุกภาพในบล็อกนี้เป็นของนักวิชากล้วย เขาฝากบอกมาว่า ใครจะเอาไปใช้ให้บอกด้วย จะได้ฟ้อง ช่วงนี้ไม่มีตังค์... -_-

บล็อกของ Road Jovi

Road Jovi
      เมื่อวาน ผมได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือจากชายชาวม้งคนหนึ่ง ซึ่งเขามีคนป่วยเรื้อรังเป็นแม่ของเขาเองที่อายุเยอะแล้ว และเป็นโรคกระดุกพรุน ลุกนั่งไม่ได้ ซ้ำมีแผลกดทับอันใหญ่ๆอีกด้วยสองแผล เขาทราบจากเพื่อนบ้านว่าที่องค์กรที่ผมทำงานอยู่สามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องผ้าอ้อมผู้ป่วย ยาทา
Road Jovi
เพราะไม่รู้ จึงต้องไปดูให้เห็นกับตา
Road Jovi
     จากการอ่านปาฐกถาของท่านกีรตยาจารย์ ผมพบว่า มีความเห็นบางอย่างที่น่าจะเป็นการมองสังคมอย่างคลาดเคลื่อนไปจึงไคร่อยากจะแสดงความเห็นในมุมของผมบ้างเกี่ยวกับปาฐกถาดังกล่าว ดังนี้
Road Jovi
     ฝนตกกลางคืน  ตอนนี้ก็ยังโปรยปรายเป็นสายและพักหยุดบ้างในบางช่วง  ลมพัดเอื่อยๆเรื่อยๆพาความเย็นมาต้องตัวเป็นพักๆ    เป็นบรรยากาศที่น่านอนหลับสำหรับคนที่อยากหลับ   และเป็นบรรยากาศที่น่าดื่มสำหรับผู้ที่อยากดื่ม       แต่สำหรับนักวิชากล้วยผู้
Road Jovi
     ปลูกกล้วยก็ต้องดูแลรักษา   หากฝนแล้งก็ต้องรดน้ำเพื่อให้มันเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง   จนสามารถให้ผลผลิตคือ   เครือกล้วย   ผลกล้วยและปลีกล้วยได้    ต้นกล้วยก็ต้องการแสงแดดเพื่อสังเคราะห์อาหารหล่อเลี้ยงต้น   ในสวนกล้วยมีต้นมะขามใหญ่ยืนแผ่ร่ม
Road Jovi
     พักหลังมานี่  ผมเหมือนผู้หญิงเป็นเมนส์    คือหงุดหงิดพลุ้งพล่านอารมณ์เดือดได้ง่าย   เมื่อมีใ
Road Jovi
 “คุณครูค่ะ ถ้าหนูเรียนจบ ม.6 หนูมาทำงานกับคุณครูได้ไหมค่ะ...”
Road Jovi
 “เด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายควรได้รับการศึกษา และอยากให้สันติภาพเกิดขึ้นในประเทศของเธอและทั่วโลก...” นี่คือคำให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเด็กหญิงมาลาล่า ยูซุฟไซ หลังจากเธอเริ่มฟื้นตัวจากการอาการบาดเจ็บที่ถูกนักรบตอลีบันจ่อยิง...
Road Jovi
       ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้ เป็นคำกล่าวของใครก็ไม่รู้ แต่ผมอยากจะแปลงเป็นอย่างนี้ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้และหนี...  น่าจะเป็นคำกล่าวที่ตรงที่สุด สำหรับการนิยามความหมายให้แก่การดิ้นรนของชาวโรฮิงญาในเวลานี้...