Skip to main content

โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน


ไม่จำเป็นต้องมีโครงเรื่องที่แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาซับซ้อน เล่าไปเรื่อย ๆ ถึงสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ไม่กี่ประโยค (เพราะว่าเด็กควรจะพูดอะไรที่มันง่าย ๆ) ตัดเอาคำบรรยายหรือการพรรณาที่ไม่จำเป็นออกไป ประณีตในการเลือกสรรคำเพื่อให้เกิดพลังและจินตภาพ


อย่างไรก็ตาม (ขอนอกเรื่องนิดนึง) ชื่อของ มกุฏ อรฤดี ผู้จัดการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ดูจะเสียเครดิตในวงวรรณกรรมไปไม่น้อยเมื่อครั้งที่เขาจัดการประกวด “วรรณกรรมสึนามิ” เชิญชวนให้ผู้สนใจงานเขียนส่งเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิเข้าประกวด แต่พอใกล้จะถึงวันประกาศผลตัดสินรางวัล มกุฏ อรฤดี กลับส่งหนังสือแจ้งยกเลิกการประกวดเสียปุบปับอ้างว่าเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล (โทษนักการเมือง)


แทนที่จะหาทางออกอย่างเหมาะสม (อาทิ เช่น มกุฏ อรดี และสำนักพิมพ์ผีเสื้อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาผลงานเอง รวมเล่มผลงานที่ผ่านการพิจารณาในนามของสำนักพิมพ์ผีเสื้อโดยไม่ต้องให้รางวัลก็ได้) มกุฏ อรฤดี ผู้รับผิดชอบการประกวดรางวัลนี้แก้ปัญหาด้วยกันส่ง “สมุดบันทึก” ให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดคนละเล่มเป็นการปลอบใจ!


หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมแทบไม่อยากหยิบจับหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แม้ว่าจะยอมรับในคุณภาพก็ตาม


กลับมาที่ “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เหตุที่ผมสนใจหนังสือเล่มนี้ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อก็เพราะว่ามันเป็นวรรณกรรมเยาวชน ทั้งเชื่อในฝีมือของผู้แปล จะว่าไปความนำสำนักพิมพ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อย


นี่คือหนังสือซึ่งใครก็ตาม ผู้เป็นพ่อควรซื้อไว้แอบอ่านและเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น นี่คือหนังสือที่ลูกควรซื้อมอบแก่พ่อเพื่อเป็นของขวัญในทุกวาระทุกโอกาส นี่คือหนังสือที่สตรีผู้มีเหย้าและคิดจะมีคู่ควรอ่านด้วยตั้งใจและนี่คือหนังสือที่ทุกคนผู้ปรารถนาสิ่งดีในชีวิตต้องอ่าน” (ความนำสำนักพิมพ์)


ผู้แปลแนะนำให้รู้จักกับผู้เขียนต้นฉบับสั้น ๆ พร้อมผลงานที่เห็นเพียงชื่อก็น่าสนใจ เป็นต้นว่า “ข้าจะสอนเอ็งให้รู้จักความสุภาพ ไอ้เฮี่ย” “เช็ดน้ำมูกให้ลูกขี้มูกไหลของเรา” “ภาพวาดสีน้ำมันใส่น้ำส้มสายชู” “ไวยากรณ์ฝรั่งเศสอ่อนประเด็น”


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เป็นเรื่องเล่าในครอบครัวของเด็กคนหนึ่งที่พูดถึงพ่อของเขา พ่อมีอาชีพเป็นหมอ แต่ดูเหมือนว่าความโด่งดังของพ่อในฐานะที่เป็นหมออาจจะไม่ค่อยเป็นที่เลื่องลือกันเท่ากับที่เป็นขี้เมา


ประเด็นปัญหาหรือความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ความไม่สบายอกสบายใจในครอบครัวถูกทำให้เบาลงด้วยการเล่าผ่านสายตาของเด็ก ความทุกข์ของใจแม่ในความขี้เหล้าของพ่อก็เป็นเรื่องตลก ๆ ไปเสีย เพียงแต่มันเป็นตลกร้าย


การเขียนวรรณกรรมเชิงเสียดสีให้มีศิลปะเป็นเรื่องยาก การเล่าผ่านตัวละครเด็กดังเช่นเรื่องนี้ก็เป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่ง ต้องไม่มากเกินไปจนเหมือนเอาคำพูดยัดปากตัวละครเด็กหรือดูเป็นเด็กแก่แดดทั้งต้องไม่เบาหวิวจนไม่เหลือสาระและสไตล์


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซอยแบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ ถึง 72 เรื่อง! ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นนักในวรรณกรรมเยาวชน ทั้งส่วนใหญ่แล้วแต่ละเรื่องมีความยาวเพียงหน้าเดียว! มันชวนให้นึกถึงบทกวีเสียมากกว่าอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม แต่ละเรื่องล้วนเชื่อมโยงกันและวนอยู่รอบ ๆ ผู้เป็นพ่อ


แม้จะจบลงด้วยความตายก่อนวัยอันควรของพ่อเพราะดื่มอย่างหนัก แต่ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือสะเทือนใจมากนักทั้งนี้เพราะเป็นอะไรที่พอจะเดาได้ตั้งแต่ต้น คนที่เอาแต่ดื่มแม้แต่ในตอนที่รักษาคนไข้ หลังเลิกงาน ปล่อยปละละเลยลูกเมีย จะมีจุดจบในวรรณกรรมเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากโศกนาฎกรรมหรือความตาย


ในที่นี้จะหยิบยกมาให้ลองมาอ่านดูสักเรื่องจาก 72 เรื่อง


พ่อบนกองฟืน”


           
คืนหนึ่ง เราได้ยินเสียงดังจากลานบ้านและเสียงคนร้อง

แม่ลุกขึ้น เปิดหน้าต่าง มองลงไปในสวน พ่อนั่นเอง

เหตุเพราะพ่อรู้สึกร้อนมากขณะอยู่บนเตียงจึงตัดสินใจออกไปข้างนอก

พ่อนอนเหยียดอยู่บนกองฟืน แล้วหลับไป

แต่พ่อตื่นขึ้นกลางดึก ขณะขยับตัว ทำให้ท่อนฟืนที่อยู่สูงตกลงมา

ท่อนฟืนกลิ้งหลุน ๆ ใส่พ่อ

พ่อโกรธมาก จึงสบถสาบานเหมือนกัปตันแฮดด็อค แต่หยาบคายกว่า

พ่อทำให้เราตื่นกันทั้งบ้าน พ่อด่าท่อนฟืน สบถหลายครั้งว่าพระเจ้าห่าเหว

พ่อพูดคำหยาบบรรดามีทุกคำที่เราไม่มีสิทธิ์พูด

ยายบอกให้เราสวดมนต์ เพื่อพ่อจะได้ไม่ตกนรก

ยายพูดเสียงดัง เพื่อไม่ให้พวกเราได้ยินคำหยาบจากปากพ่อ

แต่ก็ได้ยินอยู่ดีเพราะพ่อตะโกนเสียงดังกว่า

ผมแน่ใจ มีตอนหนึ่งพ่อด่ายายว่า ‘หุบปากซะยายแก่’.


ลองไปหาอ่านกันดูครับ หนังสือคุณภาพของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ เสียตังค์ร้อยกว่าบาทซื้อหนังสือที่เก็บไว้ได้นาน อ่านแล้วเพลิดเพลินเจริญใจดีกว่าเอาเงินไปดูหนังตลกหรือหนังผีเป็นไหน ๆ.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…