Skip to main content

โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน


ไม่จำเป็นต้องมีโครงเรื่องที่แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาซับซ้อน เล่าไปเรื่อย ๆ ถึงสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ไม่กี่ประโยค (เพราะว่าเด็กควรจะพูดอะไรที่มันง่าย ๆ) ตัดเอาคำบรรยายหรือการพรรณาที่ไม่จำเป็นออกไป ประณีตในการเลือกสรรคำเพื่อให้เกิดพลังและจินตภาพ


อย่างไรก็ตาม (ขอนอกเรื่องนิดนึง) ชื่อของ มกุฏ อรฤดี ผู้จัดการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ดูจะเสียเครดิตในวงวรรณกรรมไปไม่น้อยเมื่อครั้งที่เขาจัดการประกวด “วรรณกรรมสึนามิ” เชิญชวนให้ผู้สนใจงานเขียนส่งเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิเข้าประกวด แต่พอใกล้จะถึงวันประกาศผลตัดสินรางวัล มกุฏ อรฤดี กลับส่งหนังสือแจ้งยกเลิกการประกวดเสียปุบปับอ้างว่าเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล (โทษนักการเมือง)


แทนที่จะหาทางออกอย่างเหมาะสม (อาทิ เช่น มกุฏ อรดี และสำนักพิมพ์ผีเสื้อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาผลงานเอง รวมเล่มผลงานที่ผ่านการพิจารณาในนามของสำนักพิมพ์ผีเสื้อโดยไม่ต้องให้รางวัลก็ได้) มกุฏ อรฤดี ผู้รับผิดชอบการประกวดรางวัลนี้แก้ปัญหาด้วยกันส่ง “สมุดบันทึก” ให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดคนละเล่มเป็นการปลอบใจ!


หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมแทบไม่อยากหยิบจับหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แม้ว่าจะยอมรับในคุณภาพก็ตาม


กลับมาที่ “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เหตุที่ผมสนใจหนังสือเล่มนี้ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อก็เพราะว่ามันเป็นวรรณกรรมเยาวชน ทั้งเชื่อในฝีมือของผู้แปล จะว่าไปความนำสำนักพิมพ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อย


นี่คือหนังสือซึ่งใครก็ตาม ผู้เป็นพ่อควรซื้อไว้แอบอ่านและเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น นี่คือหนังสือที่ลูกควรซื้อมอบแก่พ่อเพื่อเป็นของขวัญในทุกวาระทุกโอกาส นี่คือหนังสือที่สตรีผู้มีเหย้าและคิดจะมีคู่ควรอ่านด้วยตั้งใจและนี่คือหนังสือที่ทุกคนผู้ปรารถนาสิ่งดีในชีวิตต้องอ่าน” (ความนำสำนักพิมพ์)


ผู้แปลแนะนำให้รู้จักกับผู้เขียนต้นฉบับสั้น ๆ พร้อมผลงานที่เห็นเพียงชื่อก็น่าสนใจ เป็นต้นว่า “ข้าจะสอนเอ็งให้รู้จักความสุภาพ ไอ้เฮี่ย” “เช็ดน้ำมูกให้ลูกขี้มูกไหลของเรา” “ภาพวาดสีน้ำมันใส่น้ำส้มสายชู” “ไวยากรณ์ฝรั่งเศสอ่อนประเด็น”


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เป็นเรื่องเล่าในครอบครัวของเด็กคนหนึ่งที่พูดถึงพ่อของเขา พ่อมีอาชีพเป็นหมอ แต่ดูเหมือนว่าความโด่งดังของพ่อในฐานะที่เป็นหมออาจจะไม่ค่อยเป็นที่เลื่องลือกันเท่ากับที่เป็นขี้เมา


ประเด็นปัญหาหรือความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ความไม่สบายอกสบายใจในครอบครัวถูกทำให้เบาลงด้วยการเล่าผ่านสายตาของเด็ก ความทุกข์ของใจแม่ในความขี้เหล้าของพ่อก็เป็นเรื่องตลก ๆ ไปเสีย เพียงแต่มันเป็นตลกร้าย


การเขียนวรรณกรรมเชิงเสียดสีให้มีศิลปะเป็นเรื่องยาก การเล่าผ่านตัวละครเด็กดังเช่นเรื่องนี้ก็เป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่ง ต้องไม่มากเกินไปจนเหมือนเอาคำพูดยัดปากตัวละครเด็กหรือดูเป็นเด็กแก่แดดทั้งต้องไม่เบาหวิวจนไม่เหลือสาระและสไตล์


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซอยแบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ ถึง 72 เรื่อง! ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นนักในวรรณกรรมเยาวชน ทั้งส่วนใหญ่แล้วแต่ละเรื่องมีความยาวเพียงหน้าเดียว! มันชวนให้นึกถึงบทกวีเสียมากกว่าอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม แต่ละเรื่องล้วนเชื่อมโยงกันและวนอยู่รอบ ๆ ผู้เป็นพ่อ


แม้จะจบลงด้วยความตายก่อนวัยอันควรของพ่อเพราะดื่มอย่างหนัก แต่ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือสะเทือนใจมากนักทั้งนี้เพราะเป็นอะไรที่พอจะเดาได้ตั้งแต่ต้น คนที่เอาแต่ดื่มแม้แต่ในตอนที่รักษาคนไข้ หลังเลิกงาน ปล่อยปละละเลยลูกเมีย จะมีจุดจบในวรรณกรรมเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากโศกนาฎกรรมหรือความตาย


ในที่นี้จะหยิบยกมาให้ลองมาอ่านดูสักเรื่องจาก 72 เรื่อง


พ่อบนกองฟืน”


           
คืนหนึ่ง เราได้ยินเสียงดังจากลานบ้านและเสียงคนร้อง

แม่ลุกขึ้น เปิดหน้าต่าง มองลงไปในสวน พ่อนั่นเอง

เหตุเพราะพ่อรู้สึกร้อนมากขณะอยู่บนเตียงจึงตัดสินใจออกไปข้างนอก

พ่อนอนเหยียดอยู่บนกองฟืน แล้วหลับไป

แต่พ่อตื่นขึ้นกลางดึก ขณะขยับตัว ทำให้ท่อนฟืนที่อยู่สูงตกลงมา

ท่อนฟืนกลิ้งหลุน ๆ ใส่พ่อ

พ่อโกรธมาก จึงสบถสาบานเหมือนกัปตันแฮดด็อค แต่หยาบคายกว่า

พ่อทำให้เราตื่นกันทั้งบ้าน พ่อด่าท่อนฟืน สบถหลายครั้งว่าพระเจ้าห่าเหว

พ่อพูดคำหยาบบรรดามีทุกคำที่เราไม่มีสิทธิ์พูด

ยายบอกให้เราสวดมนต์ เพื่อพ่อจะได้ไม่ตกนรก

ยายพูดเสียงดัง เพื่อไม่ให้พวกเราได้ยินคำหยาบจากปากพ่อ

แต่ก็ได้ยินอยู่ดีเพราะพ่อตะโกนเสียงดังกว่า

ผมแน่ใจ มีตอนหนึ่งพ่อด่ายายว่า ‘หุบปากซะยายแก่’.


ลองไปหาอ่านกันดูครับ หนังสือคุณภาพของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ เสียตังค์ร้อยกว่าบาทซื้อหนังสือที่เก็บไว้ได้นาน อ่านแล้วเพลิดเพลินเจริญใจดีกว่าเอาเงินไปดูหนังตลกหรือหนังผีเป็นไหน ๆ.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น…
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols…
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”…
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์…
นาลกะ
“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมายแห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารักเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)
นาลกะ
 จอห์น  โฮลท์  เขียนกาญจนา  ถอดความหนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้ นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน  …
นาลกะ
อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ” “…
นาลกะ
คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามลสายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย…
นาลกะ
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปจนใกล้สิ้นปี สายรุ้งและแม่ผ่านวันเวลาร่วมกันมาอย่างกล้าหาญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางลมพายุ รู้จักการโอนเอนตามแรงลมเมื่อพายุกระหน่ำหนักในขณะที่รากนั้นยึดเกาะดินไว้อย่างมั่นคงสายรุ้งมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีกปี การผ่านวันเวลาไปจนมีอายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปีนั้นอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับแม่ของสายรุ้งแล้ว เธอรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมาย และความสำคัญอย่างยิ่งยวด เธอตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวินาที และรู้ว่ากาลเวลาในหนึ่งวินาทีของเธอกับของคนอื่นนั้นแตกต่างกันด้วยเหตุว่าเธอมีมาตรวัดความยาวนานของเวลาต่างออกไป ส่วนสายรุ้งอาจยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ “…
นาลกะ
สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์ การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป…
นาลกะ
เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมาท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  “วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน” สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่าแล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ…
นาลกะ
วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น…