Skip to main content

 

20080331 ภาพปก หนีให้พ้นไปจากวัยเด็ก
จอห์น  โฮลท์  เขียน
กาญจนา  ถอดความ


หนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  

ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้

นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน    ตลอดจนได้ทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเด็กมาอย่างกว้างขวางยังได้เขียนงานวิชาการเกี่ยวกับเด็กไว้อีกหลายเล่มด้วยกันคือ How Children Fail, How Children Learn, The Underachieving School และบทความที่เกี่ยวกับเด็กที่ตีพิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ อีกมากหลาย

เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องอยู่กับ “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ที่วางอยู่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ ซึ่งได้สร้างกฏเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อกำหนดว่าเด็ก ๆ ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร พวกผู้ใหญ่จะปฏิบัติต่อแกอย่างไร และกล่าวถึงวิธีการที่ไม่ถูกต้องทั้งหลายทั้งปวงที่สังคมกระทำต่อเด็ก ๆ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังบอกไว้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร

คำว่า “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ตามการนำเสนอของผู้เขียนคือ ทัศนคติ ประเพณี กฏเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกของคนในสังคมที่มีต่อเด็ก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกำแพงกั้นขวางชีวิตวัยเยาว์กับชีวิตผู้ใหญ่ออกจากกัน

 

 

“สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” จะกางกั้นเด็กออกจากโลกของผู้ใหญ่ ทำให้ผู้เยาว์พบกับความยากลำบากในการที่จะติดต่อสื่อสารกับสังคมส่วนใหญ่รอบ ๆ ตัวเขา ขาดแม้แต่โอกาสที่จะได้เข้ามาร่วมเล่น ร่วมรับผิดชอบในส่วนที่เด็กก็พอจะทำได้

ทัศนคติและความรู้สึกเช่นนี้ได้ปิดกั้นเด็กให้ห่างออกจากโลกแห่งเสรีภาพ และความเป็นอิสระ ทำให้เด็ก ๆ เป็นอย่างที่เราเห็น ๆ กัน เด็ก ๆ กลายเป็นแหล่งรวมของการจู้จี้จุกจิก ร้องไห้กวนใจ  น่ารำคาญ  เลี้ยงไม่โต  ไม่มีเหตุผล    

ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ผู้ปกครองบางประเภทที่  “ไม่อยากให้ลูกโต” ต้องการยืดวัยเด็กของลูกให้ยาวออกไป ในสายตาของพ่อแม่บางประเภทนั้น “ลูกไม่เคยโต” (เพราะไม่ต้องการให้โต)  จนเด็กทนไม่ได้และต้องรำพันออกมาว่า

“ผมรักพ่อแม่มาก เราเคยอยู่กันอย่างมีความสุข แต่จนเดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ก็ยังอยากให้ผมทำตัวเหมือนเด็กอย่างแต่ก่อน ผมอยากจะทำอะไรของผมเองบ้าง พ่อกับแม่ก็ไม่ชอบ ผมรู้สึกสับสนและรู้สึกผิดมากที่ทำให้ท่านไม่สบายใจ ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี ใจหนึ่งก็ไม่อยากทำให้ท่านผิดหวัง แต่อีกใจหนึ่งผมก็อยากจะมีชีวิตของผมเองบ้าง” (หน้า 21)

พ่อแม่ต้องการให้ชีวิตวัยเด็กยาวนานเกินไป และมักไม่ยอมให้เด็กได้ค่อย ๆ หลุดพ้นไปจากอ้อมอก ให้กลับมามีความสัมพันธ์ในรูปแบใหม่กับพ่อแม่ เมื่อเด็กไม่มีทางเลือกแบบอื่นที่พอจะผูกพันกับพ่อแม่ได้แกก็จะเลือกหนทางที่จะตัดขาดกับพ่อแม่เสียเลย ยิ่งถ้าพ่อแม่พยายามผูกแกให้แน่นเพียงใด แกก็จะยิ่งออกแรงดึงดิ้นให้หลุดแรงขึ้นเพียงนั้น แรงดึงที่รุนแรงนี้อาจจะก่อให้เกิดความร้าวฉานกับทุกฝ่ายและกลายเป็นฝันร้ายของทุกคน

ถ้าไม่มีทางอื่นที่เด็กจะออกจากอ้อมอกของครอบครัวไปได้ แกคงต้องเลือกเอาขั้นแตกหักเป็นทางเลือกสุดท้าย

ในบทที่ว่าด้วย “การเห็นเด็กเป็นตุ๊กตา” ผู้เขียนเสนอให้เลิกมองเด็กเป็น “ตุ๊กตา” เสียทีเพราะการที่มองดูเด็กเป็นตุ๊กตาตัวน้อย ๆ น่ารักน่าเอ็นดูนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริงแต่มันเป็นค่านิยมที่เราใส่เข้าไปเอง ความน่ารัก น่าเอ็นดูนี้มีอยู่ในคนทุกรุ่น ทุกวัย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในเด็ก ๆ เท่านั้นและการที่เราเห็นเด็ก ๆ เป็นของเล่นตัวเล็ก ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะความรู้สึกดังกล่าวทำให้เรารู้สึกว่าเป็นผู้ใหญ่กว่า รู้สึกเหนือกว่าเด็ก ๆ

ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เรามีต่อเด็กนั้นไม่ใช่เพราะคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวเด็กจริง ๆ แต่เป็นเพียงทฤษฎีความเชื่อต่าง  ๆ ที่ผู่ใหญ่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวเด็ก  ๆ มากกว่า คุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่เด็กมี เช่น ความมีชีวิตชีวา ความเฉลียวฉลาด ความสวยมีเสน่ห์ ความอยากรู้อยากเห็น ความหวัง ความไว้วางใจซึ่งดูเหมือนคุณสมบัติที่ดี ๆ ทั้งนั้นแต่ความจริงแล้วเด็ก ๆ ย่อมมีคุณสมบัติที่จะเสียใจ สนุกสนานชื่นชม เด็กก็รู้จักความทุกข์ ความกังวลด้วย

คุณสมบัติที่เด็กมีนี้ไม่ได้เป็นคุณสมบัติเฉพาะเด็กเท่านั้น แต่มันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคน ทุกรุ่น ทุกวัย หากแต่ผู้ใหญ่มักคิดไปว่า นี่คือคุณสมบัติแห่งความเป็นเด็กเท่านั้น เช่น ความอยากรู้อยากเห็น

ที่แย่ที่สุดก็คือผู้ใหญ่ชอบไปสอนเด็ก ๆ ที่กำลังจะเริ่มโตให้ทิ้งหรือซุกซ่อนลักษณะแห่งความเป็นเด็กเอาไว้ สอนให้อายถ้าเขาทำท่าอยากรู้อยากเห็นแบบเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าพวกผู้หญิงได้รับอนุญาตจากสังคมให้แสดงท่าแบบเด็ก ๆ ได้มากกว่าผู้ชาย บางสังคมก็ให้ค่ายกย่องไปเลย เช่น ยิ่งผู้ใหญ่ไร้เดียงสาเหมือนเด็ก ๆ ก็ยิ่งน่ารักมากเท่านั้น!

เด็กไม่ใช่อะไรที่เป็นนามธรรมอย่างที่คิดกัน แต่เป็นรูปธรรมอย่างสามัญที่สุดเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป เด็ก ๆ มักคิดถึงตนเองก่อนคนอื่นและเห็นแก่ตัว ไม่มีความสามารถที่จะเข้าไปนั่งในจิตใจของคนอื่นได้ เอาแต่ใจตนเองและใจร้าย ส่วนการเป็นผู้ใหญ่ไมได้หมายความว่าจะต้องเลวมากขึ้น

เมื่อมีคนถามว่า “มันผิดอย่างไรที่จะมองเด็กอย่างชื่นชม มันดีกว่าที่จะดูเด็กอย่างที่เด็กเป็นอยู่จริง ๆ มิใช่หรือ ?”

คำตอบของผู้เขียนคือ “การที่เรามองใครสักคนดีกว่าที่เขาเป็นอยู่จริงนั้นเป็นการถูกต้องหรือ มันจะไม่อันตรายดอกหรือ” แล้วผู้เขียนก็ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน

สำหรับคนที่สนใจเรื่อง “เด็ก” ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้
                                   

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ