Skip to main content

-1-


ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว


เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!


ฉันคิดว่าผู้ที่เป็นนักเขียน คงจะมองเห็นวัตถุดิบชั้นดีเหลือเฟือสำหรับรังสรรค์วรรณกรรมชิ้นเยี่ยมออกมาสักชิ้นหรือหลาย ๆ ชิ้น ฉันรู้ทีเดียวว่าสภาพเช่นนี้แหละที่จะฟูมฟักให้กำเนิดนักเขียนที่มีคุณภาพและงานเขียนที่มีน้ำเนื้อเปี่ยมสาระออกมา เพียงแต่อย่าเขียนออกมาให้มันเชย นักเขียนควรสรรหาวิธีการใหม่ ๆ ในการบอกเล่า


ชีวิตของคนสนามหลวงคือถ้อยคำที่มีเนื้อหาหนักแน่น น่าสนใจแต่สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ศิลปะจะช่วยยกระดับของถ้อยคำเหล่านี้ให้กลายเป็นวรรณกรรมได้


สายตาแบบคนชั้นกลางคงจะมองเห็นว่าท้องสนามหลวงเป็นสถานที่อันอุดมด้วยความคับแค้น มีชีวิตสีเทากระทั่งหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมายและครรลองคลองธรรมนานาชนิด ดูเหมือนว่าภาพร่างแห่งความล้มเหลวของชนบทและส่วนที่เลวร้ายด้านต่าง ๆ ของสังคมเมืองได้มาบรรจบกันและถูกนำมากองรวมไว้ในที่แห่งนี้


บางทีเมื่อมีโอกาส ฉันก็พูดคุยทำความรู้จักกับผู้คนสนามหลวง ซึ่งการเป็นเรื่องของอัตวิสัยล้วน ๆ ฉันสังเกตทุกอย่างอย่างละเอียดลออไม่ว่าจะเป็น เด็กขายอาหารนกพิราบ, วณิพก, คนไร้บ้าน, เด็กที่ครอบครัวแตกแยก, โสเภณีหลากหลายแบบ, คนพลัดถิ่นผู้ซึ่งเสี่ยงโชคเข้ามาหางานทำในมหานครกรุงเทพ ฯลฯ เกือบทุกครั้งที่ได้แลกเปลี่ยนพูดคุย ฉันมักได้แรงดลใจหลายอย่างรวมทั้งความปรารถนาที่จะเรียงร้อยภาพเหล่านั้นออกมาเป็นตัวอักษร แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือชีวิตคนสนามหลวงทำให้ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง


อย่างไรก็ตาม การทำความรู้จักกับคนสนามหลวงนั้นต้องใช้ความอดทนและพยายามอยู่พอสมควร หลายคนพูดจาหยาบคายแทบทนไม่ได้ทั้งที่ยังเป็นเด็กอยู่ด้วยซ้ำ หนูน้อยใช้คำว่า “เหี้ย” “สัตว์” “ค-ย” อย่างเป็นปกติธรรมชาติ ผู้หญิงบางคนชวนฉันไปนอนด้วย ในขณะที่บางคนมองโลกในแง่ร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ บางคนพูดถึงความจริงง่าย ๆ ทว่าลึกซึ้งซึ่งฉันไม่คิดว่าจะไม่ได้ยินจากที่ไหนนอกจากที่นี่ที่เดียว

ด้วยความที่ฉันผ่านสนามหลวงอยู่ทุกวี่วัน ฉันจึงสามารถสร้างความคุ้นเคยกับคนสนามหลวงได้โดยไม่ยากเย็นนัก มิตรภาพที่ไม่เรียกร้องอะไรสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงเปิดใจรับฟังผู้อื่นบ้าง แล้วความรู้สึกดี ๆ ก็จะตอบกลับมา


-2-


ยามเย็นที่แสงเศร้าแห่งอาทิตย์ทอทาบยอดหญ้า ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงอีกครั้ง แต่บัดนี้สนามหลวงไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว สนามหลวงร้างไร้ผู้คน ไม่มีเด็กมอมแมมเร่งเร้าให้ซื้ออาหารนกพิราบ แทบไม่เหลือร่องรอยฝูงนกพิราบที่ก่อความรำคาญ ไม่มีหมอนวดไร้สังกัด คนเก็บของเก่าขาย คนชินตาเหล่านี้หายไปแล้ว พวกเขาหายไปเพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า ?


ผู้มีอำนาจเห็นตรงกันมานานแล้วว่า ผู้คนที่หากินหลับนอนอยู่ที่ท้องสนามหลวงคือความอัปลักษณ์และด้านมืดของเมือง มีความพยายามหลายต่อหลายครั้งที่จะขจัดภาพลักษณ์ด้านลบของเมืองออกไปแต่ไม่เคยทำได้สำเร็จอย่างแท้จริง เพราะคงไม่มีที่ไหนในประเทศไทยจะเหมือนที่แห่งนี้


สนามหลวงซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดผู้คนชายขอบจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศเข้ามารุ่นแล้วรุ่นเล่า มันสะท้อนให้เห็นถึงความพิกลพิการและความล้มเหลวของประเทศ ความล้มเหลวของผู้มีอำนาจ


ครั้งหนึ่งฉันได้ยินบทสนทนาของคนสนามหลวงซึ่งทำให้ฉันฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ พ่อแม่ลูกครอบครัวหนึ่งยึดสนามหลวงเป็นที่พักอาศัย ขณะที่ฉันเดินเข้าไปใกล้นั้น ฉันได้ยินหนูน้อยร้องขออนุญาตพ่อออกไปวิ่งเล่น ผู้เป็นพ่อตอบว่า

เล่นเสร็จแล้วให้รีบกลับบ้านนะ”


ฉันฉงนใจที่เขาเรียกกองสัมภาระซึ่งมีกระเป๋าเพียงสองใบกับเสื่อปูนอนว่า “บ้าน” ในตอนนั้นฉันมีคำถามในใจว่าลักษณะที่ว่าจะเป็น “บ้าน” ได้อย่างไร อย่างไรก็ตามฉันทำความเข้าใจเรื่องนี้อยู่นาน ฉันคิดว่าคนชั้นกลางไม่อาจเข้าใจนิยาม “บ้าน” ของคนสนามหลวงได้เช่นเดียวกับฉัน


คนชั้นกลางอาจรู้สึกละอายใจกับคนสนามหลวง บางทีมันอาจทำให้พวกคนที่อ่อนไหวรู้สึกแย่กับตนเอง เพราะได้เห็นเด็กเล็ก ๆ ยืนดมกาวในถุงพลาสติก คนกำลังคุ้ยถังขยะเพื่อหาขวดสักใบ หญิงนั่งฉี่กลางสนามโดยไม่สนใจอะไร ผู้ชายเสียสตินอนแก้ผ้า เรื่องแบบนี้เป็นความจริงเกินไป ไม่แปลกอะไรที่ผู้ว่า ฯ กทม. ต้องการกวาดล้างหรือเรียกให้ไพเราะว่าปรับปรุงพื้นที่สนามหลวง


วันนี้ก็เหมือนวันอื่น ๆ ที่ฉันต้องเดินผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพัก แต่ฉันสัมผัสได้ว่าสนามหลวงไม่เหมือนเก่า เมื่อไม่มีคนสนามหลวงมันก็เป็นแค่ทุ่งโล่งไร้ชีวิตชีวาที่มีไว้สำหรับจัดงานประจำปีเท่านั้น.

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…