Skip to main content

อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ

สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้
“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”
คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น
“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ”
“แล้วแม่ผมจะหายเหมือนเดิมหรือเปล่าครับ”
“ขึ้นอยู่กับอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น การดูแลเอาใจใส่ของคนรอบข้าง ความเข้มแข็งของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อม เอ่อ อากาศ อาหารการกินและอะไรต่าง ๆ อีกหลายปัจจัย”
    

“แม่ผมเป็นโรคอะไรครับ”
“อือ คือแม่ของหนูไม่สบายเพราะร่างกายอ่อนแอ ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจนร่างกายต้านทานไม่ไหว”
“ทำไมร่างกายจึงอ่อนแอได้”
“เข้าใจถามแฮะ”
คุณหมอทำท่าครุ่นคิด “ร่ายกายอ่อนแอก็มีหลายสาเหตุ บางคนอาจเป็นเพราะภูมิแพ้ แพ้แดด แพ้อากาศ บางคนนอนน้อยเกินไป บางคนก็ไม่ได้ทานอาหาร เหล่านี้ก็ทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ทั้งนั้น”
“แล้วความอ่อนแอของแม่เกิดจากอะไร ทั้งที่แม่ไม่ได้นอนน้อย แม่ทานอาหารที่อร่อยและมีประโยชน์เสมอ”
“ยังไงดีล่ะ”
หมอตอบ “ขอหมอกลับไปคิดหาสาเหตุก่อนก็แล้วกัน”

สายรุ้งคิดทบทวนถึงคำพูดของคุณหมอ จริง ๆ แล้วคุณหมอไม่เคยพูดยืนยันสักครั้งเดียวเลยว่าแม่จะหายดีเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม สายรุ้งจะพูดกับแม่ว่า “คุณหมอบอกว่าแม่ไม่เป็นอะไรมาก และต้องพักผ่อนเยอะ ๆ แล้วแม่จะหายเหมือนเดิม”
แม่ยิ้มแล้วพูดว่า “พักผ่อนเยอะ ๆ ก็ดีนะ แต่ดูสิ งานการไม่ได้ทำ แล้วยังต้องเป็นภาระให้ลูกอีก แม่รับสภาพตัวเองแบบนี้ไม่ได้เลย”
“ไม่เป็นภาระหรอกครับ”
สายรุ้งโต้ เขาอยากจะบอกว่าเขามีความสุขที่ได้ปรนนิบัติแม่ ได้ทำอะไรตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เขากลัวว่าหากพูดแบบนี้มันจะกลายเป็นการแสดงความอ่อนแอมากเกินไป ดังนั้นเขาจึงเงียบไว้ เขามีหลายอย่างที่อยากบอกแม่ แต่บางเรื่องเขาคิดว่ายังไม่ถึงเวลาและยังไม่พร้อม

“สายรุ้ง ลูกช่วยอะไรแม่หน่อยสิ ช่วยส่งงานให้แม่ส่งหน่อย เอ่อ งานที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แม่เขียนเสร็จตั้งนานแล้วแต่ยังไม่ได้ส่ง” แม่บอกชื่อไฟล์ของงานและอีเมล์แอดเดรสสำหรับที่จะส่งงาน  
สายรุ้งใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้คล่องแคล่วแล้ว แม่ได้สอนให้เขารู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชนิดนี้
แม่เคยบอกว่า “เทคโนโลยีเหมือนดาบสองคมที่มีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้มันอย่างไร”
สายรุ้งเข้าใจคำเปรียบเทียบของแม่และรู้ว่าควรจะใช้คอมพิวเตอร์อย่างไร เขาจัดการทำงานให้แม่อย่างว่องไว  

“แม่มีอะไรก็บอกผมได้ทุกเวลานะครับ ผมสามารถทำงานแทนแม่ได้” สายรุ้งพูดอย่างเชื่อมั่น
แม่หัวเราะกับคำพูดของสายรุ้ง เขาเป็นเพียงเด็กนักเรียนชั้นประถม จะมาทำงานเขียนหนังสือแทนแม่ได้อย่างไร
“ไม่ต้องหรอก สายรุ้งตั้งใจเรียนอย่างเดียวก็พอแล้ว”
“ที่จริงผมก็ชอบเขียนหนังสือเหมือนกัน”
สายรุ้งตอบ “แต่ตอนนี้ผมต้องอ่านก่อน แม่แนะนำให้ผมอ่านบ้างสิครับ”
“ลูกก็อ่านแฮรี่ พ็อตเตอร์ หามรุ่งหามค่ำอยู่แล้วนี่  หนังสือเรียนก็มี จริงสิลูกไม่ไปโรงเรียนหลายวันแล้ว”

สายรุ้งเป็นห่วงแม่จนไม่อยากไปโรงเรียน เขาไม่อยากจากแม่ไปไหน เขากังวลว่าแม่อาจจะมีอาการทรุดหนักตอนที่เขาไม่อยู่
“ความคิดแบบนี้ไม่เข้าท่า” เขาบอกตนเอง
“ลูกไม่ไปโรงเรียนหลายวันแล้ว เดี๋ยวครูกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนจะคิดถึง แม่มีคุณตากับน้ามลคอยดูแลอยู่แล้ว เพื่อนแม่ก็แวะมาเยียมบ่อย ๆ  ลูกไม่ต้องเป็นห่วงแม่มากนักหรอก  แม่รู้แล้วว่าลูกรักแม่”     
“ครับ”

เขาหลับตา ซบหน้าลงบนเตียงใกล้แม่ แม่ลูบศีรษะเขาเบา ๆ ดังที่เคยทำอยู่เสมอตอนที่เขายังเด็กกว่านี้ ความรัก ความอบอุ่นอบอวลอยู่ในห้องนั้น แม้จะมีโรคภัยไข้เจ็บแต่พลังแห่งความห่วงหาอาทรจะบรรเทามันให้เบาบางลงได้

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ