Skip to main content

 

วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 18 .30 . ลูกของแม่ได้กลายเป็นลูกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามนักบวชหญิง ผู้ถือศีล 8
\\/--break--\>

 

ตอนทำพิธี หลวงพ่อถามว่าจะรับศีลข้อที่ไม่ถือเงินด้วยหรือเปล่า ลูกบอกว่า ไม่สามารถถือปฏิบัติในข้อนี้ได้เพราะลูกตั้งใจว่า ถ้าหายจากอาการป่วย ลูกจะเดินทางไปเรียนต่อที่ธิเบต การเดินทางและเล่าเรียนจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงิน การมีเงินไว้ใช้สอยและจัดการด้วยตนเองได้ จึงยังต้องทำ

 

คืนนั้น ในท่ามกลางความสงัดเงียบของวัด แสงไฟสลัวรางจากเปลวเทียนแท่งใหญ่ สาดจับผนังถ้ำเป็นเงาวิบวับ ทุกคนที่นั่งอยู่ในถ้ำ ต่างใจจดจ่อกับภาพตรงหน้า นั่นคือ พ่อ แม่ และญาติมิตรที่เป็นสักขีพยานเพียงไม่กี่คน หนังอยู่แถวด้านหลังลูก ซึ่งนั่งสงบนิ่งในชุดขาว ตรงหน้าของหลวงพ่อ
 

แม่หวั่นใจว่า ลูกจะประคองตัวนั่งตรงๆได้นานสักแค่ไหน เพราะปกติต้องนั่งพิงหมอนนุ่มๆ แต่คืนสำคัญเช่นนี้ แม้แม่จะเป็นห่วงกลัวลูกจะประคองตัวนั่งได้ไม่นาน แต่แม่ก็ภาวนาขอให้ลูกสามารถผ่านพิธีกรรมนี้ให้ได้ด้วยดี จนถึงที่สุด

 

ลูกแม่ ตอนที่ลูกท่องคำขอบวช ทุกคนในที่นั้นยิ่งนิ่งอึ้ง จากภาวะที่นิ่งเงียบอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ความสงบสงัดแผ่ซ่านไปทั่ว เสียงของลูกที่กังวานออกมาจากจิตอันแน่วแน่ มีพลังเต็มเปี่ยม เรียกว่าได้ว่า เป็นน้ำเสียงที่ออกมาจากดวงจิตที่ห้าวหาญ จึงดังกังวานสดใส คล้ายระฆังแก้ว แม้น้ำเสียงจะขาดห้วงกระท่อนกระแท่นไปบ้าง เพราะความเหนื่อย แต่พลังเสียงไม่ได้ลดน้อยลง


ลูกแม่
..แม่ไม่ได้พูดเกินความจริง ทุกคนต่างยืนยันและบอกว่า เหลือเชื่อ...เหลือเชื่อเพราะว่า ไม่มีใครคิดว่าลูกจะนั่งได้ตัวตรงๆพนมมือได้นานขนาดนั้น และที่เหลือเชื่อที่สองคือ หลังจากผ่านพิธีบวชไปแล้ว ทุกคนนั่งสมาธินิ่งเงียบรวมทั้งลูก สิ่งที่แม่กังวลตลอดเวลาคือ กลัวว่าลูกจะทรุดลงเพราะไม่สามารถทรงตัวได้ ทั้งจากความอ่อนเพลีย และความผอมบางของร่างกาย ที่ไม่มีกล้ามเนื้อสะโพกมารองรับการนั่งได้อีกแล้ว แต่ลูกกลับทำในสิ่งที่เกินคาดหมาย ลูกนั่งหลับตานิ่งอยู่ในท่าสมาธิได้นานถึง 45 นาที

 

นั่นคือครั้งแรกและครั้งเดียว ที่ลูกนั่งสมาธิได้นานขนาดนั้น แม้ว่าวันพระต่อมา ที่ลูกจดจ่อเฝ้ารอการมาฟังคำเทศน์และทำสมาธิที่ถ้ำ นับจากวันนั้นแล้ว ลูกได้ใช้เวลานั่งน้อยลง และเพียงสามครั้งเท่านั้น สำหรับวันพระที่ในถ้ำ แล้วลูกก็จากเราไป

 

 

น่าแปลก ที่ลูกไม่ได้เขียนเรื่องการบวชไว้เลยในบันทึก

บันทึกในวันที่ 1 สิงหาคม ลูกเขียนเรื่องราวทั่วๆไป ในเรื่องอาหารการกิน และญาติมิตรที่มาเยี่ยม วันนั้นเป็นคณะลุงยงค์ ป้าจ๋า ลุงขุน ป้าตุ๋ย จากขอนแก่นมาเยี่ยม และแม่สังเกตเห็นช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่ทำพิธีกรรมอยู่ที่ถ้ำ

 

16.34 . อาบน้ำต้มสมุนไพร สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำแล้วรู้สึกสดชื่นชึ้น หอมกลิ่นสมุนไพรตามตัว

.........(ช่วงเวลาที่ขาดหายไปนี้ คือช่วงที่ทำพิธีบวช)...

20.42 . กินยาธิเบต กินน้ำอุ่น

 

วันต่อมาก็เป็นป้าเฒ่า ลุงเปี๊ยก อาปลา ลุงชัย ป้านกยูง ฝากสมุดวาดรูปที่ทำเองมาให้ด้วย สมุดนั้นช่วยกันทำหลายคน มีเพื่อนลุงชัย ที่ชื่อ เมธี เมธา ด้วย

 

ตอนบ่ายๆของทุกวัน หลวงพ่อยังคงมาสอนธรรมะให้ลูกที่กุฎิสม่ำเสมอ และตอนเย็นลูกจะทำวัตรเย็น เจริญเมตตาพรหมวิหาร

 

แม่เริ่มพบว่ามีบางอย่างที่แปลกออกไปจากวันก่อนๆ

เริ่มจาก วันที่ 4 สิงหาคม ในบันทึกนั้นมีเรื่องราวบางอย่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น

 

 

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ประมาณตีสาม เราค่อยๆไต่ขึ้นสู่เขตภูเขาสูง ฉันนึกเดาเอาว่าที่นี่น่าจะเป็นเขตรัฐสลังงอร์ เพราะว่าเผอิญสายตาปะทะกับป้ายที่เขียนว่า เกนติ้ง ไฮแลนด์ มีลูกศรชี้ไปทางซ้ายมือ แต่รถยังมุ่งหน้าตรงไป กระทั่งฉันเห็นเมืองเล็กๆมีไฟฟ้าสว่างไสว สาดจับที่รูปปั้นขององค์พระศิวะสีทองอร่ามความสูงร่วมร้อยเมตร ยืนตระหง่านตรงปากทางขึ้นถ้ำซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยไปกว่ากัน ฉันรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นถ้ำบาตู ฮินดูสถานที่สำคัญของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และถัดมาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีป้ายเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์โอรัง อัสลี…
เงาศิลป์
คุณเคยเดินทางไปในทิศทางที่ไม่คุ้นเคยบ่อยไหม ขณะนั้นหัวใจของคุณเต้นเป็นจังหวะอะไร มันระทึกตื่นเต้นโครมครามปานช้างป่าตกมันหรือเปล่า หรือว่าเรียบเรื่อยราวห่านหงส์กระดิกปลายเท้าแผ่วใต้สายน้ำนิ่ง แล้วเคลื่อนร่างไปข้างหน้าอย่างละมุน แม้แต่ผิวน้ำก็แทบจะไม่กระจาย
เงาศิลป์
กำแพงบางๆ ที่กั้นระหว่างความทุกข์กับความสุข คือความกระหายใคร่รู้ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องหาคำตอบด้วยตนเอง จะเรียกสิ่งนั้นว่า ความท้าทาย การผจญภัย หรือความใฝ่รู้ ก็น่าจะได้ แต่บางทีมันกลับเป็นเครื่องจองจำบีบรัดหัวใจให้อึดอัดจนหายใจไม่ออก และฉันไม่ชอบอารมณ์นั้นเลย ฉันจึงต้องพยายามจะเป็นฝ่ายชนะมันด้วยการออกเดินทางเพื่อไปหาคำตอบ แม้จะอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวก็ตาม  
เงาศิลป์
ป่าในสำนึก คือวิหารอันโอฬาร ที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงทุกขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ มีพลังดึงดูด มีมนต์สะกด มีความยิ่งใหญ่ที่ข่มให้เราตัวเล็กลง ฉันจึงหลงรักการถูกครอบงำนี้ อย่างไม่อยากถอนใจ
เงาศิลป์
ฉันได้ตายลงแล้วจริงๆ เพราะเบื้องหน้าที่มองเห็นคือท่านท้าวพญายมราช "ทำไมเจ้าจึงเลือกประตูบานที่สาม"น้ำเสียงเข้มขรึมไม่ด้อยไปกว่าท่วงท่าอันน่าเกรงขามบนบัลลังค์ ฉันซึ่งนั่งคุกเข่าก้มหน้าหลบสายตา ยิ่งต้องทำตัวห่อลีบ ประหนึ่งหลบหลีกคมหอกดาบที่พุ่งมาพร้อมกับคำถามนั้น
เงาศิลป์
  ลูกรักของแม่ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้จักคำว่าสูญเสียได้อย่างลึกซึ้ง แม้แต่แม่เองก็ยังต้องครุ่นคิดย้อนหลังไปว่า ถ้าสามารถย้อนเวลาไปแก้ไขหรือป้องกันการจากพรากที่แสนจะรันทดนี้ได้ ในตอนไหนได้บ้าง แม่ก็จะทำ ถ้าแม่รู้ว่าลูกจะอยู่กับเราไม่นาน แม่จะไม่ส่งลูกไปอยู่กับคนอื่น แม้คนนั้นจะเป็นปู่กับย่าก็ตาม ถ้าแม่รู้ว่าลูกป่วยหนักและมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก แม่จะไม่เชื่อหมอที่วินิจฉัยในครั้งแรก ถ้ารักษาลูกได้ด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้ลูกหายขาด แม่ก็จะทำ แต่ก็นั่นล่ะ พูดไปเมื่อสายเสียแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ที่จะรำพัน ดังนั้น สิ่งที่พอจะทำได้ คือ แม่อยากบอกกับคนที่เป็นพ่อแม่ทุกคนว่า…
เงาศิลป์
รุ่งขึ้นอีกวัน หลังจากเก็บอัฐิของลูกแล้ว ความเศร้าโศกค่อยๆ ถอยห่างไปจากเรา ในตอนสาย พ่อได้ประกาศเจตนารมย์ให้แก่ญาติมิตรทั้งหลายทราบว่า พ่อจะตั้ง “กองบุญแม่ชีป่าน” ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านธรรมะ แก่เยาวชนตามเจตจำนงค์ของลูกที่เคยบอกกับใครๆไว้ว่า อยากทำงานสืบต่อพระพุทธศาสนา แม่เชื่อว่า ในขณะที่พ่อกล่าวคำขอบคุณทุกๆคนที่นั่งอยู่ในถ้ำ ตอนนั้น ลูกได้รับรู้ด้วยเป็นแน่แท้
เงาศิลป์
    ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที
เงาศิลป์
แม่ไล่สายตามองหาคำว่ามะเร็ง ในหน้ากระดาษบันทึกของลูก ตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย ในจำนวนกว่า 300 หน้า ไม่มีสักคำเดียวที่ลูกจะเขียนถึงมัน  
เงาศิลป์
  อาจเป็นเพราะว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าความสงบนิ่งคืออาการปกติที่ลูกเป็นอยู่ แน่ล่ะ นิสัยของลูกไม่เหมือนเด็กอื่นๆมาตั้งแต่เล็กๆแล้ว ลูกเป็นเด็กที่มีสมาธิมาตั้งแต่ตัวน้อยๆ บางครั้งแม่เคยเห็นลูกนั่งเล่นตุ๊กตาบาร์บี้อยู่คนเดียว ทั้งแต่งตัวและหวีผมให้มันครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย ก็นั่นคือกิจกรรมของเด็ก ภายในใจอาจมีจินตนาการมากมาย แต่ขณะที่เป็นคนป่วย การใช้เวลานิ่งเงียบอยู่กับตัวเองของลูก คือการเขียนบันทึกและอ่านหนังสือ ความนิ่งเงียบที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกดูคล้ายผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งพ่อกับแม่ก็ยังเกรงใจ ไม่กล้ารบกวน  
เงาศิลป์
  วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 18 .30 น. ลูกของแม่ได้กลายเป็นลูกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามนักบวชหญิง ผู้ถือศีล 8
เงาศิลป์
  ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างสงบเงียบ เพราะกิจกรรมหลักของลูกคือกินยา กินอาหาร อ่านหนังสือ สลับเขียนบันทึก ส่วนพ่อกับแม่ นอกจากจะต้องทำอาหาร ตรวจอาหาร นวด พอกยา อาบน้ำให้ อุ้มลูกไปห้องน้ำ อุ้มมานอกห้อง ระยะหลังยังต้องอุ้มลงมาอาบแดดยามเช้าๆ ที่แคร่ไม้ไผ่หน้ากุฏิ และต้องผลัดเปลี่ยนกันลงไปข้างล่างเพื่อทำธุระส่วนตัว กับซื้อหาอาหาร