Skip to main content

 

อาจเป็นเพราะว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าความสงบนิ่งคืออาการปกติที่ลูกเป็นอยู่ แน่ล่ะ นิสัยของลูกไม่เหมือนเด็กอื่นๆมาตั้งแต่เล็กๆแล้ว ลูกเป็นเด็กที่มีสมาธิมาตั้งแต่ตัวน้อยๆ บางครั้งแม่เคยเห็นลูกนั่งเล่นตุ๊กตาบาร์บี้อยู่คนเดียว ทั้งแต่งตัวและหวีผมให้มันครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย ก็นั่นคือกิจกรรมของเด็ก ภายในใจอาจมีจินตนาการมากมาย แต่ขณะที่เป็นคนป่วย การใช้เวลานิ่งเงียบอยู่กับตัวเองของลูก คือการเขียนบันทึกและอ่านหนังสือ ความนิ่งเงียบที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกดูคล้ายผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งพ่อกับแม่ก็ยังเกรงใจ ไม่กล้ารบกวน

 

สิ่งที่ลูกเป็น สิ่งที่ลูกทำ อาจไม่น่าแปลกใจนัก เพราะเราต่างก็รู้ว่าลูกพยายามสงบนิ่งอยู่กับการทำสมาธิตามคำสอนของหลวงพ่อ แต่มีบางอย่างที่แม่อ่านพบในบันทึก และคิดว่าลูกเองก็คงประหลาดใจเช่นกัน ว่าสิ่งนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว และในเวลาต่อมา ลูกสามารถใช้จิตดวงนั้นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเยียวยาตนเองตามที่หลวงพ่อสอนไว้

 

การเฝ้าดูจิต จนกระทั่งจิตเฝ้าดูกายทำงานอย่างต่อเนื่องตามธรรมชาติของมัน น่าจะเป็นอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ลูกทิ้งไว้ให้เรารู้คือ การบันทึกในรายละเอียดการพิจารณากายแต่ละขณะ หลังจากที่มีการพอกยาไปแล้ว

 

วันที่ 4 สิงหาคม

บันทึกเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ มีเรื่องราวซ้ำเดิม คือ อาหารการกิน กินยา และอาบน้ำสมุนไพร มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นคือ ทำยาพอก สูตรของแม่ชีถนอมศรี


 

10.45 . บูชาพระรัตนตรัย ก่อนจะเริ่มทำยา (ยาพอก) แม่ชีถนอมศรี บอกว่าสรรพคุณยาทำให้เจ้ากรรมนายเวรกลัว แล้วออกไป (สรรพคุณนี้เป็นความลับระหว่างลูกกับแม่ชี)

11.56 . พอกท้อง พอกหัว

12.30 . พอกท้อง พอกหัวเสร็จ

เย็นทั่วท้องและหัว

หายใจสบายขึ้น

เย็นไปถึงตับ

เย็นไปถึงสมอง

รู้สึกเหมือนมีอะไรมาดูดที่ตับ

โล่ง เบาสบาย

12.41 . กินน้ำต้มสมุนไพร หญ้าคมปาว

ตอนพอกยา ตั้งจิตอธิษฐานเปิดร่างกาย อุทิศบุญ และอโหสิกรรมให้เจ้ากรรมนายเวร

กำหนดลมหายใจเข้าออก ท่อง พุท-โธ

 

ในบันทึกของวันนี้ นอกเหนือจากกินอาหาร กินยา นวด อาบแดด ยังมีการบันทึกว่า เปิดร่างกายให้หมอเทวดามารักษา อุทิศบุญ และภาวนาพุท-โธ ซึ่งกลายเป็นกิจกรรมหลัก ที่ลูกทำอยู่ตลอดเวลา

 

16.24 . พอกท้อง และหัว ด้วยรากพรหมราชา

แผ่เมตตาจิต

กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

ท่อง พุท-โธ

16.53 . พอกท้องและหัวเสร็จ

หายใจโล่ง สบาย

เย็นหัวและท้อง

ขาสั่น

รู้สึกมีอะไรมาดูดที่ท้อง

สมองปลอดโปร่ง

 

จากนั้นเป็นบันทึกถึงกิจกรรมเดิมๆ รวมทั้งสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเปิดร่างกาย ภาวนาพุท-โธ

 

วันที่ 5 สิงหาคม

ลูกตื่นมาทำวัตรเช้า ตั้งแต่ 05.40 . และพอกท้องพอกหัว เวลา 06.33 . เสร็จในเวลา 06.51 .

ในบันทึกเริ่มมีความละเอียดของอาการทางกาย ที่เกิดจากการพอกยามากขึ้น

 

06.51 . พอกท้องและหัวเสร็จ

เย็นท้อง และหัว

เย็นไปถึงกระดูก

รู้สึกมีอะไรมาดูดที่ท้อง

หายใจโล่งสบายท้อง

เย็นทั่วหัว

เย็นไปถึงหน้าผาก

โล่ง เบาสมอง

 

ช่วงเที่ยง มีการพอกยาที่ท้องและหัวเหมือนเดิม ในบันทึก มีรายละเอียดของอาการทางกายเพิ่มมากขึ้น

 

12.50 . พอกหัวและท้องเสร็จ

เย็นทั่วหัวและท้อง

เย็นถึงสะดือ

เย็นถึงกระดูกซี่โครง

เบาท้อง รู้สึกโล่ง

หายใจสะดวกขึ้น

รู้สึกมีอะไรมาดูดที่ท้อง

เบาหัว โล่งสมอง

เย็นถึงหน้าผาก

เย็นถึงตา

เบา สบายทั้งตัว

 

อีกทั้งอาการของร่างกายภายนอก ลูกยังเขียนว่า มือทั้งสองข้าง สีแดงลดลง เป็นสีปกติมากขึ้น

บันทึกในวันต่อๆมา แสดงให้เห็นถึงการทำงานของจิตที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ แม่ดูจากบันทึกที่ว่าอวัยวะต่างๆตอบสนองการพอกยาอย่างไรบ้าง น่าจะหมายถึงว่า ในทุกขณะจิต ลูกได้เฝ้าดูการทำงานของมันตลอดเวลา

 

วันที่ 6 สิงหาคม

17.10 . พอกท้องและหัวเสร็จ

เย็นทั่วท้องและหัว

หายใจสะดวกมากขึ้น

โล่ง เบาท้อง

เย็นที่ตับมากขึ้น

ดูดทั่วท้อง

ดูดถึงปอด

ดูดถึงคอ

เย็นถึงต้นขา

เย็นถึงกระดูกสันหลัง

เย็นถึงกระดูกซี่โครง

โล่งเบาหัวสมอง

เย็นถึงหน้าผาก

เย็นถึงตา

เย็นถึงจมูก

เบา สบายกายขึ้นมามาก

รู้สึกว่าก้อนจะอ่อน

 

เป็นไปไม่ได้เลย ที่แม่จะมองข้ามการทำงานของจิตลูกในแต่ละวัน นั่นเป็นเพราะว่า บันทึกในแต่ละวันต่อจากนี้ คือความละเอียดอ่อน และวันเวลาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเป็นนักบวชของลูก กับการเยียวยาความป่วยไข้ของตนเอง

 

วันที่ 7 สิงหาคม

07.00. พอกท้องและหัวเสร็จ

เย็นทั่วท้อง

เบา โล่งท้อง

หายใจสะดวก โล่ง

เปล่งเสียงได้ดีขึ้น

เย็นถึงกระดูกสันหลัง

เย็นถึงกระดูกซี่โครง

เย็นถึงต้นขา

เย็นถึงต้นแขน เล็กน้อย

เย็นถึงตับ มากขึ้น

ดูดถึงปอด

ดูดถึงคอแรงขึ้น

ดูดถึงตับแรงขึ้น

รู้สึกว่าท้องอ่อนมากขึ้น

เบา โล่งหัวสมอง

เย็นถึงหน้าผาก

เย็นถึงตา

เย็นถึงหู

เย็นถึงริมฝีปาก

เย็นที่กลางกระหม่อมมากขึ้น

โล่ง เบาสบายตัว

 

ลูกแม่ บันทึกแต่ละวัน แม่เห็นถึงการดูกายที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ หลังการพอกยา ด้านภายนอกร่างกาย ลูกบอกว่าสีแดงที่ฝ่ามือลดลง เสียงที่พูดมีพลังมากขึ้น และการหายใจก็ช้าลง

 

วันที่ 8 สิงหาคม

13.28 . พอกท้องและหัวเสร็จ

เย็นทั่วหัวและท้องมากขึ้น

เย็นลึกลงไปทั่วหัว และท้องมากขึ้น

เบา โล่งท้องมากขึ้น

เย็นทั่วท้องมากขึ้น

เย็นถึงตับมากขึ้น

เย็นถึงปอดมากขึ้น

เย็นถึงคอมากขึ้น

เย็นถึงต้นขามากขึ้น

เย็นถึงต้นแขนมากขึ้น

เย็นถึงลำคอมากขึ้น

เย็นถึงต้นคอมากขึ้น

ตับทำงานดีขึ้น

ปอดทำงานดีขึ้น

ปอดขยายใหญ่ขึ้น

หายใจสะดวกขึ้น

เริ่มหายใจปกติ ไม่หายใจเร็ว

ดูดถึงตับมากขึ้น

ดูดถึงท้องแรงขึ้น

ดูดถึงปอดแรงขึ้น

ดูดถึงคอแรงขึ้น

โล่ง เบาสมองมากขึ้น

เย็นทั่วหัวสมองมากขึ้น

เย็นถึงตามากขึ้น

เย็นถึงหน้าผากมากขึ้น

เย็นถึงจมูกมากขึ้น

เย็นถึงริมฝีปากมากขึ้น

เย็นถึงปากมากขึ้น

เย็นลึกไปถึงรูหูมากขึ้น

เย็นถึงหูมากขึ้น

เย็นถึงแก้มมากขึ้น

ดูดที่หัวแรงขึ้น

เย็นถึงกลางกระหม่อมมากขึ้น

ดูดถึงตา

เบา สบายกายมากขึ้น

มีกำลังมากขึ้น

มีพลังแขนมากขึ้น

มีพลังขามากขึ้น

มีจุดแดงที่มือลดลง

ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

ทุกระบบเริ่มทำงานได้ดี

 

ทุกๆวันมีการพอกยา 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีพัฒนาการของร่างกายที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากการเฝ้าสังเกตโดยใช้สมาธิจิต ในบันทึกมีเรื่องราวเดิมๆ และชื่อคนที่มาเยี่ยมทุกคน

 

วันที่ 9 สิงหาคม

ลูกพอกยา 3 ครั้ง เช้าตรู่ เที่ยง และเย็น วันนี้ลูกได้ไปสวดมนต์ นั่งสมาธิที่ถ้ำด้วย

18.47 . พี่เลย์อุ้มไปที่ถ้ำ

18.56 . เริ่มสวดมนต์ ทำวัตรเย็น ออกเสียงได้ดี นั่งสวดมนต์

19.10 . นั่งสมาธิ ตั้งจิตอธิษฐาน อุทิศบุญ อโหสิกรรมให้เจ้ากรรมนายเวร แผ่เมตตา กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ท่อง พุท-โธ

19.48 . นั่งสมาธิเสร็จ (ใช้เวลา 38 นาที)

20.01 . พี่เลย์อุ้มกลับมากุฎิ

20.18 . พ่อกลับมา ได้ของมาเยอะ พ่อบอกว่า ยอดรัก สลักใจ เสียแล้ว เสียอย่างสงบ

 

บันทึกวันต่อๆมา บอกถึงอาการของร่างกายที่ปรับสภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่จิตเฝ้าสังเกตอาการได้ลึก กระทั่งเห็นก้อนในตับอ่อนที่นิ่มมากขึ้นและเลื่อนต่ำลงเรื่อยๆ ในทุกวัน

 

เย็นถึง ตับ ปอด คอ ก้อน(เนื้อ)

เย็นถึง ต้นคอ ลำคอ สะบัก

เย็นถึง แขน ต้นแขน ศอก

เย็นถึง มือ ฝ่ามือ นิ้วมือ

เย็นถึง ขา ต้นขา เท้า

เย็นถึง ฝ่าเท้า นิ้วเท้า ก้น

เย็นถึง ก้นกบ กระดูกสันหลัง

เย็นถึง หลัง ซี่โครง ไหล่

เย็นถึง กระดูกแขน

เย็นมากขึ้น เย็นลึกขึ้น

ดูดถึง ตับ ปอด คอ ก้อน(เนื้อ)

ดูดถึง ต้นคอ ลำคอ สะบัก

ดูดถึง แขน ต้นแขน ศอก

ดูดถึง มือ ฝ่ามือ นิ้วมือ

ดูดถึง ขา ต้นขา เท้า

ดูดถึง ฝ่าเท้า นิ้วเท้า ก้นกบ

ดูดถึง ก้น กระดูกซี่โครง

ดูดถึง หลัง สันหลัง ไหล่

ดูดถึง กระดูกแขน

ดูดแรงขึ้น ดูดลึกขึ้น

ตับทำงานดีขึ้น

ปอดทำงานดีขึ้น

ปอดขยายใหญ่ขึ้น

หายใจสะดวกขึ้น

หายใจเป็นจังหวะ

หายใจลึกขึ้น

เปล่งเสียงได้ชัด

ตับ ก้อน ก้อนนิ่มขึ้น

ก้อนเลื่อนลงต่ำ

โล่ง เบาสมอง

 

เย็นถึง กระหม่อม หน้าผาก ตา

เย็นถึง จมูก รูจมูก ปาก ริมฝีปาก

เย็นถึง แก้ม คาง ท้ายทอย

เย็นถึง หู รูหู กระโหลก หลอดลม

เย็นมากขึ้น เย็นลึกขึ้น

 

ดูดถึง กระหม่อม หน้าผาก ตา

ดูดถึง จมูก รูจมูก ปาก ริมฝีปาก

ดูดถึง แก้ม คาง ท้ายทอย

ดูดถึง หู รูหู กระโหลก หลอดลม

ดูดมากขึ้น ดูดลึกขึ้น

 

โล่ง เบาสบาย

ทุกระบบเริ่มทำงานดีขึ้น

ผายลมบ่อยขึ้น

ฉี่ ถ่ายปกติ

ถ่ายง่าย เป็นก้อน

อาหารถูกดูด นำไปใช้มากขึ้น

 

มือ เท้า ศอก เข่า อุ่นขึ้น

มือมีจุดแดงลดลง

มีกล้ามเนื้อ

มีเนื้อ มีหนัง

มีกำลังมากขึ้น

มีกำลังแขน กำลังขามากขึ้น

อารมณ์ดี กินได้

ไม่เหนื่อย โล่ง เบาสบาย มีกำลัง

 

วันที่ 16 สิงหาคม

พ่ออุ้มลูกไปที่ถ้ำ ระหว่างที่รอหลวงพ่อและคนอื่นๆ ลูกยังต้องนอนรอ และลุกนั่งเมื่อการสวดมนต์เริ่มขึ้น และลูกยังนั่งสมาธิ ใช้เวลานาน 30 นาที

ลูกจบบันทึกของคืนนั้นว่า

พระจันทร์เต็มดวง สวยมาก

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ประมาณตีสาม เราค่อยๆไต่ขึ้นสู่เขตภูเขาสูง ฉันนึกเดาเอาว่าที่นี่น่าจะเป็นเขตรัฐสลังงอร์ เพราะว่าเผอิญสายตาปะทะกับป้ายที่เขียนว่า เกนติ้ง ไฮแลนด์ มีลูกศรชี้ไปทางซ้ายมือ แต่รถยังมุ่งหน้าตรงไป กระทั่งฉันเห็นเมืองเล็กๆมีไฟฟ้าสว่างไสว สาดจับที่รูปปั้นขององค์พระศิวะสีทองอร่ามความสูงร่วมร้อยเมตร ยืนตระหง่านตรงปากทางขึ้นถ้ำซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยไปกว่ากัน ฉันรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นถ้ำบาตู ฮินดูสถานที่สำคัญของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และถัดมาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีป้ายเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์โอรัง อัสลี…
เงาศิลป์
คุณเคยเดินทางไปในทิศทางที่ไม่คุ้นเคยบ่อยไหม ขณะนั้นหัวใจของคุณเต้นเป็นจังหวะอะไร มันระทึกตื่นเต้นโครมครามปานช้างป่าตกมันหรือเปล่า หรือว่าเรียบเรื่อยราวห่านหงส์กระดิกปลายเท้าแผ่วใต้สายน้ำนิ่ง แล้วเคลื่อนร่างไปข้างหน้าอย่างละมุน แม้แต่ผิวน้ำก็แทบจะไม่กระจาย
เงาศิลป์
กำแพงบางๆ ที่กั้นระหว่างความทุกข์กับความสุข คือความกระหายใคร่รู้ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องหาคำตอบด้วยตนเอง จะเรียกสิ่งนั้นว่า ความท้าทาย การผจญภัย หรือความใฝ่รู้ ก็น่าจะได้ แต่บางทีมันกลับเป็นเครื่องจองจำบีบรัดหัวใจให้อึดอัดจนหายใจไม่ออก และฉันไม่ชอบอารมณ์นั้นเลย ฉันจึงต้องพยายามจะเป็นฝ่ายชนะมันด้วยการออกเดินทางเพื่อไปหาคำตอบ แม้จะอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวก็ตาม  
เงาศิลป์
ป่าในสำนึก คือวิหารอันโอฬาร ที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงทุกขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ มีพลังดึงดูด มีมนต์สะกด มีความยิ่งใหญ่ที่ข่มให้เราตัวเล็กลง ฉันจึงหลงรักการถูกครอบงำนี้ อย่างไม่อยากถอนใจ
เงาศิลป์
ฉันได้ตายลงแล้วจริงๆ เพราะเบื้องหน้าที่มองเห็นคือท่านท้าวพญายมราช "ทำไมเจ้าจึงเลือกประตูบานที่สาม"น้ำเสียงเข้มขรึมไม่ด้อยไปกว่าท่วงท่าอันน่าเกรงขามบนบัลลังค์ ฉันซึ่งนั่งคุกเข่าก้มหน้าหลบสายตา ยิ่งต้องทำตัวห่อลีบ ประหนึ่งหลบหลีกคมหอกดาบที่พุ่งมาพร้อมกับคำถามนั้น
เงาศิลป์
  ลูกรักของแม่ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้จักคำว่าสูญเสียได้อย่างลึกซึ้ง แม้แต่แม่เองก็ยังต้องครุ่นคิดย้อนหลังไปว่า ถ้าสามารถย้อนเวลาไปแก้ไขหรือป้องกันการจากพรากที่แสนจะรันทดนี้ได้ ในตอนไหนได้บ้าง แม่ก็จะทำ ถ้าแม่รู้ว่าลูกจะอยู่กับเราไม่นาน แม่จะไม่ส่งลูกไปอยู่กับคนอื่น แม้คนนั้นจะเป็นปู่กับย่าก็ตาม ถ้าแม่รู้ว่าลูกป่วยหนักและมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก แม่จะไม่เชื่อหมอที่วินิจฉัยในครั้งแรก ถ้ารักษาลูกได้ด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้ลูกหายขาด แม่ก็จะทำ แต่ก็นั่นล่ะ พูดไปเมื่อสายเสียแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ที่จะรำพัน ดังนั้น สิ่งที่พอจะทำได้ คือ แม่อยากบอกกับคนที่เป็นพ่อแม่ทุกคนว่า…
เงาศิลป์
รุ่งขึ้นอีกวัน หลังจากเก็บอัฐิของลูกแล้ว ความเศร้าโศกค่อยๆ ถอยห่างไปจากเรา ในตอนสาย พ่อได้ประกาศเจตนารมย์ให้แก่ญาติมิตรทั้งหลายทราบว่า พ่อจะตั้ง “กองบุญแม่ชีป่าน” ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านธรรมะ แก่เยาวชนตามเจตจำนงค์ของลูกที่เคยบอกกับใครๆไว้ว่า อยากทำงานสืบต่อพระพุทธศาสนา แม่เชื่อว่า ในขณะที่พ่อกล่าวคำขอบคุณทุกๆคนที่นั่งอยู่ในถ้ำ ตอนนั้น ลูกได้รับรู้ด้วยเป็นแน่แท้
เงาศิลป์
    ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที
เงาศิลป์
แม่ไล่สายตามองหาคำว่ามะเร็ง ในหน้ากระดาษบันทึกของลูก ตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย ในจำนวนกว่า 300 หน้า ไม่มีสักคำเดียวที่ลูกจะเขียนถึงมัน  
เงาศิลป์
  อาจเป็นเพราะว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าความสงบนิ่งคืออาการปกติที่ลูกเป็นอยู่ แน่ล่ะ นิสัยของลูกไม่เหมือนเด็กอื่นๆมาตั้งแต่เล็กๆแล้ว ลูกเป็นเด็กที่มีสมาธิมาตั้งแต่ตัวน้อยๆ บางครั้งแม่เคยเห็นลูกนั่งเล่นตุ๊กตาบาร์บี้อยู่คนเดียว ทั้งแต่งตัวและหวีผมให้มันครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย ก็นั่นคือกิจกรรมของเด็ก ภายในใจอาจมีจินตนาการมากมาย แต่ขณะที่เป็นคนป่วย การใช้เวลานิ่งเงียบอยู่กับตัวเองของลูก คือการเขียนบันทึกและอ่านหนังสือ ความนิ่งเงียบที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกดูคล้ายผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งพ่อกับแม่ก็ยังเกรงใจ ไม่กล้ารบกวน  
เงาศิลป์
  วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 18 .30 น. ลูกของแม่ได้กลายเป็นลูกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามนักบวชหญิง ผู้ถือศีล 8
เงาศิลป์
  ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างสงบเงียบ เพราะกิจกรรมหลักของลูกคือกินยา กินอาหาร อ่านหนังสือ สลับเขียนบันทึก ส่วนพ่อกับแม่ นอกจากจะต้องทำอาหาร ตรวจอาหาร นวด พอกยา อาบน้ำให้ อุ้มลูกไปห้องน้ำ อุ้มมานอกห้อง ระยะหลังยังต้องอุ้มลงมาอาบแดดยามเช้าๆ ที่แคร่ไม้ไผ่หน้ากุฏิ และต้องผลัดเปลี่ยนกันลงไปข้างล่างเพื่อทำธุระส่วนตัว กับซื้อหาอาหาร