Skip to main content

20080130 ภาพประกอบคอลัมน์มองไปไม่เห็นทาง

ต้นไม้ไม่ต้องการคำภาวนา มันต้องการน้ำ”

อาการห่อเหี่ยวของเรียวใบยังคงอยู่ บางต้นปลิดใบสีน้ำตาลร่วงพราวเกลื่อนพื้น
........แม้แต่ความรัก ก็ยากจะเยียวยา.....ไม่ว่าฉันจะพูดปลอบประโลมอย่างไร มันก็ไม่อาจฟื้นคืนมาสู่ความสดใสได้อีกแล้ว

ฉันสิ ที่ต้องคร่ำครวญและพาลโมโหตัวเองที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกชาวสวน แต่ไม่เคยมีวิชาทำสวนติดตัวสักกระผีกริ้น สิ้นลมหายใจพ่อ เหมือนสิ้นคู่มือชีวิต เรื่องของต้นไม้และเม็ดดินกลายเป็นความลี้ลับ ที่ต้องใช้เวลา และสติปัญญา มาถอดรัสลับ ซึ่งไม่รู้ว่าชาตินี้ฉันจะทำสำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องดินฟ้าอากาศ ที่สัมพันธ์กับอารมณ์ของต้นไม้แต่ละชนิด

แม้เวลานี้ ยังได้ชื่อว่าเป็น “ฤดูหนาว” แต่ยามหลังเที่ยงวันไปแล้ว บรรยากาศร้อนอบอ้าวราวกับอยู่ในเตาอบ  มหึมา ต้นไม้ของฉันจึงต้องการน้ำ  น้ำ และน้ำเท่านั้น

สายลมหนาวแผ่วผ่านมาแล้ว ในยามเย็น คล้ายปลอบประโลมเรียวใบที่หรุบหรู่ให้อดทน

แน่จริงก็ปล่อยให้แผ่นดินเลือกสรรพันธุ์ไม้ แล้วปล่อยให้โลกนี้ฟูมฟักหน่ออ่อนด้วยวิถีทางของมันเองสิ”  เสียงหนึ่งตะโกนก้องท้าทาย ล่องลอยมากับสายลมเอื่อย
แล้วฉันจะได้อะไร จากการเป็นผู้เฝ้าดู”  ใจที่กระด้างโต้ตอบ
ก็ได้ชีวิต ได้ความสุขตามที่อยากได้ไงเล่า” เสียงนั้นยังท้าทาย

ฉันนิ่งเงียบ ครุ่นคิด จริงหรือ การที่ไม่จัดการสิ่งใดๆ คือการเข้าถึงชีวิตและความสุข  ก็ฉันต้องการปลูกต้นไม้เพื่อโลกนี้

อะฮ้า อะฮ้า อาจหาญจริงนะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า “ เสียงนั้นหัวเราะเยาะ จนฉันรู้สึกตัวลีบเล็กลงฉับพลัน รู้สึกคล้ายมีบางอย่างจ้องมองมาจากเบื้องไกล ด้วยความเวทนาสงสาร จึงเหลียวหลัง เงยหน้ามองหาที่มาแห่งดวงตาลึกลับนั่น  ฉันเห็นพระจันทร์ค่อนดวง ลอยเด่นเหนือแนวไม้ป่าทางทิศตะวันออก ทั้งที่พระอาทิตย์ยังคงระบายริ้วสีส้มเหนือฟากฟ้า ยังส่องแสงเจิดจ้าอาบแนวไพร และยังส่งประกายอันอบอุ่นอ่อนโยนมาถึงฉันด้วย

ยามนั้นฉันรู้สึกว่าความสุข มันช่างเป็นเสี้ยวเวลาที่สั้นแสนสั้น จากนั้นทุกอย่างก็เปลี่ยนผ่านไปสู่ค่ำคืนที่เหน็บหนาวอ้างว้าง  เพราะโลกนี้ถูกจับจองแล้วด้วยจันทราที่มีแสงกระด้างชืดชา เป็นนัยยะที่ถากถางหยามหยันชีวิตคนอย่างฉัน

ฉันไม่ชอบพระจันทร์” ฉันพึมพำอยู่ข้างใน ตั้งใจให้อีกเสียงหนึ่งนั้นรับรู้  
สูดลมหายใจเข้าอย่างล้ำลึก แล้วค่อยๆผ่อนออกช้าๆ จนเห็นความร้าวรวดที่ดิ้นรนอยู่ภายใน และยอมจำนนต่อความเยือกเย็นที่ส่งผ่านมา  ยอมรับว่าแสงจันทร์ คล้ายสายตาของครูบาอาจารย์ที่เคารพรักยิ่งที่คอยติดตาม ทวงถามว่า

เจ้ากำลังทำอะไรอยู่ ”
คำตอบจึงไม่เคยส่งผ่านไปที่ใด นอกจากย้อนคืนสู่หัวใจตัวเอง
ฉันเพียงต้องการมีชีวิตอยู่ ในท่ามกลางสรรพสิ่งที่ควรมีอยู่” เป็นคำตอบที่มีแรงปรารถนาหนุนเนื่องอยู่เต็มเปี่ยม

ดังนั้น เพื่อการมีชีวิตอยู่ ต้นไม้จึงจำเป็นต้องมีน้ำ และฉันจำเป็นต้อง “ภาวนา”

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ประมาณตีสาม เราค่อยๆไต่ขึ้นสู่เขตภูเขาสูง ฉันนึกเดาเอาว่าที่นี่น่าจะเป็นเขตรัฐสลังงอร์ เพราะว่าเผอิญสายตาปะทะกับป้ายที่เขียนว่า เกนติ้ง ไฮแลนด์ มีลูกศรชี้ไปทางซ้ายมือ แต่รถยังมุ่งหน้าตรงไป กระทั่งฉันเห็นเมืองเล็กๆมีไฟฟ้าสว่างไสว สาดจับที่รูปปั้นขององค์พระศิวะสีทองอร่ามความสูงร่วมร้อยเมตร ยืนตระหง่านตรงปากทางขึ้นถ้ำซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยไปกว่ากัน ฉันรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นถ้ำบาตู ฮินดูสถานที่สำคัญของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และถัดมาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีป้ายเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์โอรัง อัสลี…
เงาศิลป์
คุณเคยเดินทางไปในทิศทางที่ไม่คุ้นเคยบ่อยไหม ขณะนั้นหัวใจของคุณเต้นเป็นจังหวะอะไร มันระทึกตื่นเต้นโครมครามปานช้างป่าตกมันหรือเปล่า หรือว่าเรียบเรื่อยราวห่านหงส์กระดิกปลายเท้าแผ่วใต้สายน้ำนิ่ง แล้วเคลื่อนร่างไปข้างหน้าอย่างละมุน แม้แต่ผิวน้ำก็แทบจะไม่กระจาย
เงาศิลป์
กำแพงบางๆ ที่กั้นระหว่างความทุกข์กับความสุข คือความกระหายใคร่รู้ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องหาคำตอบด้วยตนเอง จะเรียกสิ่งนั้นว่า ความท้าทาย การผจญภัย หรือความใฝ่รู้ ก็น่าจะได้ แต่บางทีมันกลับเป็นเครื่องจองจำบีบรัดหัวใจให้อึดอัดจนหายใจไม่ออก และฉันไม่ชอบอารมณ์นั้นเลย ฉันจึงต้องพยายามจะเป็นฝ่ายชนะมันด้วยการออกเดินทางเพื่อไปหาคำตอบ แม้จะอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวก็ตาม  
เงาศิลป์
ป่าในสำนึก คือวิหารอันโอฬาร ที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงทุกขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ มีพลังดึงดูด มีมนต์สะกด มีความยิ่งใหญ่ที่ข่มให้เราตัวเล็กลง ฉันจึงหลงรักการถูกครอบงำนี้ อย่างไม่อยากถอนใจ
เงาศิลป์
ฉันได้ตายลงแล้วจริงๆ เพราะเบื้องหน้าที่มองเห็นคือท่านท้าวพญายมราช "ทำไมเจ้าจึงเลือกประตูบานที่สาม"น้ำเสียงเข้มขรึมไม่ด้อยไปกว่าท่วงท่าอันน่าเกรงขามบนบัลลังค์ ฉันซึ่งนั่งคุกเข่าก้มหน้าหลบสายตา ยิ่งต้องทำตัวห่อลีบ ประหนึ่งหลบหลีกคมหอกดาบที่พุ่งมาพร้อมกับคำถามนั้น
เงาศิลป์
  ลูกรักของแม่ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้จักคำว่าสูญเสียได้อย่างลึกซึ้ง แม้แต่แม่เองก็ยังต้องครุ่นคิดย้อนหลังไปว่า ถ้าสามารถย้อนเวลาไปแก้ไขหรือป้องกันการจากพรากที่แสนจะรันทดนี้ได้ ในตอนไหนได้บ้าง แม่ก็จะทำ ถ้าแม่รู้ว่าลูกจะอยู่กับเราไม่นาน แม่จะไม่ส่งลูกไปอยู่กับคนอื่น แม้คนนั้นจะเป็นปู่กับย่าก็ตาม ถ้าแม่รู้ว่าลูกป่วยหนักและมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก แม่จะไม่เชื่อหมอที่วินิจฉัยในครั้งแรก ถ้ารักษาลูกได้ด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้ลูกหายขาด แม่ก็จะทำ แต่ก็นั่นล่ะ พูดไปเมื่อสายเสียแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ที่จะรำพัน ดังนั้น สิ่งที่พอจะทำได้ คือ แม่อยากบอกกับคนที่เป็นพ่อแม่ทุกคนว่า…
เงาศิลป์
รุ่งขึ้นอีกวัน หลังจากเก็บอัฐิของลูกแล้ว ความเศร้าโศกค่อยๆ ถอยห่างไปจากเรา ในตอนสาย พ่อได้ประกาศเจตนารมย์ให้แก่ญาติมิตรทั้งหลายทราบว่า พ่อจะตั้ง “กองบุญแม่ชีป่าน” ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านธรรมะ แก่เยาวชนตามเจตจำนงค์ของลูกที่เคยบอกกับใครๆไว้ว่า อยากทำงานสืบต่อพระพุทธศาสนา แม่เชื่อว่า ในขณะที่พ่อกล่าวคำขอบคุณทุกๆคนที่นั่งอยู่ในถ้ำ ตอนนั้น ลูกได้รับรู้ด้วยเป็นแน่แท้
เงาศิลป์
    ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที
เงาศิลป์
แม่ไล่สายตามองหาคำว่ามะเร็ง ในหน้ากระดาษบันทึกของลูก ตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย ในจำนวนกว่า 300 หน้า ไม่มีสักคำเดียวที่ลูกจะเขียนถึงมัน  
เงาศิลป์
  อาจเป็นเพราะว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าความสงบนิ่งคืออาการปกติที่ลูกเป็นอยู่ แน่ล่ะ นิสัยของลูกไม่เหมือนเด็กอื่นๆมาตั้งแต่เล็กๆแล้ว ลูกเป็นเด็กที่มีสมาธิมาตั้งแต่ตัวน้อยๆ บางครั้งแม่เคยเห็นลูกนั่งเล่นตุ๊กตาบาร์บี้อยู่คนเดียว ทั้งแต่งตัวและหวีผมให้มันครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย ก็นั่นคือกิจกรรมของเด็ก ภายในใจอาจมีจินตนาการมากมาย แต่ขณะที่เป็นคนป่วย การใช้เวลานิ่งเงียบอยู่กับตัวเองของลูก คือการเขียนบันทึกและอ่านหนังสือ ความนิ่งเงียบที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกดูคล้ายผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งพ่อกับแม่ก็ยังเกรงใจ ไม่กล้ารบกวน  
เงาศิลป์
  วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 18 .30 น. ลูกของแม่ได้กลายเป็นลูกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามนักบวชหญิง ผู้ถือศีล 8
เงาศิลป์
  ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างสงบเงียบ เพราะกิจกรรมหลักของลูกคือกินยา กินอาหาร อ่านหนังสือ สลับเขียนบันทึก ส่วนพ่อกับแม่ นอกจากจะต้องทำอาหาร ตรวจอาหาร นวด พอกยา อาบน้ำให้ อุ้มลูกไปห้องน้ำ อุ้มมานอกห้อง ระยะหลังยังต้องอุ้มลงมาอาบแดดยามเช้าๆ ที่แคร่ไม้ไผ่หน้ากุฏิ และต้องผลัดเปลี่ยนกันลงไปข้างล่างเพื่อทำธุระส่วนตัว กับซื้อหาอาหาร