Skip to main content

20080304 ภาพพระอาทิตย์ที่ขอบฟ้า

การใช้ชีวิตในบ้านไร่ชายป่า บางครั้งทำให้ฉันถามตัวเองว่า การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นความฟุ่มเฟือยของชีวิตด้วยหรือเปล่า แต่แล้วก็มีบางเรื่องราวมาคลี่คลายเป็นคำตอบให้ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับคำถามใดๆ ทั้งสิ้น

.......

สวัสดีค่ะ
พี่ชื่ออะไรเหรอคะ
หนูชื่อทรายนะคะ
บังเอิญเข้ามาอ่านเจอพอดี
พี่ทำงานกับป๊าหนูด้วยเหรอค่ะ (ยงยุทธ ตรีนุชกร)
แต่พ.ศ.31 หนูเพิ่งจะเกิดเอง
คงไม่รูจักพี่แน่เลย!!
แล้วจะเข้ามาอ่านใหม่นะค่ะ
อ่านแล้วชอบมากๆ เลย
เพราะหนูเรียนแพทย์แผนไทยอยู่ ก็เลยรู้สึกดีที่มีคนชอบการรักษาแบบแผนไทยเหมือนกัน
ขอให้พี่หายเร็วๆ นะคะ
แล้วก็ช่วยเป็นกำลังใจให้ป๊าด้วยนะคะ

……………………….

ข้างบนนั้นคือคำทักทายจากน้องทรายในเอ็นทรีเก่า ที่ฉันเขียนเกี่ยวกับความพิการของตัวเอง และน้องทรายคนนี้ ฉันยังจำเธอได้ ในวัยที่เธอเป็นเด็กหญิงตัวน้อยๆ ร่างบอบบาง เดินตามหลังพี่ชายร่างอวบอ้วนที่ชื่อไผ่

พี่ชายของเธอ ตั้งแต่เล็กแต่น้อย ที่คนเป็นพ่อมักจะหอบหิ้วเข้าไปในหมู่บ้านยามทำงาน และมีฉันเป็นพี่เลี้ยงจำเป็น ซึ่งไม่ยากเย็นอะไรเลยเพราะเขาเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายที่สุด แต่เมื่อถึงคราวมีน้องทราย ฉันก็ลาออกจากงานนั้นแล้ว

เส้นทางแห่งมิตรภาพ บางครั้งทอดยาวออกไปไกลลิบสุดสายตาคาดเดา แต่บางครั้งมันวกเวียนวกวนหวนกลับมาราวกับเส้นทางแห่งเขาวงกต

เพียงคำทักทายของคนที่เคยรู้จัก ที่บอกว่ายังจำฉันได้ หรืออาจไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่ได้รู้จักฉันแล้วในประชาไท เพียงเท่านี้ ก็นับว่าเป็นพลังชีวิตที่มีค่า คล้ายๆสายฝนในวันร้อนแล้ง หรือคล้ายแสงอาทิตย์แรกในวันฟ้าหม่นเพราะฝนพรำ  ซึ่งฉันได้สัมผัสความสุขเช่นนั้นในการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ

การพบเจอคนรู้จักในการสื่อสารยุคไอทีก็ไม่แตกต่างกัน ฉันรู้สึกยินดีที่มิตรภาพหวนคืนมาอย่างง่ายดาย ท่ามกลางความรู้สึกยุ่งยากในการใช้เครื่องมือสื่อสารเมื่ออยู่กลางป่าดง ที่ฉันมักจะรู้สึกว่าการทำงานผ่านเครื่องมือสมัยใหม่เป็นความรุงรังของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามขุดดินฟันหญ้ากลางป่าเปลี่ยว จึงเคยคิดอยากจะเลิกใช้งานมันมาหลายหนแล้ว หรือบางครั้งมีการสื่อสารจากคนแปลกหน้า ที่ทำให้เกิดอาการคลื่นเหียนรังเกียจในความหยาบโลน ไร้ยางอาย จนไม่อยากจะพบเจอ

แต่ด้วยคำทักทายของน้องทราย ที่ดึงใจฉันให้กลับมามองดูมันใหม่อย่างยุติธรรม

“ขอให้พี่หายเร็วๆนะคะ แล้วก็ช่วยเป็นกำลังใจให้ป๊าด้วยนะคะ”

ขอบคุณน้องทราย ที่ทำให้น้าได้พบกับคุณค่าของจิตใจที่ยังคงอยู่อย่างครบถ้วน ในการสื่อสารผ่านเครื่องมือที่ยุ่งยากและชวนกังขาในบางที

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ฉันสังเกตดูรอบๆ บ้านหลังน้อยของลุงลี แทบไม่มีพืชผักที่พอจะเก็บกินได้ สงสัยอยู่ครามครันว่า ทำไมไม่ปลูก ในเมื่อแกเป็นคนเก่าแก่และเป็นคนเดียวที่อยู่ในป่านี้มานานถึง 20 กว่าปี ตอนที่ฉันได้หน่อกล้วยหอมพันธุ์ดีมาจากหนองคาย แกก็ยังอุตส่าห์เอาปุ๋ยขี้ควายมาให้ตั้งสามกระสอบ แถมยังสอนวิธีปลูกให้อีกด้วย เมื่อเห็นฉันลงมือขุดหลุมห่างๆ เพราะคิดว่าในอนาคตมันต้องแตกหน่อมาชนกันเอง แกกลับบอกว่าให้ชิดๆกันหน่อยจะดีกว่า เป็นแรงดึงดูดให้กล้วยโตเร็วขึ้น ฉันก็เอาตามนั้น ก้นหลุมกว้างลึกรองด้วยปุ๋ยมูลสัตว์สลับหญ้าแห้ง ดูเป็นวิชาการมากๆ ตามคำแนะนำของแกถามแกว่าจะเอาไปปลูกเองสักต้นไหม…
เงาศิลป์
ฟืนท่อนใหญ่ถูกซุนเพิ่มเข้าไปอีกท่อน มันเป็นไม้ส้มเสี้ยวที่ถูกโค่นล้มลงเพราะขวางทางรถยนต์คันใหญ่ คนตัดบอกว่าไม้ชนิดนี้ยากที่จะแปรรูปเพราะเนื้อไม้บิดเป็นเกลียว ฉันจึงขอให้เขาตัดเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อจะใช้ประโยชน์ตามแต่จะคิดได้ แต่พอลมหนาวทายทักแข็งขันมากขึ้น ฉันต้องตัดใจตัวเองจนเลือดซิบ ขณะที่ก้มลงลากมันมาใส่ไฟอย่างยากเย็น เพราะทั้งหนักและเสียดาย และรู้สึกผิดต่อตัวเองหมาน้อยสองตัวต้องการความอบอุ่นตลอดคืน ฉันเองก็ต้องการ แม้จะมีผ้าห่มแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะกันหนาวได้ การใช้ฟืนดุ้นเล็กๆ คือภาระที่ต้องลุกขึ้นมาใส่ไฟเกือบตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนั้นฉันคงไม่มีเรี่ยวแรงเหลือไว้ทำงานในไร่ยามกลางวันอีกเป็นแน่…
เงาศิลป์
สวัสดีค่ะ ขาดหายไปนานสำหรับเรื่องของชะตากรรมคนขาหัก ขอสารภาพว่าที่ทิ้งช่วงห่างหายไปนานขนาดนี้ เพราะว่าขาดความเชื่อมั่นที่จะเขียน (อย่างรุนแรง) เนื่องจากรู้สึกว่าท่านผู้อ่านประชาไท ค่อนข้างมีภูมิปัญญาสูง แต่คนเขียนปัญญาต่ำ ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะจบเรื่องนี้อย่างไรดี ในท่ามกลางสภาพปัญหาการดิ้นรนรักษาตนเองและบางครั้งได้รับการดูแลอย่างไม่คาดคิด ค่ะ...ตอนนี้ขอสรุปรวบรัดเล่าให้ฟังว่า เกิดอะไรขึ้นในที่สุด.....หลายครั้งที่ได้พบและเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจากผู้รู้ แต่ครั้งที่เป็นประสบการณ์ตรงที่สุดก็คือ การฝังเข็มจากพี่อ้อย (กัลยา ใหญ่ประสาน) รุ่นพี่ที่เคารพรัก เจ้าของร้านอาหารสุขภาพโขง-สาละวิน…
เงาศิลป์
วันเวลาที่ผ่านไป ฉันค่อยๆ คลายความกังวล แม้ว่าความรู้สึกเจ็บปวดจะมาอยู่เป็นเพื่อนเกือบตลอดเวลา แต่วิชาเกลือจิ้มเกลือ เจ็บแก้เจ็บ ยังใช้ได้เสมอ (โปรดใช้วิจารณญาณในการนำไปทดลอง)และแล้วเหมือนกรรมบันดาล (อีกแล้ว) วันหนึ่ง ฉันได้เรียนรู้ว่า คนเราได้ใช้ศักยภาพของตัวเองเพียงแค่ 60 – 70 % เท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่เคยรู้จักมัน และปล่อยให้มายาคติบางอย่างครอบงำ โดยเฉพาะคำว่า “อย่าทำ” .... “ไม่ควรทำ”.....หรือ “ไม่เหมาะสมที่จะทำ” และอะไรอีกหลายความคิดที่ปิดกั้นโอกาสของตัวเองกลางเดือนตุลาคมของปีหนึ่ง ฉันเร่ร่อนลงเรือไปที่หาดไร่เล ตอนนั้นแทบว่าไม่มีคนไทยรู้จักหาดไร่เล นอกจากฮิปปี้และนักปีนผา (…
เงาศิลป์
การขึ้นภูกระดึงอย่างไร้ความพร้อม กลับทำให้ฉันได้สิ่งดีๆมากมายคุณนิมิตร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้เขียนจดหมายน้อยอย่างไม่เป็นทางการ ให้ฉันถือไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่บนภู ที่เป็นเพื่อนกัน ในจดหมายเขียนว่า “ช่วยดูแลคนที่ถือจดหมายฉบับนี้ด้วย ตามสมควร” ที่อาคารลงทะเบียนบนภู ฉันยื่นจดหมายให้กับเจ้าหน้าที่ คะเนจากหน้าตา เขาคนนั้นคงมีอายุพอๆกับฉัน เมื่ออ่านจบเขามองหน้าฉันอย่างเฉยเมย บอกว่าบ้านพักเต็มหมดแล้ว เหลือแต่เต๊นท์  ฉันบอกว่าฉันตั้งใจจะพักเต๊นท์อยู่แล้ว“มากันกี่คน” น้ำเสียงห้วนๆ  ไม่รู้ทำไม“คุณเห็นกี่คนล่ะคะ คุณเห็นแค่ไหนก็แค่นั้นล่ะค่ะ” ฉันตอบกึ่งยียวน…
เงาศิลป์
เช้าวันนี้….ใบไม้สีเหลืองเกลื่อนพื้น ดูสวยงาม แต่ไม่นานมันจะถูกเรียกว่า “ขยะ” ด้วยเรียวไม้กวาดก้านมะพร้าว ค่อยๆลากให้มันมากองรวมกัน ทีละนิดรอยทรายเป็นเส้นลดเลี้ยวตามแนวกวาด ลีลาคล้ายบทกวีร้อยบท ที่มีเนื้อหาเดียว คือความสงบทุกเช้า ฉันจะอยู่กับมัน ทั้งไม้กวาด พื้นทรายและใบไม้ร่วงสายตาจับอยู่ที่พื้น..แต่ด้วยหางตา เห็นบางอย่างเคลื่อนไหวอยู่บนถนนหน้าบ้าน  จากที่ยืนอยู่ ระยะทางราวร้อยก้าว เงาร่างเดินโยกเยก บดบังด้วยแนวพุ่มไม้เตี้ยๆ จึงมุ่งมองอย่างตั้งใจ เห็นใครบางคนเคลื่อนไหวอย่างช้าๆจึงเดินออกไปดูร่างล่ำสันค่อยๆ เคลื่อนไปอย่างลำบาก เขาใช้ไม้ยาวๆ ค้ำถ่อ ประคองร่างกายให้ขาตวัดสลับกันไป …
เงาศิลป์
“ฉันจะต้องไม่พิการ”ฉันคำรามหนักแน่นอยู่ในใจ ในคืนวันหนึ่ง เมื่อนอนอยู่ในท่าทีเอาขาขวาพาดไว้บนกำแพง เพื่อดัดขาไล่ความเมื่อยล้า จากงานหนักจากวันนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้เข่าของฉันเจ็บน้อยลง ฉันจะทำทันที เริ่มจากการค้นหาวิธีแก้ไข ควบคู่ไปกับการยอมรับความเจ็บปวดของขาข้างขวาว่าเป็นคู่แท้ของชีวิตปีแรก ฉันเดินกะเผลกแบบคนขาเป๋ เพราะขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย และยังไม่มีพละกำลัง เวลาเดินจึงเห็นว่าตัวเอียงมาก เป็นที่เวทนาตัวเองยามคนจ้องมอง ทำให้ฉันเข้าใจหัวอกคนพิการมากขึ้นแต่แล้ววันหนึ่ง เหมือนพระมาโปรด ฉันกลับมากรุงเทพฯ แล้วไปเยี่ยมเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัย ขณะนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล มองคนอื่นๆเล่นกิฬา อย่างเสียดาย…