Skip to main content

เป็น เดือนที่ 5 แล้วสำหรับการใช้ชีวิตในเรือนจำแห่งนี้ของผม หลังจากที่ครบ 4 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้นับเป็นสัปดาห์ที่สำคัญที่สุดสัปดาห์หนึ่งของการเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ต้องขังเสื้อแดง เพราะรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำรับปากเป็นมั่นเป็นเหมาะที่จะผลักดัน ร่าง พรบ. นิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องขังเสื้อแดง

ความจริง แล้วจะบอกว่าร่าง พรบ. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องขังเสื้อแดงอย่างเดียวก็ไม่ถูกต้อง เพราะการนิรโทษกรรมนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่าย เพียงแต่ภาพที่ออกมาเป็นผู้ต้องขังเสื้อแดงได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะผู้ต้องขังเสื้อแดงกว่า 30 ชีวิตยังคงถูกคุมขังโดยปราศจากอิสรภาพ มีเพียงผู้ต้องขังเสื้อเหลืองเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ถูกคุมขัง นอกนั้นก็ได้รับการประกันตัวจากศาล

เอกชัย หงส์กังวาน

ผมเองก็ไม่เข้าใจหลัก เกณฑ์ในการประกันตัวของศาล ผู้ต้องขังเสื้อแดงจำนวนมากที่ยังไม่ถูกตัดสิน หรือถูกตัดสินด้วยโทษจำคุกเพียง 1-2 ปีกลับไม่ได้รับการประกันตัว ขณะที่แกนนำเสื้อเหลืองบางคนถูกพิพากษาจำคุกหลายสิบปีกลับได้รับการประกัน ตัวด้วยกลักทรัพย์เพียงหลักแสนบาทเท่านั้น

ความไม่ชัดเจนใน การได้รับการประกันตัวของผู้ต้องขังทางการเมืองเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ ความร้าวฉานของการเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยเยียวยาบาดแผลทางการเมืองในครั้งนี้คือ “การนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่าย”

หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการ นิรโทษกรรมครั้งนี้เป็นการล้างผิดให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีความต่าง ๆ แต่เท่าที่ผมได้อ่านเนื้อหาในร่าง พรบ. ฉบับนี้ก็ไม่เห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะได้ประโยชน์อะไรเลย แม้แต่ฝ่ายที่กล่าวหาก็ไม่สามารถชี้แจงหลักฐานได้อย่างชัดเจน ผมจึงมองได้อย่างเดียวว่ากลุ่มคนที่ออกมาค้านเพียงไม่กี่คนวิตกจริตเกินเหตุ หรือไม่ก็เป็นพวกที่ต้องการหาผลประโยชน์จากความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น

บาง ฝ่ายคัดค้านการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิดทางอาญาโดยเฉพาะคดีทำลาย ทรัพย์สิน ครอบครองอาวุธ และอื่น ๆ โดยอ้างว่าเป็นการทำให้กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนกลุ่มนี้ต้องทำความเข้าใจด้วยการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

ฝ่าย แรก...เป็นฝ่ายที่เห็น “ทรัพย์สิน” มีค่ามากกว่า “ชีวิต” คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง – สูง ที่มักมองชนชั้นล่างเป็นคนโง่ เป็นคนชั้นต่ำ หรือคนไม่มีการศึกษา คนกลุ่มนี้เป็นคน “เห็นแก่ตัว” ที่คิดว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่เป็นประโยชน์กับประเทศเท่านั้น

ฝ่าย ที่สอง...เป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมจากความขัดแย้งทางการเมือง บางคนต้องสูญเสียทรัพย์สินจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว บางคนต้องสูญเสียคนรัก บางคนต้องสูญเสียอวัยวะจนต้องกลายเป็นคนพิการ คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่น่าเห็นใจไม่น้อยไปกว่าผู้ต้องขังทางการเมือง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเยียวยากลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการเยียวยาด้วยเงิน เพราะมองไม่เห็นวิธีอื่นใดที่ดีกว่า

ผมเองก็รู้สึกเห็นใจคน กลุ่มหลังนี้ ผมเคยพูดคุยกับคุณพะเยา อัคฮาด มารดาของ นส. กมลเกด อัคฮาด พยาบาลซึ่งเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามจากความขัดแย้งทางการเมือง เธอเองรู้สึกโกรธแค้นทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังการเสียชีวิตของ ลูกสาวของเธอ และเชื่อมั่นว่ากระบวนการทางยุติธรรมเท่านั้นที่จะสามารถสะสางความแค้นของ เธอได้

ความคิดของเธออาจถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องในมุมมองของหลายคน ผมเองก็ไม่อาจจะระบุได้ว่าความคิดของใครผิดหรือถูก แต่ผมเห็นว่าหากการนิรโทษกรรมมีเงื่อนไขหลายอย่างจนทำให้ผู้ต้องขังทางการ เมืองส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ก็สู้ไม่นิรโทษกรรมเสียดีกว่า

สุด ท้ายนี้ผมขอเสนอความเห็นส่วนตัวที่อจจะถูกใจ หรือไม่ถูกใจหลาย ๆ คน ผมเห็นว่าการนิรโทษกรรมควรเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ดีกว่า การจะไล่เบี้ยควรจะไล่เบี้ยเฉพาะบุคคลระดับ “หัวหน้า” มากกว่า “ลูกน้อง” เพราะลูกน้องคือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น ถ้าพวกเขาไม่ทำพวกเขาก็จะมีความผิดฐาน “ผิดวินัย” แต่พอพวกเขาทำกลับต้องมีความผิดทางกฎหมาย แล้วแบบนี้ต่อไปจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านี้ปฏิบัติตัวอย่างไร...?

เอกชัย หงส์กังวาน
ผู้ต้องขัง มาตรา 112
วันที่ 4 สิงหาคม 2556

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

 

อ้างอิง: หนุ่มเรดนนท์ Fanpage

บล็อกของ หนุ่มเรดนนท์

หนุ่มเรดนนท์
วันนี้เมื่อ 7 ปีก่อน เป็นวันที่ คสช.
หนุ่มเรดนนท์
ช่วงนี้ ได้เห็นเพื่อนๆ หลายคน ได้โพสต์เรื่องราว เกี่ยวกับ "ตูน - ธเนตร อนันตวงษ์" ผู้ต้องหารายล่าสุด ที่โดน คสช.
หนุ่มเรดนนท์
หลังจากข้ามพ้นดินแดนบ้านเกิดมาแล้ว พวกเราก็ใช้ชีวิตในแบบนักท่องเที่ยวทั่วไป เราเช่าห้องพักเล็กๆ ราคาถูก อยู่กันชั่วคราว เพื่อตั้งหลักที่จะคิดทำอะไรกันต่อ ตอนนั้น ทุกคนต่างมี
หนุ่มเรดนนท์
"ก๊อกๆๆ ก๊อกๆๆ" ผมหันหน้ามองไปที่ประตูห้องที่ผมพักอยู่ พลางคิดในใจว่า "อะไรมันจะมาเร็วกันขนาดนั้นนะ" ผมถอนหายใจยาวๆ อีกครั้ง แล้วเดินไปตามเสียงนั้น ค่อยๆ เปิดประตูออก ด
หนุ่มเรดนนท์
 
หนุ่มเรดนนท์
“ถ้าผมรู้ว่าอากงจะจากไปเร็วอย่างนี้ ผมคงจะดูแลอากงให้ดีกว่านี้” ผมยังจำได้ไม่มีวันลืม เพราะคำพูดนี้ ผมได้พูดกับทนายอานนท์ นำภ
หนุ่มเรดนนท์
นับจากที่ผมได้เข้ามอบตัวต่อศาลอาญารัชดา เพื่อต้องการที่จะต่อสู้คดีตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2555 จนถึงตอนนี้ก็ย่างเข้าเดือนที่ 11 และผมก็ได้ขอยื่นประกันตัวเพื่อสู้คดีตามสิทธิขั้นพื้นฐานรวมแล้วก็ 6 ครั้ง และได้รับการ
หนุ่มเรดนนท์
เป็น เดือนที่ 5 แล้วสำหรับการใช้ชีวิตในเรือนจำแห่งนี้ของผม หลังจากที่ครบ 4 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้นับเป็นสัปดาห์ที่สำคัญที่สุดสัปดาห์หนึ่งของการเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ต้องขังเสื้อแดง เพราะรัฐบาลที่มีพรรคเพ
หนุ่มเรดนนท์
ผมเขียนเรื่องนี้มาตั้งแต่อยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของเพื่อนในเรือนจำคนหนึ่ง ซึ่งถูกพี่ชายแท้ๆ แจ้งจับในคดีร้ายแรงคดีหนึ่ง บทความนี้ จะเกี่ยวข้องกับบทคว