Skip to main content

เมื่อนานมาแล้ว จริงๆ ก็ไม่นานมากนัก เมื่อสมัยที่ยังทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รุ่นพี่ที่ทำงานที่มติชนได้ติดต่อให้ดิฉันศึกษาคำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาในพจานานุกรมฉบับมติชน โครงการเค้าคือจะศึกษาว่ามีคำจากภาษาอื่นๆ อะไรบ้างในพจนานุกรมมติชน แต่ในภายหลังโครงการล้มเลิกไปด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบได้

แต่ดิฉันทำงานเสร็จแล้ว และเก็บไฟล์ไว้มาหลายปี คิดว่าเผยแพร่ให้สาธารณชนก็คงจะพอมีประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจ

คำในภาษาไทยหลายๆ คำที่คล้ายกับคำในภาษามลายู, อินโดนีเซีย และ ชวา มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตอยู่ไม่น้อย แต่บังเอิญดิฉันไม่มีพจนานุกรมภาษาไทยติดตัวมาเลยไม่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด

ผู้ใดสนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มได้ แต่เท่าที่เห็นจะทำให้ทราบว่ามีคำในภาษาไทยหลายคำที่เหมือนกับภาษาของเพื่อนบ้านเรา และความหมายก็ใกล้เคียงหรือบางคำแปลเหมือนกันเลย

วันนี้ขอเสนอ ก ก่อนนะคะ จะทยอยนำเสนอจนถึง ฮ ค่ะ

คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน

 

คำศัพท์

เลขหน้า

ตัวเขียนในภาษามลายู/

อินโดนีเซีย*

ตัวเขียนในภาษาชวา

คำอ่าน

ความหมาย

- -

 

 

 

 

 

กระซิบ

20

kesik, kesik-kesik

 

เกอ-ซิก, เกอ-ซิก-เกอ-ซิก

เสียงดังเบาๆ, เสียงกระซิบ

 

กระดังงาไทย

21

kenanga

 

เกอ-นา-งา

ดอกกระดังงา, ต้นไม้ที่มีดอกเล็กสีเขียวและสีเหลือง มีกลิ่นหอม

กระยาหงัน

37

kayangan         

 

กา-ยา-งัน

ที่อยู่ของพระเจ้าในศาสนาฮินดู, ท้องฟ้า, สวรรค์, แดนสุขาวดี

กราม

47

geraham          

 

-รา-ฮัม

กราม,ฟันกราม

กริช

47

keris

 

เกอ-ริส

กริช

กรุ๊งกริ๊ง

49

kerincing

 

เกอ-ริน-จิง

เสียงติ๊งๆ, ทำเสียงโลหะกระทบกัน,ทำให้เกิดเสียงสัมผัส,ทำเสียงกรุ๊งกริ๊ง, เหล็กสามเหลี่ยมสำหรับเคาะจังหวะในดนตรี

 

กอและ

64

kolek, kolek-kolek

 

คอ-และกฺ, คอ-และกฺ-คอ-และกฺ

เรือบดเล็ก (ของเรือใหญ่)

กะลาสี

70

kelasi

 

เคอ-ลา-ซี

กะลาสีเรือ,กะลาสีเรือหรือทหารเรือที่ไม่มีความชำนาญทางเรือเพียงพอ

กะหรี่

71

kari

 

คา-รี

แกงกะหรี่เนื้อ

กา

76

gagak

 

-ะกฺ

อีกา

กากี

77

khaki

 

กา-กี

กากี, สีน้ำตาลเหลือง, ผ้าสีกากี, ผ้า, กางเกงสีกากี, เสื้อสีกากี

การะบุหนิง

81

 

karabuning

กา-รา-บู-นิง

ดอกแก้ว

กาล

81

kala

 

กา-ลา

เวลา, ช่วงเวลา, กะเวลา, โอกาส, สมัย, ยุค, กาล, ฤดูกาล, ครั้ง, ช่วง, อายุ, วันตาย, ศักราช, ระยะเวลาหนึ่งวงจรสมบูรณ์, ชั่วโมงเรียน, ยุคปัจจุบัน, อายุ, วัยชรา, ยุค,สมัย, นิติภาวะ

กาลัด

81

 

kalak

กา-ลัก

ดอกสายหยุด

กาหลา

82

 

kalaka

กา-ลา-กา

ชนิดต้นไม้ประเภทล้มลุก มีสีขาว

กำพง

84

kampung

 

กัม-ปุง

ตำบล, หมู่บ้าน

กิดาหยัน

87

 

kidayan

กี-ดา-ยัน

มหาดเล็ก

กุดัง

93

gudang

 

กู-ดัง

โรงเก็บของ

กุญแจ

92

Kunci

 

กุน-จี

กุญแจ,กุญแจไขปัญหา,คู่มือ,คำไขปัญหา,คู่มือ,คำไขปัญหา,อุปกรณ์,หัวใจ   

กุลี

94

kuli

 

คู-ลี

กุลี, กรรมกรผู้ใช้แรงหนัก, กรรมกร, คนงาน, ผู้ทำงานที่ใช้แรงกาย, ผู้ทำงานหนัก, ผู้กระทำด้วยความลำบาก, พนักงานถือกระเป๋า, พนักงานทำงานเบ็ดเตล็ด, คนเฝ้าประตู, ยาม

กุสุมา

95

kesuma

 

เคอ-ซู-มา

ดอกไม้

กุหนุง

95

gunung

 

กู-นุง

ภูเขา

กู

95

aku

 

อา-กู

ฉัน, (สรรพนามบุรุษที่ 1)

กูรหม่า

96

kurkuma

 

กูรฺ-กู-มา

ขมิ้น, ลำต้นใต้ดินของพืช Curcuma longa มีกลิ่นหอมใช้เป็นเครื่องเทศสีย้อมและยา, พืชไม้ดอกสีม่วง, ดอกของพืชดังกล่าว, หญ้าฝรั่น, สีเหลืองจีวรพระ

เกน

97

 

ken

เก็น

ผู้หญิง

แก่

103

gae, gaek

 

-แอ, -แอ็ก

แก่, เก่าแก่,โบราณ

โกกิลา

107

 

kukila

กู-กี-ลา

นกทั่วๆ ไป

 

 

 

 

 

 


 


* เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกันเนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ