Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย


ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก


ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่


พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน


--------------------------------------------------



วันหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ผู้เขียนตั้งชื่อออนไลน์ใน MSN ว่า พลังงานเป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านจริงๆ ด้วย” ที่ตั้งชื่อเป็นข้อความนี้ก็เพราะว่าวันนั้นผู้เขียนไปฟังการบรรยายเรื่อง “ธรรมยาตราฝ่าทางปืน” ที่จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากฟังการบรรยายแล้วผู้เขียนก็ทราบว่า รัฐบาลไทยคงจะไม่เข้าไปมีบทบาทเข้าไปกดดันรัฐบาลเพื่อนบ้านหรือดำเนินนโยบายใดๆ อย่างจริงจังในเรื่องการเมืองภายในพม่า แม้จะเป็นไปได้ว่ามีการปราบปราม ม๊อบพระสงฆ์ด้วยความรุนแรงก็ตาม และเหตุที่รัฐบาลไทยอันเป็น “เมืองพุทธ” ไม่ดำเนินการใดๆ อย่างจริงจังนั้นก็เพราะว่าไทยเองต้องพึ่งพิงเพื่อนบ้าน และมีผลประโยชน์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมหาศาล จนไม่กล้าที่จะไป “ขัดใจ” รัฐบาลเพื่อนบ้านนั่นเอง


ทุกวันนี้ไทยมีมูลค่าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก เช่นกรณีของลาว ในปี 2549 นั้น ไทยเคยเข้าไปลงทุนถึง 655 ล้านเหรียญสหรัฐi สำหรับในพม่า ในปี 2550 ไทยเข้าไปลงทุนถึง 7,392 ล้านเหรียญสหรัฐii แค่โครงการเขื่อนท่าซางในพม่าอย่างเดียวก็มีมูลค่าถึง 6,000 ล้านเหรียญแล้ว


เห็นหรือไม่ว่า ไทยเข้าไปลงทุนในเพื่อนบ้านเยอะขนาดไหน

แต่การลงทุนของไทยก็ส่งผลกระทบต่อผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย


ในกรณีสปป.ลาว ยังถือว่ารัฐบาลคอยให้ความคุ้มครองประชาชนอยู่ เนื่องจากไม่ได้ปล่อยให้นายทุนมายึดที่ดินหรือทำโน่น ทำนี่ได้ง่ายนัก หรือหากจะสร้างเขื่อน ก็ต้องมีการทำแบบประเมินสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับพม่านั้นต่างกัน เนื่องจากผู้ที่ครองทรัพยากรเป็นชนกลุ่มน้อย ถ้าหากรัฐบาลต้องการที่ดิน ชาวบ้านก็ต้องไป ดังจะยกตัวอย่างสถานการณ์ของรัฐมอญ


นับตั้งแต่ปกครองโดยสล็อคและเอสพีดีซีเมื่อปี พ.. 2541 เป็นต้นมา ผืนดินของรัฐมอญและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมีคนมอญอาศัยเป็นส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลอันดามันและพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผลตามฤดูกาลและไม่มีพื้นที่เป็นเทือกเขามากนัก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้เข้าถึงได้ไม่ยากและกองทัพพม่าสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐมอญได้แล้ว กองทัพจึงสามารถบุกเข้ายึดครองที่ดินดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้โดยง่าย”

ที่มา: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแผ่นดินมอญ “ปฏิบัติการยึดผืนนา” หน้า 26


ความเดือดร้อนของชาวมอญในพม่าอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาด้านพลังงานนั้นมีอยู่เรื่อยๆ ดังเช่นกรณีที่ชาวมอญในเขตเมืองด้าจก์ปุ (ตะนาวศรี) และเมืองเร (หรือเมืองเย รัฐมอญ) ต้องถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานออกไปโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ และไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บผลผลิตของสวนก่อนที่จะต้องย้ายทั้งที่ลงทุนและเสียหยาดเหงื่อแรงกายไปมากมาย เนื่องจากรัฐบาลต้องการที่ดินไปสร้างสายส่งพลังงานจากท่อส่งก๊าซกานบอก-มยาญกาเล (Kanbauk-Myaingkalay) ไปยังเมืองเย ซึ่งทหารพม่าต้องรับผิดชอบในการเคลียร์เส้นทางเพื่อสร้างสายส่งพลังงานตามแนวถนนสาย เร (เย)-ทวาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงทำการยึดที่ดินจำนวนมากจากประชาชนในท้องที่เพื่อสร้างสายส่งพลังงาน ถ้าสายส่งพลังงานผ่านที่ดินส่วนบุคคลของชาวบ้านคนใด ที่ดินนั้นจะถูกยึด นอกจากนี้ยังต้องถูกเกณฑ์เป็นแรงงานก่อสร้างอีกด้วยiii


ก๊าซเหล่านี้ รัฐบาลพม่าเอาไปขายใคร

ส่วนหนึ่งก็ขายให้ประเทศไทยไงคะ

 

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080805-121624.jpg

แผนที่แสดงแนวท่อก๊าซที่ผ่านรัฐมอญ: ภาพโดยองค์กรมนุษยธรรมชายแดนไทย-พม่า
จากหนังสือ “การพลัดถิ่นฐานภายในประเทศพม่าแถบตะวันออก รายงานการสำรวจปี พ..2550”

 


การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เซ็น MOU ในการซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยานาดา รวมมูลค่าซื้อขายประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยiv นอกจากนี้ เหตุที่สร้างเขื่อนท่าซางขึ้นก็เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้กับไทยนั่นเอง ซึ่งเขื่อนท่าซางก็ได้ก่อให้พี่น้องไทใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน (เรื่องนี้ก็เคยมีบทความลงในประชาไทแล้ว)


ถึงตอนนี้อาจมีผู้ถามว่า ในเมื่อไทยเอาเงินไปลงทุนมากขนาดนั้น ไทยก็ควรจะเป็นผู้มีอิทธิพลในพม่า เนื่องจากเราเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ให้พม่าเช่นกัน


แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วผู้เขียนเห็นว่า ไทยต่างหากที่ต้องเกรงใจพม่า เนื่องจากก็มีตัวอย่างมาแล้วในสมัยรัฐบาลชวน ซึ่งดำเนินนโยบายเข้าไปลงทุนในพม่า แต่ก็เปิดช่องให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในพม่าและมีแนวนโยบายที่ไม่คล้อยตามพม่าในทุกเรื่องโดยเฉพาะการเข้มงวดกวดขันกับผู้ลี้ภัยทางการเมือง นอกจากนี้ยังอนุญาตให้คณะผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเดินทางมาประเทศไทยและเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี เป็นอิสระ และทางคณะฯยังเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมืองในพม่า และประณามรัฐบาลพม่าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลพม่าไม่พอใจ และไม่ต่อสัมปทานให้กับบริษัททำไม้จากประเทศไทย 47 บริษัท v


เห็นไหม ทำให้เขาโกรธแล้ว เราก็ค้าขายกับเขาไม่ได้


ปัจจุบันไทยเข้าไปลงทุนในพม่าก็ด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งตอนนี้ราคาน้ำมันในประเทศไทยถีบตัวสูงขึ้นมาก ถ้าอยู่ๆ พม่าเกิดไม่พอใจ ไม่ขายก๊าซ ไม่ขายไฟให้ แม้จะเซ็น MOU กันแล้ว เราก็อาจจะขาดแคลนแหล่งพลังงานแหล่งใหญ่ไป


ในเมื่อเราต้อง “โอ๋” รัฐบาลพม่าขนาดนี้ ผู้เขียน ในฐานะที่รู้จักกับคนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และได้รับฟังถึงปัญหาของคนเหล่านั้นมาบ้าง ก็รู้สึกอ่อนใจยิ่งนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ด้วยเห็นว่านี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการแก้ปัญหา ทั้งปัจจัยภายในพม่าและปัจจัยภายในไทยเอง


เนื่องจากว่าเราอยู่ในยุคที่เกือบๆ จะถึงขั้น “สังคมอุดมโภคา” ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากในการขึ้นมาสู่จุดนี้ ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ นับเป็นสิ่งจำเป็น และถ้าหากความต้องการพลังงานของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนในพม่าได้รับความเดือดร้อน ผู้เขียนคิดว่าผู้ที่รณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ควรที่จะรณรงค์เรื่องการลดการบริโภคด้วย เพราะคนไทยเราเองไม่ได้ตระหนักว่าการบริโภคอย่างสิ้นเปลืองของเราส่งผลโดยอ้อมให้สตรีในรัฐฉานโดนข่มขืน คนในรัฐมอญโดนไล่ที่ โดนเกณฑ์มาเป็นแรงงาน คนกระเหรี่ยงต้องทิ้งถิ่นฐานเข้าสู่ศูนย์อพยพในประเทศไทย หรือบางส่วนกลายมาเป็น “แรงงานต่างด้าว”


เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ขึ้นมา


คนไทย (โดยเฉพาะคนในเมืองหรือภาคอุตสาหกรรม) บริโภคอย่างสิ้นเปลือง เปิดแอร์เย็นฉ่ำ นักศึกษามีโน๊ตบุคมามหาวิทยาลัยคนละเครื่อง แถมเปิดคอมพ์พิวเตอร์ทิ้งไว้ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทยจึงต้องหาไฟฟ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลพม่าต้องการขายก๊าซธรรมชาติให้ไทยนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไปไล่ที่ชาวบ้านในที่ๆ มีท่อส่งก๊าซผ่าน อย่างที่รัฐมอญหรือแถบตะนาวศรีเองก็โดนไป


อย่างนี้เราจะเรียกว่า “บริโภคสิ้นเปลืองสะเทือนถึงเมืองมอญ” ได้ไหม

 

i ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ii
ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพานิชย์
iii
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแผ่นดินมอญ.ปฏิบัติการยึดผืนนา. พิมพ์ครั้งที่ 1,2547
iv
พรพิมล ตรีโชติ.ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสุ่ไทย. กรุงทพฯ : หน่วยปฏิบัติการวิจัยแม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548
v
เพิ่งอ้าง


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…