Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย


ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก


ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่


พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน


--------------------------------------------------



วันหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ผู้เขียนตั้งชื่อออนไลน์ใน MSN ว่า พลังงานเป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านจริงๆ ด้วย” ที่ตั้งชื่อเป็นข้อความนี้ก็เพราะว่าวันนั้นผู้เขียนไปฟังการบรรยายเรื่อง “ธรรมยาตราฝ่าทางปืน” ที่จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากฟังการบรรยายแล้วผู้เขียนก็ทราบว่า รัฐบาลไทยคงจะไม่เข้าไปมีบทบาทเข้าไปกดดันรัฐบาลเพื่อนบ้านหรือดำเนินนโยบายใดๆ อย่างจริงจังในเรื่องการเมืองภายในพม่า แม้จะเป็นไปได้ว่ามีการปราบปราม ม๊อบพระสงฆ์ด้วยความรุนแรงก็ตาม และเหตุที่รัฐบาลไทยอันเป็น “เมืองพุทธ” ไม่ดำเนินการใดๆ อย่างจริงจังนั้นก็เพราะว่าไทยเองต้องพึ่งพิงเพื่อนบ้าน และมีผลประโยชน์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมหาศาล จนไม่กล้าที่จะไป “ขัดใจ” รัฐบาลเพื่อนบ้านนั่นเอง


ทุกวันนี้ไทยมีมูลค่าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก เช่นกรณีของลาว ในปี 2549 นั้น ไทยเคยเข้าไปลงทุนถึง 655 ล้านเหรียญสหรัฐi สำหรับในพม่า ในปี 2550 ไทยเข้าไปลงทุนถึง 7,392 ล้านเหรียญสหรัฐii แค่โครงการเขื่อนท่าซางในพม่าอย่างเดียวก็มีมูลค่าถึง 6,000 ล้านเหรียญแล้ว


เห็นหรือไม่ว่า ไทยเข้าไปลงทุนในเพื่อนบ้านเยอะขนาดไหน

แต่การลงทุนของไทยก็ส่งผลกระทบต่อผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย


ในกรณีสปป.ลาว ยังถือว่ารัฐบาลคอยให้ความคุ้มครองประชาชนอยู่ เนื่องจากไม่ได้ปล่อยให้นายทุนมายึดที่ดินหรือทำโน่น ทำนี่ได้ง่ายนัก หรือหากจะสร้างเขื่อน ก็ต้องมีการทำแบบประเมินสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับพม่านั้นต่างกัน เนื่องจากผู้ที่ครองทรัพยากรเป็นชนกลุ่มน้อย ถ้าหากรัฐบาลต้องการที่ดิน ชาวบ้านก็ต้องไป ดังจะยกตัวอย่างสถานการณ์ของรัฐมอญ


นับตั้งแต่ปกครองโดยสล็อคและเอสพีดีซีเมื่อปี พ.. 2541 เป็นต้นมา ผืนดินของรัฐมอญและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมีคนมอญอาศัยเป็นส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลอันดามันและพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผลตามฤดูกาลและไม่มีพื้นที่เป็นเทือกเขามากนัก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้เข้าถึงได้ไม่ยากและกองทัพพม่าสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐมอญได้แล้ว กองทัพจึงสามารถบุกเข้ายึดครองที่ดินดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้โดยง่าย”

ที่มา: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแผ่นดินมอญ “ปฏิบัติการยึดผืนนา” หน้า 26


ความเดือดร้อนของชาวมอญในพม่าอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาด้านพลังงานนั้นมีอยู่เรื่อยๆ ดังเช่นกรณีที่ชาวมอญในเขตเมืองด้าจก์ปุ (ตะนาวศรี) และเมืองเร (หรือเมืองเย รัฐมอญ) ต้องถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานออกไปโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ และไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บผลผลิตของสวนก่อนที่จะต้องย้ายทั้งที่ลงทุนและเสียหยาดเหงื่อแรงกายไปมากมาย เนื่องจากรัฐบาลต้องการที่ดินไปสร้างสายส่งพลังงานจากท่อส่งก๊าซกานบอก-มยาญกาเล (Kanbauk-Myaingkalay) ไปยังเมืองเย ซึ่งทหารพม่าต้องรับผิดชอบในการเคลียร์เส้นทางเพื่อสร้างสายส่งพลังงานตามแนวถนนสาย เร (เย)-ทวาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงทำการยึดที่ดินจำนวนมากจากประชาชนในท้องที่เพื่อสร้างสายส่งพลังงาน ถ้าสายส่งพลังงานผ่านที่ดินส่วนบุคคลของชาวบ้านคนใด ที่ดินนั้นจะถูกยึด นอกจากนี้ยังต้องถูกเกณฑ์เป็นแรงงานก่อสร้างอีกด้วยiii


ก๊าซเหล่านี้ รัฐบาลพม่าเอาไปขายใคร

ส่วนหนึ่งก็ขายให้ประเทศไทยไงคะ

 

http://blogazine.prachatai.com/upload/ong/ong_20080805-121624.jpg

แผนที่แสดงแนวท่อก๊าซที่ผ่านรัฐมอญ: ภาพโดยองค์กรมนุษยธรรมชายแดนไทย-พม่า
จากหนังสือ “การพลัดถิ่นฐานภายในประเทศพม่าแถบตะวันออก รายงานการสำรวจปี พ..2550”

 


การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เซ็น MOU ในการซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยานาดา รวมมูลค่าซื้อขายประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยiv นอกจากนี้ เหตุที่สร้างเขื่อนท่าซางขึ้นก็เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้กับไทยนั่นเอง ซึ่งเขื่อนท่าซางก็ได้ก่อให้พี่น้องไทใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน (เรื่องนี้ก็เคยมีบทความลงในประชาไทแล้ว)


ถึงตอนนี้อาจมีผู้ถามว่า ในเมื่อไทยเอาเงินไปลงทุนมากขนาดนั้น ไทยก็ควรจะเป็นผู้มีอิทธิพลในพม่า เนื่องจากเราเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ให้พม่าเช่นกัน


แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วผู้เขียนเห็นว่า ไทยต่างหากที่ต้องเกรงใจพม่า เนื่องจากก็มีตัวอย่างมาแล้วในสมัยรัฐบาลชวน ซึ่งดำเนินนโยบายเข้าไปลงทุนในพม่า แต่ก็เปิดช่องให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในพม่าและมีแนวนโยบายที่ไม่คล้อยตามพม่าในทุกเรื่องโดยเฉพาะการเข้มงวดกวดขันกับผู้ลี้ภัยทางการเมือง นอกจากนี้ยังอนุญาตให้คณะผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเดินทางมาประเทศไทยและเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี เป็นอิสระ และทางคณะฯยังเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมืองในพม่า และประณามรัฐบาลพม่าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลพม่าไม่พอใจ และไม่ต่อสัมปทานให้กับบริษัททำไม้จากประเทศไทย 47 บริษัท v


เห็นไหม ทำให้เขาโกรธแล้ว เราก็ค้าขายกับเขาไม่ได้


ปัจจุบันไทยเข้าไปลงทุนในพม่าก็ด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งตอนนี้ราคาน้ำมันในประเทศไทยถีบตัวสูงขึ้นมาก ถ้าอยู่ๆ พม่าเกิดไม่พอใจ ไม่ขายก๊าซ ไม่ขายไฟให้ แม้จะเซ็น MOU กันแล้ว เราก็อาจจะขาดแคลนแหล่งพลังงานแหล่งใหญ่ไป


ในเมื่อเราต้อง “โอ๋” รัฐบาลพม่าขนาดนี้ ผู้เขียน ในฐานะที่รู้จักกับคนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และได้รับฟังถึงปัญหาของคนเหล่านั้นมาบ้าง ก็รู้สึกอ่อนใจยิ่งนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ด้วยเห็นว่านี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการแก้ปัญหา ทั้งปัจจัยภายในพม่าและปัจจัยภายในไทยเอง


เนื่องจากว่าเราอยู่ในยุคที่เกือบๆ จะถึงขั้น “สังคมอุดมโภคา” ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากในการขึ้นมาสู่จุดนี้ ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ นับเป็นสิ่งจำเป็น และถ้าหากความต้องการพลังงานของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนในพม่าได้รับความเดือดร้อน ผู้เขียนคิดว่าผู้ที่รณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ควรที่จะรณรงค์เรื่องการลดการบริโภคด้วย เพราะคนไทยเราเองไม่ได้ตระหนักว่าการบริโภคอย่างสิ้นเปลืองของเราส่งผลโดยอ้อมให้สตรีในรัฐฉานโดนข่มขืน คนในรัฐมอญโดนไล่ที่ โดนเกณฑ์มาเป็นแรงงาน คนกระเหรี่ยงต้องทิ้งถิ่นฐานเข้าสู่ศูนย์อพยพในประเทศไทย หรือบางส่วนกลายมาเป็น “แรงงานต่างด้าว”


เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ขึ้นมา


คนไทย (โดยเฉพาะคนในเมืองหรือภาคอุตสาหกรรม) บริโภคอย่างสิ้นเปลือง เปิดแอร์เย็นฉ่ำ นักศึกษามีโน๊ตบุคมามหาวิทยาลัยคนละเครื่อง แถมเปิดคอมพ์พิวเตอร์ทิ้งไว้ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทยจึงต้องหาไฟฟ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลพม่าต้องการขายก๊าซธรรมชาติให้ไทยนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไปไล่ที่ชาวบ้านในที่ๆ มีท่อส่งก๊าซผ่าน อย่างที่รัฐมอญหรือแถบตะนาวศรีเองก็โดนไป


อย่างนี้เราจะเรียกว่า “บริโภคสิ้นเปลืองสะเทือนถึงเมืองมอญ” ได้ไหม

 

i ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ii
ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพานิชย์
iii
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแผ่นดินมอญ.ปฏิบัติการยึดผืนนา. พิมพ์ครั้งที่ 1,2547
iv
พรพิมล ตรีโชติ.ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสุ่ไทย. กรุงทพฯ : หน่วยปฏิบัติการวิจัยแม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548
v
เพิ่งอ้าง


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่