Skip to main content

บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร

มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ รัฐ แต่ละรัฐมีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง เช่น รัฐยะโฮร์ (เมืองหลวง คือ ยะโฮร์บาห์รู) รัฐกลันตัน (เมืองหลวง คือ โกตาบารู) นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีดินแดนสหพันธ์อีก  แห่ง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง คือกัวลาลัมเปอร์) และลาบวน (เมืองหลวง คือ วิกตอเรีย) รัฐหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับไทยและเคยเป็นดินแดนในปกครองของไทยมาก่อนก็คือ รัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (เมืองหลวง คือ อลอร์สตาร์) ไทรบุรีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค และแบ่งการปกครองเป็น ๑๘ มณฑล สมัยนั้นไทรบุรีมีฐานะเป็นมณฑลไทรบุรี แต่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ไทยต้องเสียอำนาจการปกครองหัวเมืองมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู ให้กับอังกฤษ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองไทรบุรีปกครองโดยเจ้าเมืองตำแหน่ง เจ้าพระยาไทรบุรี
 ตนกูอะหมัด เมื่อตนกูอะหมัดถึงแก่อสัญกรรม จึงโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งบุตรคนโตคือ ตนกูไซนาระชิด ขึ้นเป็นพระยาไทรบุรี ตนกูไซนาระชิด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ ตนกูฮามิด ท่านผู้นี้ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น พระเสนีณรงค์ฤทธิ์รายามุดา หลังจากพระยาไทรบุรีไซนาระชิดดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองได้  ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯตั้งพระเสนีณรงค์ฤทธิ์เป็นพระยาไทรบุรีต่อมา โดยมียศเป็น เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี แต่ชาวมลายูนิยมเรียกว่า สุลต่านอับดุล ฮามิด


สุลต่านอับดุล ฮามิด เป็นสุลต่านองค์ที่ ๒๔ ของเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์) ท่านมีชายาเป็นคนไทยเชื้อสายมอญเมืองนนทบุรี ชื่อ หม่อมเนื่อง หรือมะเจ๊ะเนื่อง (แปลว่า คุณแม่เนื่อง) หรือ ชิค เมนยาราลา ในสำเนียงของชาวมลายู แต่บางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า หม่อม ด้วยเช่นกัน หม่อมเนื่องนับเป็นชายาองค์ที่ ๖ ของสุลต่าน ฮามิด แม้สุลต่านจะมีชายาหลายคนตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม แต่ได้ยกให้หม่อมเนื่องเป็นภรรยาเอก เพราะเป็นภรรยาพระราชทานจากราชสำนักสยามในขณะนั้น

ตนกูอับดุล เราะฮ์มาน (Tunku Abdul Rahman)


ตนกูอับดุล รอฮ์มาน
(Tunku Abdul Rahman) เกิดวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่เมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในบรรดาบุตรธิดาบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ของสุลต่านอับดุล ฮามิด กับหม่อมเนื่อง ในวัยเด็กท่านเดินทางมาอยู่ในไทยเช่นเดียวกับเจ้านายไทรบุรีคนอื่นๆ โดยเดินทางเข้ามาตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ขวบ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ตามคำชักชวนของพี่ชาย ตนกู ยูซุฟ ซึ่งทำงานอยู่ในกรมตำรวจของไทย ยศร้อยเอก จนเมื่อไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ กอรปกับพี่ชายที่อุปถัมภ์ดูแลเสียชีวิตลง ขณะนั้น ตนกูอับดุล รอฮ์มาน อายุได้ ๑๒ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๘) ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดไปเรียนต่อที่ปีนัง และที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ กระทั่งจบปริญญาตรี


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่
  ญี่ปุ่นยึดมลายูได้ รัฐไทรบุรีหลุดจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นแทน เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามอังกฤษก็กลับมาเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองมลายูเช่นเดิม ช่วงนี้มีพรรคแนวร่วมชาตินิยมมลายูหรือพรรคอัมโนเกิดขึ้น หัวหน้าพรรคคือ ดะโต๊ะออนน์ บิน จาฟาร์ โดยมี ตนกูอับดุล รอฮ์มาน สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ตนกูอับดุล รอฮ์มาน มีความโดดเด่นมาก จึงได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนดะโต๊ะออนน์ และก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ สหพันธ์มลายา” ที่ขณะนั้นมีเพียง  รัฐ


ต่อมาตนกูอับดุล
 รอฮ์มาน นำเอาสิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ และซาราวัก ซึ่งยังไม่ได้เอกราชมาเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์มลายู และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์มาเลเซีย เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้  ปี ก็ลาออกเพราะขัดแย้งกับนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ชื่อ ดร.มหฎีร์ มุฮัมหมัด และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓


คุณหญิงเนื่อง หรือ คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี หลานสาวหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ดคนแรก และมารดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียคนแรก ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดหลักแหลมและทำธุรกิจร่ำรวยที่สุดในบรรดาชายาของสุลต่านทั้งหมด ยังคงรักษาสายเลือดมอญที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา แม้จะอยู่ในแวดล้อมของเครือญาติข้างสามีและประชาชนชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีจิตศรัทธาสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้นึกถึงแผ่นดินเกิดและวัฒนธรรมของบรรพชน วัดที่คุณหญิงเนื่องสร้างขึ้นนี้คือ วัดบาร์กาบาตา (วัดสโมสรราชานุประดิษฐ์ หรือ วัดราชานุประดิษฐ์) ที่ยังคงปรากฏอยู่ ณ เมืองไทรบุรีจวบจนปัจจุบัน


ลูกหลานในสกุล นนทนาคร ยังคงจดจำได้ว่า ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เคยเดินทางมาเยี่ยมคารวะหลวงรามัญนนทเขตคดีที่บ้านพักริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเตย อำเภอปากเกร็ด


การดำเนินนโยบายของ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ที่เจรจาจนให้ให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง ๙ รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ อันแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยที่นิยมความรอมชอมและมีบุคลิคการประนีประนอมสูง


สอดคล้องกับข้อเขียนของท่าน ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดและโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๔ พระราชชนนีผู้มีเชื้อสายมอญของพระองค์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ที่ส่งบทความมาร่วมตีพิมพ์ตามคำขอเพื่อลงในหนังสือ
ชื่นชุมนุม ที่คณะกรรมการจัดงานได้จัดทำขึ้นเป็นอนุสรณ์ในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสโมสรสถานของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ที่ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ได้ส่งข้อเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ และมีผู้แปลเป็นภาษาไทย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้รับการศึกษาในเมืองไทย และมีนัยยะของเนื้อความที่สื่อถึงทิศทางความสัมพันธ์ของสองประเทศนับจากนี้ไป


...ข้าพเจ้าระลึกถึงชีวิตเด็กที่เทพศิรินทร์ด้วยความปีติเป็นอันมาก การศึกษาที่ข้าพเจ้าได้รับจากที่นั่นและชีวิตที่เคยอยู่ในประเทศไทย นับเป็นทุนทรัพย์อันมีค่าอย่างแท้จริง ในการปฏิบัติงานปัจจุบันของข้าพเจ้าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพราะความรักในชีวิตไทยของข้าพเจ้า ช่วยอำนวยให้เกิดความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้งสองของเรา…”


หาก ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ความหลากหลายในสายเลือดและการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน น่าจะเป็นจุดหลอมรวมสำคัญที่ทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้อยู่ร่วมกันอย่างคนที่เข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่านี้

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่