ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมนูญนะครับ
ที่กหลายท่านประนามอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ=ไร้ความชอบธรรมนั้น
ลองพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลอาญาที่ยกคำร้องการขอถอนหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณข้อหากบฏด้วยคืนสถานที่ราชการและไม่มีลักษณะคุกคาม เพราะยุบสภาและนำไปสู่การเลือกตั้งแล้ว นั้น
ต้องไม่ลืมว่าการยึดกุมสถานที่ราชการเป็นกิจกรรมสำเร็จแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ราชการ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และขณะนี้ยังยึดกุมกระทรวงมหาดไทยอยู่
ถามใจเพื่อนพี่น้องว่านี่ใช่การปฏิเสธอำนาจรัฐกระนั้นหรือ?
ลองตรองดูจะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาล "การเมือง" ด้วยเหตุที่การตัดสินใจของศาลรัฐธรรมนูญมีผลกระทบทางการเมืองอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะหลัง ปี 2549 เป็นต้นมา
การที่รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ปฏิเสธความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีน้ำหนักแก่การพิจารณา แต่มิใช่การปฏิเสธอำนาจรัฐอย่างสิ้นเชิง แต่ปฏิเสธการขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งรับอำนาจเป็นไม้ที่หนึ่งจากมือประชาชน ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันมาภายใต้เงื่อนไขของการรัฐประหาร 2549
ในการวินิจฉัยของศาลอาญาจึงมีความยุติธรรมพอที่จะไม่ถอนหมายจับ
และย้ำอีกครั้งว่าการกระทำของนายสุเทพและคณะ เป็นกบฏ ภายใต้กฎหมายไทย ตามที่ศาลอาญาได้ระบุไว้