Skip to main content

มรณกรรมของกวีนาม ไม้หนึ่ง ก. กุนที ทำให้ผมนึกถึงงานเรื่องฆาตกรรมทางการเมืองที่กำลังตั้งต้นเขียนอยู่ และอยากจะบันทึกผู้เสียสละทางการเมืองโดยไม่อาจเรียกร้องอะไรได้เลย พวกเขาสละชีวิต เพื่อให้สังคมมีความเป็นธรรม การรวบรวมรายชื่อยังอยู่ระหว่างการค้นคว้าเพิ่มเติมครับ รายชื่อที่ปรากฏนี้มาจากหนังสือประชาชาติ ปีที่ 3 ฉบับที่ 112 มีนาคม 2519 หลังการฆาตกรรม ดร. บุญสนอง บุญโญทยาน

 

ผู้ถูกสังหารทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 - กุมภาพันธ์ 2519

 

1. นายชวินทร์ สระคำ (16 มีนาคม 2475-16 มิถุนายน 2517) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ลูกชาวนาร้อยเอ็ด อดีต ส.ส. ร้อยเอ็ด ปี 2513 ถูกรถพุ่งชนขณะขับรถบนถนนมิตรภาพมุ่งกรุงเทพ

 

2. นายเมตตา อุดมเหล่า (11 สิงหาคม 2517) ผู้นำชาวนาจังหวัดชลบุรี ถูกยิงสามนัดซ้อนต่อหน้าคน

 

3. นายแสง รุ่งนิรันดรกุล (31 ธันวาคม 2480-21 สิงหาคม 2517) อดีตครูและนักศึกษาธรรมศาสตร์ เคยถูกจับข้อหาคอมมิวนิสนต์สมัยสฤษดิ์ ถูกยิงระหว่างรอรถเมล์ย่านสะพานเหลือง

 

4. นายสอิ้ง มารังกูล (28 ธันวาคม 2517) อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ 4 สมัย ถูกรถพุ่งชนขณะขับรถมุ่งจังหวัดบุรีรัมย์พร้อมนายไพโรจน์ สว่างวัฒนโรจน์ กก. อก. พรรคไทยรวมไทย และนายสุรสิทธิ มารังกูล

 

5. นายสนอง ปัญชาญ (24 มกราคม 2518) อดีตผู้นำกรรมกร แกนนำเรียกร้องให้ยุติสัมปทานเหมืองดีบุกและธิเรียมของบริษัทเทมโก้ ลูกลอบยิงที่ ต.โคกลอย จ. พังงา

 

6. นายนิสิต จิรโสภิณ (1 เมษายน 2518) ผู้นำนักศึกษา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม. เชียงใหม่ ถูกทำร้ายโดยการถีบตกรถไฟระหว่างไปทำข่าวที่ จ. นครศรีธรรมราช ที่สถานีทับสะแก

 

7. นายโหง่น ลาววงศ์ (21 เมษายน 2518) ผู้นำชาวนา จ. อุดรธานี ถูกตีหัวและรัดคอที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง

 

8. นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม (20 พฤษภาคม 2518) ผู้นำชาวนา เกิด จ. พิษณุโลก แต่มาทำนาที่ อ. ห้างฉัตร เป็นรองประธานสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาห้างฉัตร ถูกคนร้ายลอบยิงขณะอยู่บนบ้าน ภรรยามีเพียงเงินสำรองพอประทังชีวิตได้เพียงวันเดียว

 

9. นายมานะ อินทสุริยะ (2499-1 กรกฎาคม 2518) นักกิจกรรมจาก รร. ราชสีมาวิทยาลัย ถูกยิงขณะออกไปปิดโปสเตอร์ประท้วงกรณีต่อต้านอเมริกา ถูกยิงนอกเมือง

 

10. จา จักรวาฬ (3 กรกฎาคม 2518) ผู้นำชาวนา บ้านดง อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ ต่อสู้เรื่องการทุจริตโครงการเงินผัน 2500 ล้านบาท และขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น

 

11. สำราญ คำกลั่น กรรมกรหญิง (2513-26 กรกฎาคม 2518) ลูกชาวนาจากสมุทรสาครมาทำงานโรงงานกระเบื้องเคลือบ ต่อรองและนัดหยุดงาน ถูกยิงขณะถือพระบรมฉายาลักษณ์ยืนอยู่ด้านหน้าทางเข้า ต่อรองการปิดโรงงาน แต่ถูกฝ่ายนายจ้างโดย รปภ. อดีตตำรวจปีนประตูเข้ามายิง สำราญเสียชีวิต ขณะที่พวกอีก 8 คนอาการสาหัส

 

12. อินถา ศรีบุญเรือง (30 กรกฎาคม 2519) ผู้นำชาวนา ต. ป่าบง อ. สารภี จ. เชียงใหม่ อดีตผู้ใหญ่บ้าน และต่อมาเป็นประธานสหพันธ์ชาวไร่ภาคเหนือ และรองประธานสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย ถูกยิงที่บ้าน

 

13. นายปรีดา จินดานนท์ (23 พฤศจิกายน 2498-3 กุมภาพันธ์ 2519) นักดนตรีวงกรรมาชน ถูกยิงขณะเดินบนถนนศรีอยุธยา

 

14. นายประจวบ พงษ์ชัยวิวัฒน์ (11 กุมภาพันธ์ 2519) นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ สนใจกิจกรรมและร่วมงานกับสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาภาคเหนือ เสียชีวิตจากการลอบวางระเบิด

 

15. นายสมสิทธิ์ คำปันติบ (11 กุมภาพันธ์ 2519) นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เสียชีวิตจากการลอบวางระเบิด

16. นายอมเรศ ไชยสะอาด (18 กุมภาพันธ์ 2519) จากจ. สุราษฎร์ธานี นักศึกษา ม. มหิดลและกรรมการศูนย์นิสิตฯ เสียชีวิตจากการถูกลอบยิงที่ค่ายฝึกงานภาคสนาม ที่วัดด่านนอก อ. ด่านขุนทด 

 

17. ดร. บุญสนอง บุญโญทยาน (2479-28 กุมภาพันธ์ 2519) อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อดีตผู้ก่อตั้ง กลุ่ม ปช. ปช. เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ถูกลอบยิงขณะขับรถกลับบ้าน

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม