Skip to main content

เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน

ครั้งแรกพายุหิมะยูโน (Juno) มาเมื่อเมื่อ 26-28 มกราคม แต่ส่งผลกระทบคือกองหิมะท่วมรถราที่จอดข้างถนนและท้องถนนของเมือง การจราจรเป็นอัมพาต แม้รถไฟใต้ดินก็ยังได้รับผลกระทบ

เมื่อวันอาทิตย์ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีพายุหิมะเข้ามาอีกลูกหนึ่ง คราวนี้หิมะตกหนากว่าสองฟุต ที่ร้ายกว่านั่น ผมต้องลงมาโกยหิมะเองเป็นครั้งแรก เพราะเจ้าของบ้านพาลูกเมียและหมาหนีหนาวไป เขาเลยฝากบ้านไว้ และผมเองไม่รังเกียจอะไรที่จะลองโกยหิมะดู

การผ่านมาของพายุหิมะทำให้ต้องหยุดเรียนและกิจกรรมต่างๆ ปกติที่ผมไปทำงานช่วงสายถึงเย็นในห้องสมุดก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย ที่สำคัญค่าไฟฟ้านั้นคงไม่ลดลงไปมาก แม้จะพยายามประหยัดก็ตาม

พายุหิมะที่ตกมานั้นสวยงาม เป็นปุยนุ่น แต่เมื่อยามมันสะสมมากๆ เข้า มันคือภัยธรรมชาติ และจัดการยาก

ล่าสุดเมืองบอสตันประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับหิมะกองเบ้อเร่อ และนี่คือข้อเท็จจริงที่มาจากสื่อ

 

1. ปริมาณหิมะที่เมืองบอสตันขนย้ายขณะนี้เทียบเท่ากับปริมาตรของสนามฟุตบอล Gillette ถึง 72 สนาม

2. ปริมาณหิมะสะสมขณะนี้น่าจะราวๆ หกฟุต เกือบเท่าความสูงของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลคนดังของที่นี่

3. เมืองบอสตันใช้เวลากว่า 112,881ชั่วโมงในการขนย้ายหิมะ นับถึงวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์

4. เมืองบอสตันใช้เครื่องกำจัดหิมะละลายได้ราว 350 ตันต่อชั่วโมง

5. เมืองใช้รถบรรทุกขนหิมะกว่า 6000 เที่ยว

6. ใช้เกลือ 57500 ตัน เพื่อป้องกันถนนลื่น หรือเทียบน้ำหนักเท่ากับช้าง 8200 ตัว

7. บริษัทซ่อมหลังคาถูกโทรตามกว่า 300 ครั้ง เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

8. รถเก็บกวาดหิมะในเมืองวิ่งรวมกันกว่า 210,000 ไมล์ หรือ 52 เท่าของแม่น้ำอเมซอนที่ยาวราว 4,000 ไมล์

9. เด็กๆ หยุดเรียนมาแล้ว 9 วัน

(รายละเอียดเพิ่มเติม ดู http://abcnews.go.com/US/boston-snow-storm-facts-show-citys-dealing/story?id=28840524)

 

วันก่อนคุยกับเพื่อนเก่าบางคนเธอคงอดเหน็บแนมผมไม่ได้ว่าเขาให้มาเรียนหนังสือทำวิจัย

แต่ผมยังจำคำอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า บัณฑิต อย่ามาเรียนแต่หนังสือ เรียนเรื่องอื่นด้วย

เรื่องหิมะ จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าติดอยู่หิมะแล้วไปไหนมาไหนไม่ได้

แต่มันหมายถึงเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง 

ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย?

 

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม