Skip to main content

จากลิงค์และพาดหัวข่าวต่อไปนี้

"ก๊วนพิทักษ์เจียม" รวมตัวค้านคำสั่งไล่สมศักดิ์ -จุดเทียนประกาศศักดา อ.ข้าใครอย่าแตะ

 

http://politic.tnews.co.th/content/130982/

มีคำยืนยันจากนักข่าวมติชนว่าเนื้อข่าวนั้นเหมือนกับเนื้อข่าวของมติชน แต่พาดหัวข่าวนั้น คนละเรื่อง คนละแนวทางเลย

แม้จะไม่ค่อยหวังอะไรอยู่แล้วจากสื่อ "เลือกข้าง" 

แต่ผมเห็นว่าน่าผิดหวังและเศร้าใจสำหรับการทำงานของสื่อมวลชนที่ไม่มีความรับผิดชอบเอาเสียเลย

กรณีนี้ได้ข่าวชัดเจนจากผู้สื่อข่าวมติชนว่าเนื้อข่าวนั้นใช้วิธีคัดลอกข่าวจากมติชนทั้งหมด แต่หัวข่าวนั้น พาดหัวราวกับว่าบรรดาคณาจารย์ ปัญญาชนและนักศึกษาเป็น "ก๊วน" ที่ไปก่อกวน ปิดถนนเป็นเดือนๆ และทั้งๆ ที่การจุดเทียน ก็เป็นการเคลื่อนไหวอย่างสงบสันติอหิงสากว่าพวกป๊อปคอร์นเป็นไหนๆ หรือดีกว่าพระที่ต้องมีคนเดินถือปืนไปถวายสังฆทาน เด็กๆ นักศึกษาก็ยังถูกกระแนะกระแหนว่าเป็นการประกาศศักดา 

การพาดหัวข่าวแบบนี้ ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่มืออาชีพและสะท้อนให้เห็นถึงความไร้จรรยาบรรณอย่างสิ้นเชิง

 
ขอเรียนว่าบรรดานักวิชาการทั้งหลายและเพื่อนฝูงที่ทำงานวิชาการ ตลอดจนปัญญาชนและนักศึกษาที่ร่วมลงชื่อ ไม่ใช่คนไม่มีที่ทางหรือจุดยืนทางสังคม จำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับ อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และมีวิวาทะกันมาไม่มากก็น้อย 
 
แต่ในทางหลักการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการ ที่เป็นหลักสำคัญของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาชั้นสูงในโลก ต่างถือว่าเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่มีวิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างประเทศไทย
 
การกลั่นแกล้งไม่ให้ลากิจ ลาออก หรือลาเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น "สิทธิ" ของนักวิชาการในสถานศึกษาชั้นสูง การไม่ให้ลาออกแล้วเอาโทษทางวินัยมาใช้บังคับกันอย่างแข็งขันนั้น ไม่ถูกต้องและเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราออกมาลงชื่อและต่อต้านกัน เป็นเหตุผลแรก
 
เหตุผลที่สองก็คือ กระบวนการยุติธรรมขณะนี้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ปกติ หลังจากกล่าวหากรณี 112 ดร. สมศักดิ์ไม่ได้ลี้หนีหน้าไปไหน จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร และมีการเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว คนที่โดนคดี 112 หลังรัฐประหาร ก็ต้องขึ้นศาลทหารที่ไม่มีโอกาสอุทธรณ์ หรือเข้าสู่ฎีกาได้เลย 
 
ผมเห็นว่าการเลือกออกจากประเทศไทยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง และเป็นเรื่องที่ต้องคิด
 
การใช้ศาลทหารกับพลเรือน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ยามศึกสงครามจะมีเหตุผลอะไรอีกที่จะอธิบายให้ชาวโลกเข้าใจได้
รัฐบาลเองก็ต้องรู้จักขบคิด ว่าทำอย่างไรจะทำให้สังคมโลกไม่ประณามหยามเหยียดสังคมไทยว่าล้าหลัง และรู้จักสักการะสถาบันอันสำคัญอย่างเหมาะสมและยืนยาว
 
ในสถานการณ์ปกติ ที่ศาลยุติธรรมยังเป็นกระบวนการปกติ ผมเขื่ออย่างสุจริตใจว่า ดร. สมศักดิ์คงไม่หนีไปจากสังคมไทย
 
ทั้งสองเหตุผลนี้ คงเพียงพอต่อการที่นักวิชาการ ปัญญาชน นักศึกษา จะออกมาเรียกร้องให้ผู้บริหารทุกมหาวิทยาลัย ทุกสถาบันการศึกษาได้ทบทวนว่า มหาวิทยาลัยมีไว้เพื่ออะไร
 
ในยามวิกฤต ย่อมไม่มีอะไรีดีไปกว่าการได้ศึกษา พูดคุย วิเคราะห์ หาทางแก้ปัญหากันอย่างรอบด้าน เพื่อหาทางคลี่คลาย ไม่ใช่การกดขี่ ห้ามแสดงความเห็นกันอย่างที่เป็นอยู่
 
สื่อประเภทนี้ก็ควรต้องตักน้ำใส่กระโหลก ว่าทำอะไรให้กับวิกฤตสังคม และมีส่วนสร้างความเกลียดชังเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
 
แทนที่จะให้สติ กลับสาดสี สาดโคลนกันอย่างไม่หยุดยั้ง
 
หรือที่ผ่านมาในช่วงหลายปีนี้ ยังเสียชีวิตบาดเจ็บล้มตายไม่พอกันอีก
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม