Skip to main content

ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า

การเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์

บางทีคำว่าโชคชะตายังน้อยไปที่จะให้คำจำกัดความถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

พลัดพราก พบพาน หรือพบเพื่อจากลา ล้วนยากจะคาดเดา

ในดินแดนใหม่ที่เขาตั้งรกรากจะมีความท้าทายใดบ้าง

.....

ในพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา Peabody Museum ของฮาร์วาร์ดนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บเอาสิ่งของและวัตถุทางวัฒนธรรมไว้มากมาย บางอย่างไม่สามารถเอามาได้ก็จำลองมาไว้ให้ชมเป็นบุญตา บางอย่างเป็นสิ่งที่นักมานุษยวิทยาไปพบเห็นในยุคที่ไม่มีเทคโนโลยีการถ่ายภาพยนต์หรือวีดีโอก็บันทึกและเขียนเป็นรูปออกมา ที่ฮาร์วาร์ดทำมากกว่านั้น นักมานุษยวิทยาที่ฮาร์วาร์ดสร้างอันตรภาพ (diorama) ของชีวิตชาวอินเดียนแดงในที่ต่างๆ เช่น ชาวเผ่าซู ชาวเผ่าพื้นเมืองอื่นๆ ที่อยู่ในทวีปอเมริกาและดินแดนที่ไกลโพ้น 

การเก็บตัวอย่างทำอย่างเอาจริงเอาจังมาก จนเรียกได้ว่าพิพิธภัณฑ์ที่นี่ในระดับมหาวิทยาลัยถือว่ามีของเยอะมากที่สุดแห่งหนึ่ง (จากคำยืนยันของ ผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร) ไม่ว่าจะเป็นเสาโทเท็ม (totem) ที่มีรูปสัตว์และคน ที่อาจารย์ยุกติทักว่าแปลก บางชิ้นดูเหมือนจริงเอามากๆ อาจารย์ยุกติบอกผมว่าก็คงจะของจริงนั่นแหละ

มีการสร้างอันตรภาพจำลองการแต่งงาน งานเลี้ยงที่แจกจ่ายให้กับคนจำนวนมาก (potlatch) ของพวกทลิงกิต (Tlingit)

เมื่อต้นปีมีข่าวคึกโครมว่าลูกหลานของตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์คนหนึ่งอาจจะไม่ได้ตายหรือหายสาบสูญ ชายคนนี้คือริชาร์ด ร็อคกี้เฟลเลอร์ (Richard Rockefeller) ซึ่งว่ากันว่าหายตัวไปขณะออกสำรวจร่วมกับนักมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ริชาร์ดคนนี้เองที่ช่วยเก็บตัวอย่างจากเผ่าดานิ (Dani) ในปาปัวนิวกินีให้กับ Peabody Museum เขาหายไปที่ชายฝั่งของหมู่เกาะในปาปัวนิวกินีนี่เอง ข่าวเมื่อต้นปีเป็นข่าวดังเพราะคนสงสัยว่าเขาอาจจะไม่ได้หายตัวไป ไม่ว่าจะจมน้ำ (ตามประวัติว่าเขาว่ายน้ำแข็งทีเดียว) หรือถูกกิน เพราะแถวนั้นมีการล่ามนุษย์อยู่ บางคนสันนิษฐานว่าเขาอาจถูกจับตัวไปอยู่กับเผ่าอีกเผ่าหนึ่ง เพราะมีคนถ่ายภาพยนต์เห็นชายผิวขาวในหมู่มนุษย์กินคน

เขาอาจจะเบื่ออารยธรรมของโลกศิวิไลซ์...

ชั้นล่างมีนิทรรศการน่าสนใจ เป็นการสร้างนิทรรศการจากสมุดภาพที่ซื้อมาจากหลุมศพของนักรบอินเดียนแดง เผ่าลาโกต้า ที่สามารถเขียนภาพเป็นบันทึกลงสมุดขนาดเล็กด้วยสี ซึ่งเล่าชีวิตของเผ่าลาโกต้า การรบ ความเชื่อและพิธีกรรม การเผชิญหน้ากับคนผิวขาวและความตายของเขา

น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนักที่เรื่องเล่าของเขาถูกสร้างขึ้นว่าการบุกเบิกไปทางตะวันตกนั้นสร้างความสูญเสียให้กับอินเดียนแดงที่เป็นเจ้าของประเทศเดิมขนาดไหน

ผมยังจำได้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่งเล่าถึงถนนเส้นหนึ่งย่านมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอนว่าตั้งชื่อตามคนที่เอาผ้าห่มใส่เชื้อฝีดาษไปให้ชาวอินเดียนจนตายไปทั้งเผ่า

บางคนอาจจะสำทับทันทีว่านี่ไง ugly american น่ารังเกียจ

แต่ในความน่ารังเกียจนี้ก็ถูกบันทึกให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และตัดสินด้วยตัวเขาเองว่าบรรพชนสร้างประเทศจากความอัปลักษณ์บนผืนดินนี้อย่างไร บนเลือดและน้ำตาของใคร (ดูรายละเอียดจากลิงค์นี้ได้ครับ https://www.peabody.harvard.edu/node/292)

 

น่าคิดนะครับว่า คนบางคนเพิ่งเป็นไทยเมื่อวานซืน เป็นไทยยิ่งกว่าคนไทยดั้งเดิมเสียอีก (เอ๊ะยังไงกันนะ?)

ชั้นเดียวกันยังมีการฝึกภาคสนามแบบใกล้ๆ คือการขุดค้นบนผืนดินของฮาร์วาร์ดว่านิคมมหาวิทยาลัยยุคแรกนั้นมีอะไรเหลือให้เรียนรู้บ้าง ที่น่าสนใจคือการขุดค้นสามารถอธิบายชีวิตของนิคมมหาวิทยาลัยได้น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ภาชนะอาหาร หัวลูกธนูของอินเดียนแดง เศษไปป์ เศษกระเบื้อง เป็นร่องรอยของอะไร เป็นต้น

ชั้นสองเป็นห้องทำงาน ส่วนชั้นสามและสี่เป็นชั้นแสดงที่น่าสนใจ ทั้งส่วนที่เป็นอารยธรรมจากส่วนอื่นๆ เช่น ชั้นสามเป็นนิทรรศการจากเม็กซิโกและอเมริกากลาง เชื่อมทะลุถึง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่ผมเคยเล่าไปแล้ว

ส่วนชั้นสี่เป็นชั้นลอยที่เก็บตู้แสดงอันตรภาพของอินเดียนแดงกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีการเรียนการสอนโดยใช้อันตรภาพนี้ให้นักศึกษาปัจจุบันวิเคราะห์ว่าอันตรภาพเหล่านี้บอกอะไรกับเราบ้าง ช่างเป็นชั้นเรียนที่น่าตื่นเต้นจริงๆ เพราะมันพาเราไปถึงความพยายามอธิบายและจัดแสดงการตั้งถิ่นฐาน ชีวิตประจำวัน และวัตถุทางวัฒนธรรมจากหมู่เกาะโพลีนิเชียน และงานหัตถกรรมจากมุมอื่นๆ

 

ที่สำคัญยังมี collection ที่สามารถชมทางเน็ตได้อีกด้วย (ตามลิงค์นี้ครับ http://pmem.unix.fas.harvard.edu:8080/peabody/)

พิพิธภัณฑ์ Peabody Museum นี้อยู่ถัดจากออฟฟิศผมเอง ส่วนฝั่งตรงข้ามเป็น Harvard Semitic Museum ที่สามารถเดินไปอาคารที่ตั้งของสถาบันฮาร์วาร์ดเย็นชิงที่เพื่อนพี่น้องของผมมีห้องทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์อรัญญา สิริผล อาจารย์ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี และอาจารย์อภิวัฒน์ รัตนวราหะ 

ยามว่างเราก็จะนัดเจอกัน ไปกินข้าวตามโอกาส

และทุกวันพุธเย็น เราจะมีกิจกรรมของโครงการไทยศึกษาร่วมกันกับชุมชนวิชาการของที่นี่และเพื่อนจากต่างมหาวิทยาลัย

ผมถือว่าชีวิตแบบนี้ยากจะหาได้จริงๆ อาจจะมีไม่กี่ครั้งในชีวิตที่ได้รับเกียรติเช่นนี้

ในฐานะนักวิชาการคนหนึ่ง ผมถือว่านี่คือโอกาสที่ผมจะได้ตักตวงความรู้จากที่นี่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

และคงไม่ใช่ผมคนเดียวที่คิดอย่างนี้

ดัชนีชี้วัดง่ายๆ คงจะเป็นตำรับตำราที่พวกเราต่างซื้อไว้เพื่อขนเอากลับไปใช้ที่บ้านและเตรียมส่งกลับทางเรืออีกไม่น้อย

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รถบัสนำผมมาถึงเมืองชิคาโกในเวลาสองทุ่มครึ่ง รถจอดที่สถานีปลายทาง Union Station แม้จะเคยมาเมืองนี้ แต่คราวนี้มาคนเดียว และนัดเพื่อนที่ไม่เจอกันเกือ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เราตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อจะเดินไปบ้านอาจารย์แคทเธอรีน บาววีเพื่อยืมรถอาจารย์ไปเที่ยว อา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
แม้จะเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่อากาศที่นี่ยังคงเย็นอยู่บ้าง ในคืนที่ผ่านมาอากาศเย็นสบาย เมื่อเราซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ ที่พัก เราเดินกลับบ้านได้สบายๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อย่างที่เคยเล่ามาในตอนก่อนๆ ว่า หนึ่งในความสุขเล็กๆ ของพวกเราคือการได้ไปกินติ่มซำวันเสาร์ (อาจจะมีคนเติมว่าไม่เอาเผด็
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าการเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อปี พ.ศ.2532 เดือนมิถุนายน ยังไม่รู้ประสีประสาทางการเมือง ในขณะที่เพื่อนๆ พี่ๆ พากันขึ้นคัทเอาท์สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน และมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่นักศึกษา ประชาชนถูกล้อมปราบที่ลานหน้าพระราชวังต้องห้าม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Today is the 5th year to commemorate the day that Abhisit Vejjajiva started cracking down the United front for Democracy against Dictatorship (UDD) camp site on Rajadamri. It started with the killing of Seh. Daeng or Gen. Kattiya Sawasdiphol.