Skip to main content

ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเลื่อนไปที่ Place de Greve ซึ่งจะมีการตั้งตะแลงแกงขึ้นเพื่อที่จะเฉือนเนื้อหน้าอก แขน และท่อนขาและทุบด้วยฆ้อนที่เผาจะร้อนแดง มือขวาของเขาจะถือมือที่ว่ากันว่าเป็นอาวุธที่ใช้กระทำการสังหารบิดาของเขา เผาไหม้ด้วยกำมะถัน และในส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็จะถูกเฉือนเอาเนื้อออก เทตะกั่วหลอม น้ำมันเดือด ยางไม้ที่ติดไฟ ขี้ผึ่งและกำมะถันจะถูกหลอมเข้าด้วยกัน จากนั้น ร่างของเขาจะถูกแยกสังขารเป็นสี่ส่วนโดยม้าสี่ตัว อวัยวะและร่างของเขาจะถูกไฟลุกท่วม จนเผาจนเหลือแต่เพียงเถ้าถ่าน จากนั้นเถ้าอัฐิจะถูกโปรยปรายไปกับสายลม" 

 

ในหนังสือ Gazette d'Amsterdam ในวันที่ 1 เมษายน 2300 รายงานว่า "ในที่สุดร่างของเขาถูกดึงแยกเป็นสี่ส่วน" ซึ่งปฏิบัติการสุดท้ายนี้เป็นกระบวนการที่ยาวนาน เพราะม้าที่ใช้ดึงร่างไม่ชินกับการชักลาก ทำให้ต้องใช้ม้าถึง 6 ตัว แทนที่จะเป็น 4 ตัว และเมื่อแรงดึงของม้าไม่พอก็ต้องเอามีดไปเฉือน ตัดบริเวณต้นขา แยกเอ็นและแยกตามข้อต่อต่างๆ

เป็นที่รู้กันว่าชายคนนี้มักสบถ กล่าวคำหยาบโลนเสมอ แต่การลงทัณฑ์ด้วยแรงกระทำต่างที่หนักหน่วงแสนสาหัสทำให้เขาร้องเสียงหลงอย่างน่ากลัว และเขามกล่าวคำซ้ำๆ ว่า พระเจ้าทรงโปรดเมตตาลูกด้วย พระเยซูเจ้าโปรดช่วยลูกด้วย แต่พวกพระก็ไม่ได้เข้ามาปลอบโยนเขา

 

ส่วนการจุดกำมะถันที่ต้องกระทำตามขั้นตอนนั้น กำมะถันกลับไหม้เพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของมือ ส่วนตำแหน่งอื่นๆ กลับไหม้เพียงเล็กน้อย เมื่อเพชรฆาตม้อนแขนเสื้อขึ้นแล้หยิบคีมเหล็กที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษยาวประมาณฟุตครึ่งเพื่อดึงขาขวา จากนั้นก็เป็นท่อนขาบน จากนั้นก็ไปที่แขนขวา ตามมาด้วยส่วนหน้าอก ซึ่งเพชรฆาตก็พบความยุ่งยากที่จะเฉือนตัดเนื้อ ต้องใช้การเฉือนซ้ำสองสามครั้ง ทุกครั้งจะมีแผลราวเหรียญ 6 pound crown 

หลังจากใช้คีมตัดข้อต่างๆ เดเมียนส์ผู้ซึ่งร้องเสียงหลง แต่ไม่มีการสบถ เขายกศีรษะขึ้นและมองตัวเอง เพชรฆาตหยิบเอาช้อนเหล็กในหม้อที่เดือดอยู่แล้วเทไปบนแผลทุกแผล จากนั้นม้าก็ถูกกระตุ้นให้ชักลากชิ้นส่วนร่างกายอีกครั้ง

 

เสมียนศาลไปตรวจดูว่านักโทษมีจะอะไรพูดบ้างไหม เขาตอบว่าไม่มี แต่ทุกครั้งที่ลงทัณฑ์ เขาร้องโหยหวนว่า "ขอทรงโปรดยกโทษให้ลูกด้วย พระเจ้า ขอทรงปราณี แม้จะเจ็บปวดขนาดไหน เขาก็ยกศีรษะดูเรือนร่างของตัวเองเป็นครั้งคราว เชือกที่มัดเขาเอาไว้แน่นหนาและมีคนดึงที่ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสและยากบรรยาย เสมียนศาลไปถามเดเมียนส์อีกครั้ง เดเมียนส์บอกว่าเขาไม่มีอะไรจะพูดนอกจากสารภาพบาปหลายอย่างและจูบไม้กางเขนที่อยู่ใกล้ๆ เขาเปิดปากและร้องตะโกนว่า "ขอพระเจ้าประทานอภัย"

บรรดาม้าต่างกระชากหนักขึ้น พวกมันถูกควบคุมโดยเพชรฆาตและเชือกนั้นผูกไปที่อวัยวะท่อนแขนขา หลังจากเวาผ่านไปสิบห้านาทีม้าเริ่มอ่อนแรง จึงพากันวิ่งไปหลากทิศทาง เชือกมันแขนถูกรั้งไปทางศีรษะ ท่อนขาถูกรั้งไปทางแขน ซึ่งหักข้อต่อกระดูกแตก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ แต่ไม่สำเร็จ เดเมียนส์ยังคงยกศีรษะเพื่อดูเรือนร่างตัวเองอีกครั้ง จากนั้นก็มีการเพิ่มม้ามาอีกสองตัวเพื่อดึงแขนขาให้ขาดจากร่าง แต่กระบวนการเหล่านี้ก็ไม่สำเร็จ

 

ในที่สุดเพชรฆาตกล่าวกับเสมียนว่าจะให้เขาตัดแขนขาให้ขาดจากร่างไหม แต่เสมียนก็สั่งให้ทำซ้ำใหม่ จนม้ายอมแพ้ มีเชือกเส้นหนึ่งตกลงบนพื้น พระที่รับสารภาพบาปเข้าไปหาเดเมียนส์อีก เดเมียนส์ขอให้พวกเขาภาวนาสวดถึงพระเจ้าแทนเขา

 

หลังจากลองทำซ้ำอีกสองหรือสามครั้ง เพชรฆาตถึงกับหยิบมีดออกมาเพื่อเฉือนเอ็นที่ต้นขา แทนที่จะเป็นข้อต่อขา ม้าทั้งสี่ตัวถูกนำกลับมาแล้วผูกเข้ากับเชือกที่ขาท่อนบน จากนั้นก็ไปที่แขนที่รักแร้ เนื้อถูกเฉือนจนถึงกระดูกจากนั้นม้าสามารถกระชากแขนขวาได้ และส่วนที่เหลือ

 

เมื่อถูกแยกสังขารโดยแขนขา เพชรฆาตประกาศว่า เดเมียนส์สิ้นใจแล้ว

 

แม้ผู้รายงานจะบอกว่าเขาเห็นเดเมียนขยับปาก โดยขากรรไกรล่างขยับราวกับกำลังบ่น เมื่อเพชรฆาตคนหนึ่งยกร่างท่อนลำตัวขึ้นปักบนเสา ยังพูดว่าเดเมียนส์ยังไม่สิ้นใจตายเลย ส่วนแขนขาที่เหลือกถูกเอาเสียบประจานข้างๆ แล้วมีการเอาฟางและฟืนมาสุดร่างและอวัยวะเหล่านั้น ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาให้ประหารจะต้องเผาจนเป็นเถ้าธุลี ซึ่งใช้เวลาเผาถึงห้าทุ่มกว่าจะไหม้หมด

 

เก็บความจาก Michel Foucault. 1991. Discipline and Punish: The Birth of the Prison. New York: Vintage Books. หน้า 3-6. 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม