Skip to main content
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
 
 
อย่างที่ผมชี้ในบทความ "ไทยวิกฤต: การบริหารภัยพิบัติที่ล้มเหลว คือทางไปสู่รัฐล้มเหลว" (มติชน https://www.matichon.co.th/article/news_2834711) ว่าในหน่วยงานทั้งเอกชนและภาคราชการต่างกำหนดให้ทำแผนบริหารความเสี่ยงในภารกิจที่เราทำ เพื่อป้องกันมิให้องค์กรตกอยู่ในความเสี่ยงจนกลายเป็นวิกฤต และเมื่อเกิดวิกฤต ก็ต้องยกระดับเป็นบริหารวิกฤต แต่ควบคุมวิกฤตไม่ได้จนเลยความเป็นวิกฤต มันก็คือเข้าสู่ระยะที่เป็นภัยพิบัติ
 
การบริหารภัยพิบัติ เป็นกิจการที่อาศัยพลังมากๆจากทุกส่วน ถ้าส่วนหัวของหน่วยงานไม่ยอมรับรู้ ก็พร้อมจะพังทลาย และหากเป็นรัฐก็เข้าใกล้รัฐล้มเหลว
 
ผมจึงได้ชี้ว่ามีอย่างที่ไหน ที่นายกฯ และ ศบค. คุมวัคซีน แต่ปล่อยให้สถาบันระดับรองลงมาวิ่งจองวัคซีนแทนรัฐบาล หรือล้ำหน้ารัฐบาล กระทั่งเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาล ไม่นับว่ามีการ "ปาดหน้าช่วงชิง "​วัคซีน" ทั้งโมเดอน่า หรือไฟเซอร์ ดังเป็นข่าวออกมาให้อื้ออึงว่า บุคลากรที่เป็น VVIP จะมาชิงโควต้าวัคซีนการทูตไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาเอามาให้เรา
 
ผมจึงพูดอ้อมๆ ไปว่าถ้าคุณประยุทธ์ฉลาดพอ ก็ควรลาออก เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลชั่วคราวเพื่อแก้วิกฤตเป็นการเฉพาะ
 
ผมเชื่อว่าข้อเสนอนี้คงไม่มีฝ่ายค้านคนไหนใจดำและโคับแคบ ถ้าหากว่ารัฐบาลชั่วคราวหลังจากการลาออกของประยุทธ์จะเน้นแค่เรื่องบริหารภัยพิบัติ 6 เดือน เพื่อแก้ไขและบริหารภัยพิบัติกับภารกิจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นจึงค่อยยุบสภาให้ประชาชนได้ตัดสินใจกัน
 
เพราะในเวลานี้เราต้องการคนบริหารเก่งกว่านี้ ผมเชื่อว่าเรามีคนที่พร้อมกว่าแน่ๆ เพื่อมาเป็นนายกฯ ชั่วคราว
 
เพราะหากคิดถึงว่าจะต้องเลือกระหว่างการอุ้มชูนายกฯ ที่ยาวนานที่สุดกระทั่งกว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่คนด่าตลอดไป  กับรัฐบาลที่มีนายกฯ บริหารวิกฤต หากเป็นผลสำเร็จก็จะมีแต่คนสรรเสริญตลอดไป 
 
เพราะในเวลานี้คนจะจำมรดก (หรือ Legacy) ของประยุทธ์นอกจากจะล้มเหลวและกีดกันการเข้าถึงวัคซีนก็คือ
 
หนึ่ง ยอดคนตายและป่วยรายวันที่สูงอย่างต่อเนื่อง
 
สอง การปล่อยให้คนตายข้างถนน  ศพเกลื่อนถนน
 
ผมตอบมิตรสหายในกลุ่มไลน์ไปว่า เราให้โอกาสคุณประยุทธ์และพวกมานาน (ใครๆ ก็รู้ว่าผมไม่ยอมรับรัฐบาลรัฐประหารจนถึงรัฐบาลชุดนี้) แต่ในห้วงเวลาแบบนี้ มันต้องการคนที่เก่งกว่า รอบด้านกว่า
 
ที่เขียนในบทความ วิกฤตรอบนี้มันข้ามพ้นจุดหลังลาหักมานาน ระบบสาธารณสุขหลายแห่งระส่ำระสาย backbone ของระบบกำลังเสื่อมทราม
ในทางรัฐศาสตร์ เลยจุดนั้นมามาก มันสะเทือนไปทุกหย่อมหญ้า
 
ใครที่เรียนฟิสิกส์สมัยก่อน อาจะเทียบ Vibration แบบนี้ ว่าเป็นความถี่ธรรมชาติที่ทำลายสะพานที่ทีโครงสร้างหนาแน่นได้ 
 
สัคมไทยไม่เคยเผชิญวิกฤตระดับนี้มาก่อน เพราะก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็น the Great Depression แต่รอบนี้เป็น threat แบบ non traditional security ในรอบนี้ภัยพิบัติ มีลักษณะดังนี้
 
1. ภัยพิบัติระดับ global scale 
 
2. Economic recession ที่มาจากภาคการผลิตจริงกระทำไม่ได้ 
 
3. ซ้ำเติมด้วย middle income trap, ความไม่สามารถทะยานจากจุดนี้เข้าสู่ creative economy 
 
4. คนตกงานจริง ตายจริง
 
ผมยืนยันว่าในเวลานี้เราต้องการผู้บริหารประเทศที่เป็นระดับรัฐบุรุษเท่านั้น ไม่รวมวิกฤตศรัทธาในหลายส่วน (สำหรับผมแล้วประยุทธ์บริหารได้แค่กรม)
 
ผมยังกล่าวต่อไปในกลุ่มไลน์ว่า ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก ลองนึกถึงว่าความเสี่ยงที่เราเผชิญตอนนี้ เป็นความเสี่ยงในระดับที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในชีวิตของพวกเราเองซึ่งเป็นคนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์รวมของคนมีสมรรถนะสูงที่สุดแห่งหนึ่งของชาติ ความเสี่ยง วิกฤตนี้ทำให้เรากลายเป็นหน่วยงานที่เปิดตามปกติไม่ได้ ก็บ่งชี้แล้วว่าเราเผชิญวิกฤต มิพักต้องกล่าวถึงหน่วยทางสาธารณสุขที่ทำงานอย่างหนักหน่วงมานานเกือบสองปี
 
สำหรับผม ความเสี่ยงในชีวิตของเราไม่เคยใกล้ความตายที่มองไม่เห็นแบบนี้มาก่อน
ความเสี่ยงจึงยกระดับมาเป็นวิกฤต แต่ถ้าพ้นจุดนี้ คือภัยพิบัติ ซึ่งจะเข้าสู่หายนะ
 
เราต้องการผู้บริหารระดับรัฐบุรุษครับ ไม่ใช่ผู้บริหารระดับกรม

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม