Skip to main content
May be art of 2 people, people standing and indoor
 
 
พูดถึงงานคนอื่นแล้วไม่พูดถึงงานที่ตัวเองทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ก็จะดูกระไร ถึงจะเขินๆ หน่อย แต่ก็ต้อง shameless self-promotion สักหน่อย
ในผลงานของอาจารย์โจ้ วัทวัส ทองเขียว นั้น ผมรู้ว่าจะได้รับเชิญเป็นภัณฑารักษ์ก็มีเวลาเตรียมตัวและอธิบายชิ้นงานไม่มาก เมื่อแรกเห็นงานอาจารย์โจ้ต้องบอกว่าแอบกลัว เพราะทั้งฝีมือและระยะทางของการทำงานศิลปะมีพื้นที่และอัตลักษณ์ของตัวเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะในชุด นิ/ราษฎร์ ที่ SAC แล้วแอบหวั่นใจ เพราะความเหมือนจริงในระดับ Hyperrealism ซึ่งสะท้อนออกมาในงานชัดเจน ตรงไป ตรงมา แม้จะมีเรื่องราวซ้อนทับอยู่มากมายก็ตามที กล่าวได้ว่า ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเองอีกแล้ว
แต่ในชุดที่วิทวัสลดทอนความเหมือนจริงระดับเหนือจริงให้เหลือเพียงชั้นสี แถบสี และรหัสของสี ต้องเรียกว่าอยู่ในสภาวะที่ศิลปินถอดรื้อความรุ่มรวยในชิ้นงานออกจนเปลือยเปล่า
แถมยังสุ่มเสี่ยงในแง่การตอบรับว่า ผลงานชุดใหม่นี้คืออะไร?
แน่นอนว่า ทันทีที่เห็นแถบรหัสสี อาจจะไม่ต้องเดามาก แต่ในรายละเอียดของภาพจริง กลับมีความยากในตัวมันเอง เพราะสำหรับศิลปินในระดับ hyperealism ย่อมเห็นรายละเอียดที่เราอาจจะไม่เห็นด้วยตาเปล่า และการมองแบบผิวเผิน
ชิ้นงานแต่ละภาพจึงมีความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มสร้างแถบสีแดงที่มาจากร้านสีที่มีสีหลายยี่ห้อให้เลือก แม้รหัสสีเดียวกัน กลับส่งแสงประกายความแดงออกมาได้อย่างน่าสนใจ
จากการทดลอง วิทวัสได้ทิ้งเปลือกที่ห่อหุ้มออกจนหมด ทั้งยังทดลองเรียบเรียงลำดับสีให้เราได้เห็นว่า แม้กระทั่งความแดง ยังสามารถแดงได้หลายเฉด
ในสีน้ำเงินรหัส Royal blue ยิ่งสะท้อนความแตกต่างของเม็ดสี และนั่นหมายถึงคุณสมบัติพื้นฐานของสี ตลอดจนฝีมือของศิลปินที่ขับเน้น เลือกระดับสี เพื่อปลดปล่อยสีออกจากเม็ดสี ให้สำแดงตนออกมา
กระบวนการทำงานที่ละเอียดอ่อน กลับเป็นความรุนแรงที่ศิลปินได้กระทำ หรือปฏิบัติต่อแนวทางของตัวเองอย่างรุนแรง ลดรูปและรายละเอียด สะท้อนให้เหลือนามธรรม
ถึงบางคนจะไม่เรียกว่าเป็นภาพนามธรรม แต่ภาพชุด The Ideoscapes of Violence ก็สื่อสะท้อนถึงความรุนแรงในมิติที่ศิลปินลดทอน กด ปลดระวางความละเอียดออกให้เหลือคุณสมบัติพื้นฐานของแต่ละสี ดังได้กล่าวมา
ตอนที่คิดชื่อของนิทรรศการ ผมนึกถึงผลงานของ Arjun Appadurai ที่เอาประสบการณ์ของคนพลัดถิ่นที่สื่อถึงปริมณฑลในแบบที่เขาเรียกโดยในคำลงท้ายว่า -scape เพื่อแสดงความปะทะ ประสาน ของความหมายและการเดินทางข้ามพรมแดน ที่เรียกว่า ethnoscapes, finanscapes, technoscapes, mediascapes, และ ideoscapes
 
ซึ่งงานชุดนี้ได้สื่อถึงความนี้อย่างลงตัว เพราะการปะทะของความคิดในปริมณฑลของสังคมไทยนั้น ข้ามพ้น และอยู่ในท้องถิ่น ส่งผ่านโพ้นทะเล และสะท้อนกลับมายังประเทศไทย ทำให้อาณาบริเวณของความคิดและอุดมการณ์สั่นสะเทือนไปตั้งแต่ล่างสุดจนถึงชั้นฟ้า
และแน่นอนว่าศิลปินอย่างวิทวัส ทองเขียว ไม่ได้สำแดงตนยึดโยงกับดาวดึงส์หรือนิพพานที่ศิลปินชายไทยมักสำแดงอวดอ้างออกมา แต่เขากลับทิ้งสัมภาระเหล่านั้นไว้ เหลือเพียงของที่จำเป็น การลดรูป ทอนรายละเอียดต่างๆ กลายมาเป็นความรุนแรงที่ปรากฏ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
ผลงานชุดนี้กลับส่งความรุนแรงออกมาให้เราเห็นว่าศิลปินต่อสู้กับแนวทางของตัวเอง ร่องรอยของความคิดและข้อถกเถียงกลับส่งเสียงก้องคึกโครมในสีที่พลุ่งพล่านออกมา
ไม่ว่าผู้ชมจะรู้สึกอย่างไร อาจารย์โจ้ วิทวัส กลับไม่ยอมประนีประนอมเลย หากยืนยันที่จะสื่อความหมายของผลงานนี้อย่างตรงไป ตรงมา และท้าทาย สายตาของผู้ชมมากๆ
ภาพบางภาพ ยังได้ตะโกนออกมาดังยิ่งกว่าผู้เขียน
และเป็นวัตถุพยานของยุคสมัยที่ "เปลี่ยนไม่ผ่าน ข้ามไม่พ้น" นี้
ขอเชิญชมนิทรรศการ The Ideoscapes of Violence โดยวิทวัส ทองเขียว ผลงานจิตรกรรมชุดใหม่ล่าสุดของศิลปิน
นิทรรศการจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 23 เมษายน 2566
วันพฤหัสบดี-วันอาทิตย์ เวลา 11.30-18.00 น
The Ideoscapes of Violence
โดยวิทวัส ทองเขียว
ภัณฑารักษ์ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
พฤหัสบดี - อาทิตย์ เวลา 11.40-18.00 น. ที่ Manycuts Artspace ARI ซอยอารีย์ 3
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 063-1923921 or at our Facebook and Instagram @manycuts.ari
———
The Ideoscapes of Violence
by Wittawat Tongkeaw
curator Pandit Chanrochanakit
For more information, please contact 063-1923921 or FB and IG @manycuts.ari

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม