Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

ช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้...

แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเอง

นอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเอง

การพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ ไปที่ละวางจากเรื่องงานในสำนักงาน งานอะไรก็ตามที่ต้องทำเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา แต่เรายังละวางเรื่องานที่จำเป็นในชีวิตไม่ได้ เช่น การทำอาหาร ซักผ้า ทำความสะอาด ... เราก็ยังทำงานอยู่ เพียงแต่งานนี้ไม่ได้มีมูลค่าทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทำเพื่อให้ตัวเราเองดำรงชีวิตอยู่ได้

พี่เคยเล่าเรื่องงานที่ทำแล้วถูกให้ค่าและไม่ถูกให้ค่าทางเศรษฐกิจ พี่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับผู้หญิงที่ถูกคนรอบข้าง ครอบครัว และสังคมหล่อหลอมมาให้มีหน้าที่ต่องานที่ไม่มีค่าทางสังคมนั้น และต้องรับที่จะทำงานนั้นๆ โดยไม่ตั้งคำถาม หากถามก็เป็นผู้หญิงแปลก และอาจจะถูกลงโทษจากคนรอบข้าง แม้ไม่ใช่การถูกเฆี่ยนตีแต่อาจจะเป็นการซุบซิบ นินทา

ผู้หญิงจำนวนมากในโลกนี้จึงอยู่กับความกดดัน การถูกกดดัน โดยที่ไม่เคยตั้งคำถาม...

ตอนอยู่ที่วัด หลวงพี่ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า "มนุษย์ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย เพศไหนๆ ก็ทุกข์เหมือนกัน..."

สำหรับพี่แล้ว พี่อยากจะบอกว่า ในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าเพศไหนๆ ก็คงทุกข์ไม่ต่างกัน แต่ผู้หญิงมีความทุกข์ทางโลกและสังคมมากกว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดอาจจะดูจากปริมาณของคนที่ไปวัด จำนวนมากเป็นผู้หญิงทั้งนั้น

ที่ผ่านมา ผู้หญิงที่ไปวัดถูกมองว่าเป็นการหาทางออกในทางที่ดี ก็คือการไปวัด หรืออาจจะถูกตีความจากนักมานุษยวิทยาที่ศึกษามนุษย์ทั้งหลายว่า เป็นเพราะพวกเธอไม่สามารถที่จะบวช (ห่มผ้าเหลือง/ผ้ากาสาวภัตท์) ด้วยความเชื่อที่ว่า พ่อแม่จะได้บุญจากการเกาะชายผ้าเหลืองลูกชายขึ้นสวรรค์ บุญนี้ลูกสาวทำไม่ได้

ผู้หญิง=ลูกสาวจึงหาวิธีการทำบุญอย่างอื่น เราจะพบแม่ชี นักบวชหญิงจำนวนมากในประเทศไทยที่รับใช้พระพุทธศาสนา มีความเชื่อและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้หญิงที่ทำบุญมากมายในพระพุทธศาสนา และยอมรับคำสอนว่าการเกิดมาเป็นผู้หญิงนั้นไม่ดีอย่างไร หากเป็นผู้หญิงที่ดีต้องทำอย่างไร

หากจะมีใครในโลกแห่งพระพุทธศาสนาที่ยอมรับในการบรรลุธรรมอย่างเท่าเทียมของมนุษย์ไม่ว่าเพศใด ก็คงจะเป็นพระอานนท์และพระพุทธเจ้า

พระอานนท์เป็นผู้ทูลถามพระพุทธองค์เมื่อครั้งพระนางปหาปชาบดีโคตรมี ทูลขอทรงออกบวชเป็นภิกษุณีพระองค์แรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงกล่าวเองว่า ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงต่างสามารถเข้าถึงสภาวะแห่งอรหันตผลได้ไม่ต่างกัน หมายความว่า ความเป็นเพศ ไม่ได้เป็นอุปสรรค

แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน...

ทางโลกแล้วผู้หญิงถูกคาดหวังจากสังคมค่อนข้างมากเรื่องการต้องอยู่ในกรอบของ "ความเป็นผู้หญิงดี" แต่ผู้ชายถูกคาดหวังสูงกว่าในแง่ของการประสบความสำเร็จในสังคม อย่างไหนยากกว่าหรือกดดันมากกว่า...

เราอาจจะไม่ต้องตอบวันนี้ เพราะเท่าที่พี่เรียนรู้มาช่วงหนึ่งของชีวิต พี่ชื่นชอบความคิดเห็นของพระอานนท์และพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็สามารถเข้าสู่อรหันตผล หรือการเข้าถึงความดี การเข้าถึงการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ

ซึ่งหากศึกษาให้ดีแล้ว ผู้หญิงหรือผู้ชายในชนชั้น วรรณะต่างๆ ที่อยู่ในอินเดียต่างมาบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งก้าวข้ามความคิดในเรื่องชนชั้น มามองในเนื้อตัวของความเป็นมนุษย์ ที่แม้แต่เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธปัจจุบันยังไม่สามรถสร้างความเป็นชุมชนที่เท่าเทียมกันในแง่ของจิตวิญญาณและการปฏิบัติเหมือนกับสมัยพุทธกาลได้ แม้เวลาจะล่วงเลยมมากนักก็ตาม

ปัจจุบัน แม้คนจะมีเครื่องทุ่นแรงมากขึ้น แต่คนกลับมีเวลาน้อยลง สำหรับที่จะพัก อยู่กับตนเอง  แต่ไม่ใช่การอยู่เฉยๆ ในความหมายของการไม่ทำงาน ที่คนในสังคมมองว่าไม่ดี แต่ความหมายของการอยู่กับตนเอง ง่ายๆ คือ การอยู่โดยไม่มีโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์อยู่เป็นเพื่อนเรา รวมทั้งการคิดถึงสิ่งอื่นนอกตัว

เครื่องทุ่นแรงเหล่านี้แทนที่จะทำให้ชีวิตเรียบง่าย และมีเวลาสำหรับการเรียนรู้มากขึ้น กลับทำให้ชีวิตยุ่ง วุ่นวาย มีเวลาน้อยลง... ตกลงเราเลยไม่รู้ว่าเราเป็นคนใช้มันหรือมันใช้เรากันแน่ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ไม่มีชีวิต

เราเห็นสังคมปัจจุบันที่ยากขึ้นด้วยเครื่องมือแล้ว ไม่เพียงเท่านี้... หากจิตใจมนุษย์ก็ยังซับซ้อนมากขึ้น แม้แต่การที่จะเข้าใจตนเองก็ยังยากขึ้น ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างไม่อยากมีความทุกข์

หากเปรียบเทียบแบบก้าวกระโดด ไม่มองประวัติศาสตร์มากนัก มองเพียงแค่ความเป็นมนุษย์ มนุษย์สมัยนี้มีความทุกข์ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังทุกข์จากความไม่รู้ หรือไม่...แม้กระทั่งรู้ว่าตัวเองทุกข์

สิ่งเหล่านี้บอกอะไร... สำหรับพี่ ความทุกข์ปัจจุบัน มันท้าทายให้พี่ออกห่างจากสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อลองดูสิว่า ชีวิตจะดีขึ้นหรือไม่ ...แต่ก็อาจจะเป็นแค่เรื่องที่จัดการได้เฉพาะบุคคล แต่ความทุกข์ที่มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อให้กับมนุษย์ได้เรียนรู้ และเติบโตทางด้านจิตวิญญาณ แม้เรื่องง่ายๆ คือ การเรียนรู้ที่จะไม่ยึดติดกับสิ่งใด ก็ยากมากแล้ว

พี่กำลังมองหาทาง...อยู่นะ ไม่รู้จะเจอหรือไม่...

สำหรับพี่ตอนนี้กำลังเรียนรู้ตัวเอง เพื่อลดตัวตนอยู่ ...ไม่รู้จะเป็นยังไง...

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน "บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมาเพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา ปลายปี 2551 นี้ ผมมีโปรแกรมไปเจริญสติที่วัดป่าสุคะโตอีกครั้ง ภายหลังจากเมื่อสิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปที่วัดป่าสุคะโตแล้วและได้พบหลัก พบหนทาง หลายอย่างที่เหมาะสมกับตัวเองยิ่งนัก แต่การเดินทางไปครั้งนี้ไม่เหมือนปีก่อน....มีหลายเรื่องเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา สิ่งที่เข้ามารับรู้ทำให้อารมณ์ของผมเกิดขึ้นไปต่างๆ นานา และสิ่งที่เสียใจที่สุด ทำให้ใจหม่นหมองมาหลายวัน นั่นคือการมรณภาพของ "หลวงปู่" เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงโครงการ “ธรรมทานสู่โรงพยาบาล” ที่ผมและลูกปัดไข่มุก ร่วมกันทำในนามกลุ่ม “ธรรมะทำดี” – กลุ่มที่เราสองคนร่วมกันคิด ร่วมกันก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา เพื่อการเผยแพร่ธรรมะที่เราได้พบและเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่ผ่านมา พวกเราสองคนต้องขอบคุณพี่ๆ หลายๆ ท่านที่ได้ส่งหนังสือมาให้นะครับ ตอนนี้มีคนที่มอบหนังสือมาหลายเล่ม ทั้งนิตยสาร และหนังสือธรรมะ และก็มีบางส่วนที่เราไปหาซื้อแถวจตุจักร จากเงินเก็บของเราที่มีอยู่
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง พี่มีนา  ผมหายจากหน้าจอไปนานเพราะมีงานให้ทำ จนฟกช้ำจิตใจไปทั่วเลย ไม่ค่อยมีเวลาได้พัก เพราะงานที่ผมรัก ทำให้ผมต้องใช้กำลังกายและความคิดมากเหลือล้น ผมจึงเป็นดั่งคนที่นำเอาพลังชีวิตในอนาคตมาใช้ ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่าจะพอมีเรี่ยวแรงเหลือใช้หรือไม่ในกาลต่อไป เฮ้อ...แต่ที่จะเล่าให้พี่ฟังครานี้ก็คือ ช่วงที่ผ่านมาผมและ “ลูกปัดไข่มุก” ได้ไปจัดห้องสนทนาธรรมชื่อห้องว่า “ห้องธรรมตามใจ” เนื่องในงานเพศศึกษาวิชาการขององค์การแพธ แล้วมีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย ทว่าในฉบับนี้อยากเอาคำคมชวนคิดที่ “ลูกปัดไข่มุก” และผมได้ช่วยกันคิดและเขียนขึ้นมาบอกเล่าต่อ ดังนี้ครับ 1.…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...น้อง พันธกุมภา ความขี้เกียจมันไม่เข้าใคร ออกใครจริงๆ ... แต่ตอนนี้ต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำงานแล้ว เพราะคนที่อดทนไม่ได้เมื่อเราไม่ทำงานก็คือ “แม่” ของเราเอง แม่ของพี่ เป็นภาพสะท้อนของคนจีนในเมืองไทย รุ่นที่ 2 ที่ยังคง ลำบาก ทำงานหนัก และถือปรัชญาพุทธ “ขงจื๊อ” ในเรื่องการทำงานว่าต้องมี ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ความขยัน อดทน และอดออม แม่มีทุกอย่างจริงๆ แต่พี่อาจจะไม่มีทุกอย่าง อย่างที่แม่มี เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เรามีความเหมือนและความต่าง แม้เราจะเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวที่สอนให้เราเป็นคนค้าขาย เราอาจจะไม่ได้อยากค้าขาย ครอบครัวสอนให้เราทำงานหนัก…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้... แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเองนอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเองการพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...พันธกุมภา ตั้งแต่ตกงาน พี่ยังไม่ได้หยุดงานเลย พี่พบว่าโลกปัจจุบันมีงานอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนิยามมันว่าเป็นงานอย่างไร สำหรับชีวิตพี่ตอนนี้ มีงานแบบที่ถูกให้คุณค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม และงานที่ไม่ได้ถูกให้ค่าเชิงเศรษฐกิจแต่จำเป็นต้องทำ อันนี้ยังไม่ได้นับรวมเรื่องทางธรรมที่พี่ไปพบมา คืองานที่ทำแล้วไม่มีคุณค่าทางโลกแต่ได้ “บุญ” คิดดูสิว่า... ในโลกเรามีงานมากมายขนาดไหน งานที่พี่ลาออกมาเพื่อขอพัก พี่ยังไม่ได้พักเลยจนกระทั่งบัดนี้ เพราะพี่ทำแต่งานที่ไม่ให้ค่าทางเศรษฐกิจ อย่าง การดูแลแม่ งานบ้าน และการดูแลบ้าน และยังงานอื่นๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับครอบครัว…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา ผมขอแสดงความดีกับพี่สาวของผมด้วยนะครับ ที่มีโอกาสได้พักผ่อน แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการที่เราตกงานนั้นเปรียบเสมือนการพายเรือในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่เคว้งคว้างไม่รู้ว่าจะมีหนทางในงานใหม่อย่างไรได้อีก ผมทราบดีว่าพี่คงจะเหนื่อยจากการทำงานมิน้อยเลย และเชื่อว่าการได้รับมอบหมายงานเยอะคงไม่ใช่สาเหตุของการออกจากงานหรอกใช่ไหมครับ ผมรู้ว่าจดหมายหลายฉบับที่พี่ได้เขียนมาบอกเล่านั้นมันสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้กับวิถีชีวิตความเป็นคนในเมืองหลวง และรวมถึงการต้องสัมพันธ์กับคนมากหน้าหลายตา ที่มีตัวตนแตกต่างกันไป การที่เราทำงานที่เรารัก…
พันธกุมภา
มีนา  ถึง พันธกุมภา พี่กำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ... ฉันกำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ เดือนสิงหาคมนี้เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการทำงานอย่างเป็นทางการของฉัน ญาติพี่น้อง... เจ้านาย... เพื่อนร่วมงาน... เพื่อน... ต่างเป็นห่วงเป็นใยกลัวว่าพี่จะว่าง กลัวว่าฉันจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้ ตอนที่ฉันทำงาน พวกเขาต่างให้ความห่วง ความกังวล ว่าฉันทำงานหนักเกินไป  คนและสังคมสมัยนี้ให้คุณค่ากับการทำงานมากกว่าคุณค่าของความว่างงาน พี่เคยมีประสบการณ์การตกงานมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนั้นพี่ยังไม่สามารถปล่อยวางเรื่องการว่างงานได้ แต่ครั้งนี้ พี่พยายามปล่อยวางเรื่องการงานในปัจจุบันเพื่อพบกับความว่าง …
พันธกุมภา
  พันธกุมภาถึง มีนาเมื่อฉบับที่แล้วพี่มีนาได้กล่าวถึงเรื่องการ "ปล่อยวาง" ซึ่งผมมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะหาไม่แล้วเราก็เป็นเพียงแค่ผู้เผชิญกับความสุขที่จิตใจเกิดขึ้นโดยที่หลงยึดติดอย่างไม่ทันรู้ตัวทั่วถ้วนสิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำในที่นี้ก็คือ เรื่องการปล่อยวาง หรือ การวางเฉย ซึ่งคล้ายกับภาษาธรรมที่เรียกว่า "อุเบกขา" นี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เพราะอย่างที่เราได้รู้กันมานั้นก็คือ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ถือว่ามีด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทำสมถะ และการทำวิปัสสนา เท่าที่รู้, การทำสมถะ คือ การทำให้จิตสงบ ทำให้จิตนิ่ง…
พันธกุมภา
มีนา สวัสดี พันธกุมภา รู้ว่าน้องสบายดี พี่ก็ยินดีไปด้วย การดำรงชีวิตอย่างมีสติไม่ใช่เรื่องง่าย พี่ก็ว่างบ้างไม่ว่างบ้าง เพียงแต่ช่วงเวลาที่น้องไม่ว่าง บังเอิญพี่ว่าง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เราจะมีจังหวะชีวิตที่แตกต่างกัน และทำให้การเขียนงานลงตัว พี่ยังคิดอยู่ว่า ถ้าไม่ว่างขึ้นมาพร้อมๆ กัน คงมีปัญหาแน่ๆ สำหรับพี่ ความแตกต่างจึงน่าสนใจ เช่นเดียวกับฤดูที่แตกต่าง ชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ช่วงสัปดาห์ที่น้องกำลังมีความสุขอยู่นั้น ชีวิตของพี่เหน็ดเหนื่อยและผจญกับความทุกข์ของคนอื่น แล้วยึดมาเป็นความทุกข์ของตนเอง ... บางทีพี่ก็คิดว่า ทำไมเราจึงเป็นคนอย่างนั้นไปได้ และทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา สวัสดีครับพี่มีนา เป็นอะไรไปถึงไหนอย่างไรบ้างครับ หวังว่าพี่จะสบายดีมีสติในทุกๆ ความสนุกนะครับ อืม...จะว่าไปแล้วเราก็ไม่ได้ตอบรับจดหมายกันนานทีเดียว บางทีพี่ก็ว่างมากมายจนผมรู้สึกอิจฉาตาร้อน และผมเองบางทีก็ว่างนิดหน่อย พอมีเวลามานั่งขีดเขียน เวียนวนให้พี่ได้ยลได้ติดตามอยู่เนืองๆ ช่วงที่ผ่านมาวันเข้าพรรษา ผมพาตัวเองไปเข้าวัดมาครับ แถวๆ เกาะสีชัง ได้ไปกับคนที่รักและใช้ชีวิต “ดูจิต” สนทนาธรรมและดื่มด่ำบรรยากาศอบอุ่นจากไอทะเล ทำกับข้าวกินกันริมชายฝั่ง นั่งนับดาวยามราตรี มีเวลาก็ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวรอบเกาะ หาซื้อเงาะ ซื้อทุเรียนมานั่งกิน รินน้ำเปล่าชนกัน…