Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

ช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้...

แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเอง

นอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเอง

การพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ ไปที่ละวางจากเรื่องงานในสำนักงาน งานอะไรก็ตามที่ต้องทำเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา แต่เรายังละวางเรื่องานที่จำเป็นในชีวิตไม่ได้ เช่น การทำอาหาร ซักผ้า ทำความสะอาด ... เราก็ยังทำงานอยู่ เพียงแต่งานนี้ไม่ได้มีมูลค่าทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทำเพื่อให้ตัวเราเองดำรงชีวิตอยู่ได้

พี่เคยเล่าเรื่องงานที่ทำแล้วถูกให้ค่าและไม่ถูกให้ค่าทางเศรษฐกิจ พี่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับผู้หญิงที่ถูกคนรอบข้าง ครอบครัว และสังคมหล่อหลอมมาให้มีหน้าที่ต่องานที่ไม่มีค่าทางสังคมนั้น และต้องรับที่จะทำงานนั้นๆ โดยไม่ตั้งคำถาม หากถามก็เป็นผู้หญิงแปลก และอาจจะถูกลงโทษจากคนรอบข้าง แม้ไม่ใช่การถูกเฆี่ยนตีแต่อาจจะเป็นการซุบซิบ นินทา

ผู้หญิงจำนวนมากในโลกนี้จึงอยู่กับความกดดัน การถูกกดดัน โดยที่ไม่เคยตั้งคำถาม...

ตอนอยู่ที่วัด หลวงพี่ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า "มนุษย์ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย เพศไหนๆ ก็ทุกข์เหมือนกัน..."

สำหรับพี่แล้ว พี่อยากจะบอกว่า ในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าเพศไหนๆ ก็คงทุกข์ไม่ต่างกัน แต่ผู้หญิงมีความทุกข์ทางโลกและสังคมมากกว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดอาจจะดูจากปริมาณของคนที่ไปวัด จำนวนมากเป็นผู้หญิงทั้งนั้น

ที่ผ่านมา ผู้หญิงที่ไปวัดถูกมองว่าเป็นการหาทางออกในทางที่ดี ก็คือการไปวัด หรืออาจจะถูกตีความจากนักมานุษยวิทยาที่ศึกษามนุษย์ทั้งหลายว่า เป็นเพราะพวกเธอไม่สามารถที่จะบวช (ห่มผ้าเหลือง/ผ้ากาสาวภัตท์) ด้วยความเชื่อที่ว่า พ่อแม่จะได้บุญจากการเกาะชายผ้าเหลืองลูกชายขึ้นสวรรค์ บุญนี้ลูกสาวทำไม่ได้

ผู้หญิง=ลูกสาวจึงหาวิธีการทำบุญอย่างอื่น เราจะพบแม่ชี นักบวชหญิงจำนวนมากในประเทศไทยที่รับใช้พระพุทธศาสนา มีความเชื่อและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้หญิงที่ทำบุญมากมายในพระพุทธศาสนา และยอมรับคำสอนว่าการเกิดมาเป็นผู้หญิงนั้นไม่ดีอย่างไร หากเป็นผู้หญิงที่ดีต้องทำอย่างไร

หากจะมีใครในโลกแห่งพระพุทธศาสนาที่ยอมรับในการบรรลุธรรมอย่างเท่าเทียมของมนุษย์ไม่ว่าเพศใด ก็คงจะเป็นพระอานนท์และพระพุทธเจ้า

พระอานนท์เป็นผู้ทูลถามพระพุทธองค์เมื่อครั้งพระนางปหาปชาบดีโคตรมี ทูลขอทรงออกบวชเป็นภิกษุณีพระองค์แรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงกล่าวเองว่า ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงต่างสามารถเข้าถึงสภาวะแห่งอรหันตผลได้ไม่ต่างกัน หมายความว่า ความเป็นเพศ ไม่ได้เป็นอุปสรรค

แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน...

ทางโลกแล้วผู้หญิงถูกคาดหวังจากสังคมค่อนข้างมากเรื่องการต้องอยู่ในกรอบของ "ความเป็นผู้หญิงดี" แต่ผู้ชายถูกคาดหวังสูงกว่าในแง่ของการประสบความสำเร็จในสังคม อย่างไหนยากกว่าหรือกดดันมากกว่า...

เราอาจจะไม่ต้องตอบวันนี้ เพราะเท่าที่พี่เรียนรู้มาช่วงหนึ่งของชีวิต พี่ชื่นชอบความคิดเห็นของพระอานนท์และพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็สามารถเข้าสู่อรหันตผล หรือการเข้าถึงความดี การเข้าถึงการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ

ซึ่งหากศึกษาให้ดีแล้ว ผู้หญิงหรือผู้ชายในชนชั้น วรรณะต่างๆ ที่อยู่ในอินเดียต่างมาบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งก้าวข้ามความคิดในเรื่องชนชั้น มามองในเนื้อตัวของความเป็นมนุษย์ ที่แม้แต่เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธปัจจุบันยังไม่สามรถสร้างความเป็นชุมชนที่เท่าเทียมกันในแง่ของจิตวิญญาณและการปฏิบัติเหมือนกับสมัยพุทธกาลได้ แม้เวลาจะล่วงเลยมมากนักก็ตาม

ปัจจุบัน แม้คนจะมีเครื่องทุ่นแรงมากขึ้น แต่คนกลับมีเวลาน้อยลง สำหรับที่จะพัก อยู่กับตนเอง  แต่ไม่ใช่การอยู่เฉยๆ ในความหมายของการไม่ทำงาน ที่คนในสังคมมองว่าไม่ดี แต่ความหมายของการอยู่กับตนเอง ง่ายๆ คือ การอยู่โดยไม่มีโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์อยู่เป็นเพื่อนเรา รวมทั้งการคิดถึงสิ่งอื่นนอกตัว

เครื่องทุ่นแรงเหล่านี้แทนที่จะทำให้ชีวิตเรียบง่าย และมีเวลาสำหรับการเรียนรู้มากขึ้น กลับทำให้ชีวิตยุ่ง วุ่นวาย มีเวลาน้อยลง... ตกลงเราเลยไม่รู้ว่าเราเป็นคนใช้มันหรือมันใช้เรากันแน่ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ไม่มีชีวิต

เราเห็นสังคมปัจจุบันที่ยากขึ้นด้วยเครื่องมือแล้ว ไม่เพียงเท่านี้... หากจิตใจมนุษย์ก็ยังซับซ้อนมากขึ้น แม้แต่การที่จะเข้าใจตนเองก็ยังยากขึ้น ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างไม่อยากมีความทุกข์

หากเปรียบเทียบแบบก้าวกระโดด ไม่มองประวัติศาสตร์มากนัก มองเพียงแค่ความเป็นมนุษย์ มนุษย์สมัยนี้มีความทุกข์ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังทุกข์จากความไม่รู้ หรือไม่...แม้กระทั่งรู้ว่าตัวเองทุกข์

สิ่งเหล่านี้บอกอะไร... สำหรับพี่ ความทุกข์ปัจจุบัน มันท้าทายให้พี่ออกห่างจากสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อลองดูสิว่า ชีวิตจะดีขึ้นหรือไม่ ...แต่ก็อาจจะเป็นแค่เรื่องที่จัดการได้เฉพาะบุคคล แต่ความทุกข์ที่มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อให้กับมนุษย์ได้เรียนรู้ และเติบโตทางด้านจิตวิญญาณ แม้เรื่องง่ายๆ คือ การเรียนรู้ที่จะไม่ยึดติดกับสิ่งใด ก็ยากมากแล้ว

พี่กำลังมองหาทาง...อยู่นะ ไม่รู้จะเจอหรือไม่...

สำหรับพี่ตอนนี้กำลังเรียนรู้ตัวเอง เพื่อลดตัวตนอยู่ ...ไม่รู้จะเป็นยังไง...

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…