Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

ช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้...

แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเอง

นอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเอง

การพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ ไปที่ละวางจากเรื่องงานในสำนักงาน งานอะไรก็ตามที่ต้องทำเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา แต่เรายังละวางเรื่องานที่จำเป็นในชีวิตไม่ได้ เช่น การทำอาหาร ซักผ้า ทำความสะอาด ... เราก็ยังทำงานอยู่ เพียงแต่งานนี้ไม่ได้มีมูลค่าทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทำเพื่อให้ตัวเราเองดำรงชีวิตอยู่ได้

พี่เคยเล่าเรื่องงานที่ทำแล้วถูกให้ค่าและไม่ถูกให้ค่าทางเศรษฐกิจ พี่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับผู้หญิงที่ถูกคนรอบข้าง ครอบครัว และสังคมหล่อหลอมมาให้มีหน้าที่ต่องานที่ไม่มีค่าทางสังคมนั้น และต้องรับที่จะทำงานนั้นๆ โดยไม่ตั้งคำถาม หากถามก็เป็นผู้หญิงแปลก และอาจจะถูกลงโทษจากคนรอบข้าง แม้ไม่ใช่การถูกเฆี่ยนตีแต่อาจจะเป็นการซุบซิบ นินทา

ผู้หญิงจำนวนมากในโลกนี้จึงอยู่กับความกดดัน การถูกกดดัน โดยที่ไม่เคยตั้งคำถาม...

ตอนอยู่ที่วัด หลวงพี่ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า "มนุษย์ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย เพศไหนๆ ก็ทุกข์เหมือนกัน..."

สำหรับพี่แล้ว พี่อยากจะบอกว่า ในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าเพศไหนๆ ก็คงทุกข์ไม่ต่างกัน แต่ผู้หญิงมีความทุกข์ทางโลกและสังคมมากกว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดอาจจะดูจากปริมาณของคนที่ไปวัด จำนวนมากเป็นผู้หญิงทั้งนั้น

ที่ผ่านมา ผู้หญิงที่ไปวัดถูกมองว่าเป็นการหาทางออกในทางที่ดี ก็คือการไปวัด หรืออาจจะถูกตีความจากนักมานุษยวิทยาที่ศึกษามนุษย์ทั้งหลายว่า เป็นเพราะพวกเธอไม่สามารถที่จะบวช (ห่มผ้าเหลือง/ผ้ากาสาวภัตท์) ด้วยความเชื่อที่ว่า พ่อแม่จะได้บุญจากการเกาะชายผ้าเหลืองลูกชายขึ้นสวรรค์ บุญนี้ลูกสาวทำไม่ได้

ผู้หญิง=ลูกสาวจึงหาวิธีการทำบุญอย่างอื่น เราจะพบแม่ชี นักบวชหญิงจำนวนมากในประเทศไทยที่รับใช้พระพุทธศาสนา มีความเชื่อและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้หญิงที่ทำบุญมากมายในพระพุทธศาสนา และยอมรับคำสอนว่าการเกิดมาเป็นผู้หญิงนั้นไม่ดีอย่างไร หากเป็นผู้หญิงที่ดีต้องทำอย่างไร

หากจะมีใครในโลกแห่งพระพุทธศาสนาที่ยอมรับในการบรรลุธรรมอย่างเท่าเทียมของมนุษย์ไม่ว่าเพศใด ก็คงจะเป็นพระอานนท์และพระพุทธเจ้า

พระอานนท์เป็นผู้ทูลถามพระพุทธองค์เมื่อครั้งพระนางปหาปชาบดีโคตรมี ทูลขอทรงออกบวชเป็นภิกษุณีพระองค์แรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงกล่าวเองว่า ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงต่างสามารถเข้าถึงสภาวะแห่งอรหันตผลได้ไม่ต่างกัน หมายความว่า ความเป็นเพศ ไม่ได้เป็นอุปสรรค

แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน...

ทางโลกแล้วผู้หญิงถูกคาดหวังจากสังคมค่อนข้างมากเรื่องการต้องอยู่ในกรอบของ "ความเป็นผู้หญิงดี" แต่ผู้ชายถูกคาดหวังสูงกว่าในแง่ของการประสบความสำเร็จในสังคม อย่างไหนยากกว่าหรือกดดันมากกว่า...

เราอาจจะไม่ต้องตอบวันนี้ เพราะเท่าที่พี่เรียนรู้มาช่วงหนึ่งของชีวิต พี่ชื่นชอบความคิดเห็นของพระอานนท์และพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็สามารถเข้าสู่อรหันตผล หรือการเข้าถึงความดี การเข้าถึงการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ

ซึ่งหากศึกษาให้ดีแล้ว ผู้หญิงหรือผู้ชายในชนชั้น วรรณะต่างๆ ที่อยู่ในอินเดียต่างมาบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งก้าวข้ามความคิดในเรื่องชนชั้น มามองในเนื้อตัวของความเป็นมนุษย์ ที่แม้แต่เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธปัจจุบันยังไม่สามรถสร้างความเป็นชุมชนที่เท่าเทียมกันในแง่ของจิตวิญญาณและการปฏิบัติเหมือนกับสมัยพุทธกาลได้ แม้เวลาจะล่วงเลยมมากนักก็ตาม

ปัจจุบัน แม้คนจะมีเครื่องทุ่นแรงมากขึ้น แต่คนกลับมีเวลาน้อยลง สำหรับที่จะพัก อยู่กับตนเอง  แต่ไม่ใช่การอยู่เฉยๆ ในความหมายของการไม่ทำงาน ที่คนในสังคมมองว่าไม่ดี แต่ความหมายของการอยู่กับตนเอง ง่ายๆ คือ การอยู่โดยไม่มีโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์อยู่เป็นเพื่อนเรา รวมทั้งการคิดถึงสิ่งอื่นนอกตัว

เครื่องทุ่นแรงเหล่านี้แทนที่จะทำให้ชีวิตเรียบง่าย และมีเวลาสำหรับการเรียนรู้มากขึ้น กลับทำให้ชีวิตยุ่ง วุ่นวาย มีเวลาน้อยลง... ตกลงเราเลยไม่รู้ว่าเราเป็นคนใช้มันหรือมันใช้เรากันแน่ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ไม่มีชีวิต

เราเห็นสังคมปัจจุบันที่ยากขึ้นด้วยเครื่องมือแล้ว ไม่เพียงเท่านี้... หากจิตใจมนุษย์ก็ยังซับซ้อนมากขึ้น แม้แต่การที่จะเข้าใจตนเองก็ยังยากขึ้น ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างไม่อยากมีความทุกข์

หากเปรียบเทียบแบบก้าวกระโดด ไม่มองประวัติศาสตร์มากนัก มองเพียงแค่ความเป็นมนุษย์ มนุษย์สมัยนี้มีความทุกข์ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังทุกข์จากความไม่รู้ หรือไม่...แม้กระทั่งรู้ว่าตัวเองทุกข์

สิ่งเหล่านี้บอกอะไร... สำหรับพี่ ความทุกข์ปัจจุบัน มันท้าทายให้พี่ออกห่างจากสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อลองดูสิว่า ชีวิตจะดีขึ้นหรือไม่ ...แต่ก็อาจจะเป็นแค่เรื่องที่จัดการได้เฉพาะบุคคล แต่ความทุกข์ที่มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อให้กับมนุษย์ได้เรียนรู้ และเติบโตทางด้านจิตวิญญาณ แม้เรื่องง่ายๆ คือ การเรียนรู้ที่จะไม่ยึดติดกับสิ่งใด ก็ยากมากแล้ว

พี่กำลังมองหาทาง...อยู่นะ ไม่รู้จะเจอหรือไม่...

สำหรับพี่ตอนนี้กำลังเรียนรู้ตัวเอง เพื่อลดตัวตนอยู่ ...ไม่รู้จะเป็นยังไง...

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…