Skip to main content

มีนา


ถึง...น้อง พันธกุมภา


ความขี้เกียจมันไม่เข้าใคร ออกใครจริงๆ ...

แต่ตอนนี้ต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำงานแล้ว เพราะคนที่อดทนไม่ได้เมื่อเราไม่ทำงานก็คือ “แม่” ของเราเอง


แม่ของพี่ เป็นภาพสะท้อนของคนจีนในเมืองไทย รุ่นที่ 2 ที่ยังคง ลำบาก ทำงานหนัก และถือปรัชญาพุทธ “ขงจื๊อ” ในเรื่องการทำงานว่าต้องมี ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ความขยัน อดทน และอดออม แม่มีทุกอย่างจริงๆ แต่พี่อาจจะไม่มีทุกอย่าง อย่างที่แม่มี


เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เรามีความเหมือนและความต่าง แม้เราจะเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวที่สอนให้เราเป็นคนค้าขาย เราอาจจะไม่ได้อยากค้าขาย ครอบครัวสอนให้เราทำงานหนัก ในที่สุดเราอาจจะเลือกที่จะไม่ทำงานหนัก


ทำไม เราจึงแตกต่าง...


พี่คิดว่า ทางเลือกและทางเดินของเรา ย่อมเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง เลือกที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเรา เมื่อเราเข้มแข็งพอ ไม่ว่าเราจะได้รับการสนับสนุนหรือไม่ก็ตาม


เมื่อตอนที่พี่ยังเด็ก จะต้องทำงานที่เกี่ยวกับการค้าขาย คือ การช่วยที่บ้านขายของ ทำงานบ้าน และใช้ชีวิตเหมือนเพื่อนๆ เด็กๆ คนอื่นๆ ไปด้วยในเวลาเดียวกัน คือเรื่องการศึกษา ...


สำหรับพี่แล้วเป็นเด็กที่ขี้เกียจอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการเรียนมาก พี่จะอ่านรอบเดียวเท่านั้น แต่ตอนที่เรียนก็จะตั้งใจเรียน เนื่องจากเรารู้สึกว่าการฟังเป็นเรื่องสนุก เราสนุกและตื่นเต้นกับการได้นั่งเรียน ได้รู้อะไรใหม่ๆ และคิดอะไรตามที่ครูเล่าให้ฟัง


แต่เท่าที่จำได้ วิชาพุทธศาสนา พี่ไม่ได้อะไรมากนัก นอกจากการสวดมนต์ เพราะสมัยนั้นมีการแข่งขันสวดมนต์ และทุกคนก็แข่งกันให้ได้เข้าประกวด เพราะคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดี เหมือนกับแข่งกันเรียน และเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของการเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในชั้นมัธยมสมัยสิบกว่าปีก่อน ... ไม่รู้ว่าสมัยนี้มีหรือเปล่า


พออยู่บ้าน ก็ต้องทำงาน พี่เลยอดรู้สึกไม่ได้ว่า ชีวิตมีแต่เรื่องงาน ช่วง 3-4 เดือนก่อนจึงคิดว่า เราน่าจะหยุดงานบ้าง หยุดเพื่อฟังเสียงลมหายใจของเราบ้าง


แต่คนที่น่าจะเข้าใจเรามากที่สุดคือ แม่กลับบอกเราว่า ... “ทำงานเถอะลูก” ... เซ็งเลย


พอมาถึงจุดนี้ พี่นึกถึงชีวิตของเพื่อนๆ ที่ต่างทำงานเพื่อหาเงินมาหล่อเลี้ยงชีวิต บริโภคสิ่งต่างๆ ตามความต้องการ บางคนเป็นพยาบาล ทำงานปกติและต้องเข้าเวร เพื่อให้มีเงินพิเศษมาผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ดูแลครอบครัว พ่อแม่ เดือนหนึ่งทำงานไม่ต่ำกว่า 26-28 วัน วันหนึ่งทำงาน 8-12 ชั่วโมง บางวันก็ควบ 3 เวร 24 ชั่วโมง


เพื่อนที่ทำงานโรงงานอยู่ในสายการผลิต สมัยที่ยังมีการสังการผลิตค่อนข้างมาก บางคนทำงาน 2 กะ (2 ช่วงเวลา คือ 16 ชั่วโมง) บางคนทำงาน 3 กะ (24 ชั่วโมง) ถ้าวันไหนได้ทำงาน 8 ชั่วโมงก็จะรู้สึกว่าชีวิตมันโล่งๆ


ครอบครัวที่สนิทกันครอบครัวหนึ่งเป็นเจ้าของโรงงานรับซื้อผลผลิตทางการประมง คือ ปลา กุ้ง จากทะเลเพื่อมาแปรรูป วันหนึ่งเขาทำงานไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง


พี่เห็นคนเหล่านี้มีเงินใช้มากมาย ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีอาจจะได้น้อยหน่อย เศรษฐกิจดีๆ ซื้อง่ายขายคล่องก็อาจจะได้มากหน่อย แต่ทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อย และไม่มีเวลาใช้เงิน ไม่มีเวลากระทั่งไปเดินซื้อของกินของใช้ส่วนตัว ไม่มีเวลาที่จะขับรถที่ซื้อไว้


หลายคนเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายที่สะสมความเหนื่อยก็นำมาซึ่งโรคภัย คือร่างกายฝืนกระทั่งไม่ไหวแล้ว ไม่มีเรี่ยวแรงจะต่อสู้ต่อไป ที่โชคร้ายก็เป็นมะเร็ง หรือเส้นเลือดในสมองแตก เนื่องจากความเครียด


พี่เคยถามกับพี่สาวว่า... ทำงานเพื่ออะไร?...”

คำตอบคือ “พออายุเยอะๆ ไป จะได้สบายไง...”

เราก็คุยกันว่า “มันก็คือการพักใช่ไหม?”

เธอก็ตอบว่า “อืม...ก็ใช่”


พี่ก็เลยเอาข้ออ้างของความขี้เกียจมาบอกเขาว่า “ฉันก็พักอยู่นี่ไง ไม่ต้องรวยก็พักได้”

โชคดีที่บ้านเมืองของเราไม่ใช่ประเทศที่อาหารการกินแพงมากมาย ถ้าเรารู้จักใช้เราก็ไม่ได้อดอยากยากแค้นอะไร


เรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง (ที่หลายคนอาจจะเคยฟังมาบ้างแล้ว) พี่ชอบมาก อยากเล่าให้ฟัง...


มีผู้ชายคนหนึ่ง วัยประมาณ 50-60 ปี นั่งตกปลาอยู่ริมน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ สวยงาม เหมาะกับการพักผ่อนมาก เขานั่งในท่าสบายๆ เขามีกระติกใส่เหยื่อตกปลา มีน้ำไว้ดื่ม อาหารพกใส่ห่อนิดหน่อย ใส่หมวก และนั่งอยู่ใต้ร่มไม้


ผู้ชายอีกคนหนึ่งขับรถเบนซ์มาจากเมืองหลวงเพื่อมาดูที่ดินผืนนี้ แล้วเขาจะมาพัฒนาเป็นท่าเรือ รีสอร์ท และสถานที่พักผ่อนตกปลากสำหรับคนกรุง เนื่องจากเขาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์


ผู้ชายทั้งสองคนนี้อายุเท่ากัน และได้พบกัน ขณะที่ผู้ชายคนแรกกำลังนั่งตกปลาอยู่นั้นเอง

ผู้ชายคนที่สองถามว่า “คุณมานั่งที่นี่ทำไม?”

ผู้ชายคนแรกตอบว่า “แล้วคุณล่ะมาทำไม?”


ผู้ชายคนที่สองจึงเล่าให้ฟังว่า เขาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตอนแรกเขาเติบโตมาจากครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอาชีพรับซื้อปลาจากทะเลแห่งนี้ อยู่ห่างไปไม่มากจากจุดที่ทั้งสองยืนอยู่ ครอบครัวเขามีสะพานปลา โรงงานขนาดใหญ่ โครงการของเขาตอนนี้ก็คือจะขยายธุรกิจครอบครัวที่มีอยู่เพื่อให้มีความมั่นคงขึ้น และขยายมาทำรีสอร์ท ท่าเรือ และสถานพักตากอากาศ บนที่ๆ ยืนอยู่นี้


ผู้ชายคนแรกถามว่า “คุณทำงานหนักมากมายเพื่ออะไร?”

ผู้ชายคนที่สองตอบว่า “ผมจะได้พักตอนแก่ไง แล้วคุณล่ะ”

ผู้ชายคนแรกตอบว่า “ผมก็พักอยู่นี่ไง”




 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…