Skip to main content

พันธกุมภา


ถึง มีนา

 

ปลายปี 2551 นี้ ผมมีโปรแกรมไปเจริญสติที่วัดป่าสุคะโตอีกครั้ง ภายหลังจากเมื่อสิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปที่วัดป่าสุคะโตแล้วและได้พบหลัก พบหนทาง หลายอย่างที่เหมาะสมกับตัวเองยิ่งนัก

 

แต่การเดินทางไปครั้งนี้ไม่เหมือนปีก่อน....มีหลายเรื่องเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา สิ่งที่เข้ามารับรู้ทำให้อารมณ์ของผมเกิดขึ้นไปต่างๆ นานา และสิ่งที่เสียใจที่สุด ทำให้ใจหม่นหมองมาหลายวัน นั่นคือการมรณภาพของ "หลวงปู่" เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อน, ในตอนที่ผมเพิ่งรู้เรื่องการอาพาธของหลวงปู่ จาก "พี่อุ๊" พี่สาวผู้เป็นญาติธรรมที่แสนดี ได้โทรศัพท์มาบอกกับผมว่า หลวงปู่ไม่สบายและกำลังจะเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬา

 

"หลวงปู่เป็นอะไรครับ" ผมถามด้วยความตกใจ

พี่อุ๊ ตอบด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า "หลวงปู่เป็นมะเร็งตับ ไม่รู้ระยะที่ไหน แต่ท่านฉันอาหารไม่ได้แล้ว ยังไงเราไปเยี่ยมทันกันไหม เพราะท่านจะมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ที่โรงพยาบาลจุฬา"

 

ผมตอบตกลง และในใจรู้สึกถึงความเศร้าที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น ผมทำอะไรไม่ถูก พยายามรู้สึกตัว และตั้งสติ ก่อนที่จะติดต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬา เพื่อถามนัดหมายเกี่ยวกับการเข้ารักษาอาการของหลวงปู่ หรือ "พระอาจารย์วรเทพ ฉนฺทพหุโล"

 

เมื่อติดต่อโรงพยาบาลจุฬา ได้แล้ว และรับรู้ การเดินทางเข้ารักษาตัวของหลวงปู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมติดต่อทางหลวงปู่ไมได้ จึงเลือกติดต่อโดยตรงกับโรงพยาบาลจุฬาเลย และเมื่อทราบแล้ว ผมจึงได้ติดต่อกลับไปหาพี่อุ๊ เพื่อเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่

 

เมื่อไปถึง เราพบหลวงปู่กับหลวงพี่ตุ้ม หรือ "พระอาจารย์ สันติพงศ์ เขมปญฺโญ" หลวงปู่นอนพักอยู่บนเตียง ใบหน้าซีดผอมลงมากกว่าเดิม ปากซีดจาง หลวงปู่ยิ้มและทักทายเราสองคนด้วยความเอ็นดู หลวงพี่ตุ้ม ยืนอยู่ปลายเตียงนอน และร่วมทักทายเราสองคนด้วยเช่นกัน

 

ผมสอบถามอาการป่วยของหลวงปู่ ท่านเล่าให้ฟังว่าอาการป่วยด้วยมะเร็งตับนี้เกิดขึ้นนานมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน และก็ค่อยๆ เบาลง และหลังจากที่ท่านได้ไปที่สวนแสงอรุณ ท่านก็เกิดอาการกินอะไรไม่ได้ และอาหารดูจะหวานๆ ในตอนนั้นหลวงพี่ตุ้มได้พาไปตรวจและภายหลังทราบว่าเกิดจากมะเร็งที่ตับออกอาการ

 

หลวงปู่เล่าด้วยรอยยิ้มอยู่ตลอดเวลา แวบตาของท่านมีเมตตาต่อผมมาก ส่วนผมนั่งบนเก้าอี้ข้างๆ ท่าน พี่อุ๊ ยืนอยู่ถัดไป หลวงปู่บอกว่าท่านคิดไว้เสมอว่าวันหนึ่งจะต้องเกิดอาการนี้ขึ้น เพื่อเมื่อก่อนที่ท่านจะบวช ท่านก็เคยดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์เท่าไหร่นัก ท่านยังคิดอยู่ว่าจะเป็นอะไรก่อน จะเป็นที่ตับหรือที่ปอด

 

"หลวงปู่คงจะอยู่กับตัวนี้ เราเคยรับรู้มาแล้วว่าเป็นอย่างไร อาการที่เราเป็น จิตเราบันทึกได้ มีความจำ มันอยู่ในความจำ แต่ถ้าให้ยา อาการคงแรง ไม่รู้จะทนได้ไหม เพราะจิตเรายังไม่เคยรับรู้อารมณ์นั้น แต่ยังไงก็จะพยายามดู ต้องอยู่กับเขาให้ได้ กายป่วยแต่ใจเราไม่ป่วยด้วยอยู่แล้ว" หลวงปู่เล่าด้วยรอยยิ้มแล้ว ทำให้ผมสัมผัสถึงธรรมที่ท่านถ่ายทอด

 

ขณะที่ผมฟังและสนทนากับท่าน ผมไม่กล้าที่จะร้องไห้ให้ท่านรู้ว่าผมเสียใจเพียงใด ในใจมีแต่ความกลัว กลัวหลวงปู่จะมรณภาพ และท่านเองก็ดูเหมือนจะเลือกที่จะอยู่กับมะเร็งและไม่ขอฉีดคีโม ผมน้ำตาเอ่อนองเล็กน้อย พี่อุ๊ ปลอบผมโดยลูบที่ไหล่เบาๆ ....

 

ในช่วงที่สนทนากับหลวงปู่ หลวงพี่ตุ้มท่านก็ได้ร่วมพูดคุยกับเราด้วย ท่านแนะนำเรื่องการปฏิบัติธรรม สอนให้เรา "ดูจิต" เหมือนเรา "แอบมอง" คนที่เราชอบ คือมองเขาแบบไม่ให้เขารู้ตัว ไม่งั้นเขาจะอาย เหมือนกับการดูจิตที่ค่อยๆ ดู ไม่จงใจไปเพ่ง แต่ให้รู้ไปทีละนิดๆ สะสม สภาวะไปเรื่อยๆ และจิตจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่จิตของเรา

 

ผมและพี่อุ๊รับฟังด้วยความตั้งใจ และเราคุยกันว่า คืนนี้จะให้ผมเฝ้าดูแลหลวงปู่ แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องสุขภาพของผมที่ต้องรับการตรวจไตและข้อหัวเข่า ทำให้ไม่สามารถอยู่ดูแลท่านได้ จนสุดท้ายต้องขอลาท่าน และกลับไปทำภารกิจของตัวเอง....ก่อนกลับ ผมเอื้อมมือไปจับกับมือของหลวงปู่ เรากุมมือกันไว้ แม้ไม่มีคำพูดใดๆ ออกมา แต่ผมก็สัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ได้รับจากท่าน

 

ภายหลังจากกลับออกมาจากโรงพยาบาลจุฬา ผมก็ไม่ได้มีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมท่านอีกเลย เพราะงานที่ต้องจัดการมากมาย และภาระที่ทำไม่เสร็จ แต่ผมก็ได้บอกกับพี่อุ๊ไว้ว่า ปลายปีนี้ ผมจะไปหาหลวงปู่ เพราะตอนที่คุยกับหลวงปู่ ผมได้บอกท่านแล้วว่าจะไปหาตอนปลายปี

 

ผมจำได้ว่าเมื่อครั้งที่เดินทางไปวัดป่าสุคะโตตอนแรกนั้น หลวงปู่ได้รับผมไว้สอนปฏิบัติ น้ำเสียงฉะฉานของท่าน ความอ่อนโยนและเมตตาที่ได้รับจากท่านทำให้ผมรู้สึกดีใจที่ได้พบครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง และ "ดงไผ่" คือพื้นที่ฝึกตนอันเปี่ยมด้วยความสงบ สัปปายะ อย่างยิ่ง

 

แม้ว่าตอนแรกผมจะคิดว่าหลวงปู่คือ หลวงพ่อไพศาล วิสาโล แต่เมื่อผมได้รู้ว่าท่านไม่ใช่ ผมก็ไม่ได้เสียใจ แต่กลับดีใจมากกว่าที่ได้พบกับท่าน และท่านยังเมตตาพาผมและพี่ๆ บางท่านไปพบหลวงพ่อไพศาล ที่ "ภูหลง" หรือวัดป่ามหาวัน ซึ่งห่างจากวัดป่าสุคะโตประมาณ 13 กิโลเมตร

 

ต่อมาเมื่อกลับจากวัดป่าสุคะโตในครานั้น ผมก็ได้ติดต่อ โทรศัพท์นมัสการหลวงปู่ และส่งการบ้าน รายงานผลของการปฏิบัติให้ท่านรับทราบและสอนอยู่เสมอๆ ผมจำได้ว่าท่านคอยเตือนผมเรื่องการทำงาน เรื่องการแบ่งเวลา การไม่ส่งใจไปไว้กับคนอื่นมากเกินไป และยังเตือนให้รู้สึกกายและมีสติอยู่เสมอๆ

 

ผมดีใจที่ได้พบและเป็นศิษย์คนหนึ่งของท่าน และผมยังได้บอกกับท่านว่าจะไปนมัสการท่านอีกครั้งตอนปลายปี 2551 ประมาณ 5 วัน แต่ท่านก็เสนอว่าน่าจะมาสัก 10 วัน จะได้อะไรมากกว่ามาสั้นๆ และผมก็บอกกับท่านว่าคงต้องดูก่อน แต่คิดว่าจะไปที่วัดอย่างแน่นอน

 

วันคืนผ่านล่วงมา ภายหลังจากที่ผมได้ไปเยี่ยมหลวงปู่ที่โรงพยาบาลจุฬาได้ไม่กี่อาทิตย์ พี่อุ๊ได้โทรมาบอกกับผมว่า "หลวงปู่เสียแล้ว" ท่านได้มรณภาพไปแล้ว ซึ่งทางวัดป่าสุคะโตจะทำพิธีเพียงไม่กี่วัน เพราะหลวงปู่ท่านได้บริจาคร่างกายให้กับทางโรงพยาบาล

 

ผมร้องไห้ ใจสั่น ทำอะไรไม่ถูก รู้สึกผิดที่ไม่ได้อยู่ดูแลหลวงปู่มากกว่านี้ ตอนที่ท่านมารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬา เสียใจที่ตัวเองจัดการอะไรไม่ได้ และต้องสูญเสียครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพและนับถือไปอย่างไม่หวนกลับมาได้...

 

ช่วงขณะที่ผมเสียใจนั้น จิตภายในก็บอกกับผมว่า เราเสียใจไปจะได้อะไร สู้เราตั้งใจพากเพียรปฏิบัติและตั้งมั่นในหนทางธรรม ตามที่หลวงปู่สอนไว้จะดีกว่า และอย่าลืมว่าทุกชีวิตไม่เที่ยง ความตายคือความจริงที่ทุกคนต้องพบเจอไม่ช้าก็เร็ว ฉะนั้นจึงควรใช้เวลาที่มีอยู่ของชีวิตให้ดีที่สุด และควรมุ่งมั่นกับการภาวนา พาใจให้พบกับธรรมอันสูงสุด

 

ผมตระหนักรู้ถึงความจริงในแง่ที่ว่าความตายคือการแปรเปลี่ยนสภาพจากแบบหนึ่งไปสู่สภาวะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งแม้หลวงปู่จะละสังขารทิ้งกายเนื้อไว้คืนแก่ผืนโลกและธาตุขันธ์ต่างๆ แต่ผมก็รู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าท่านอยู่ข้างๆ และเฝ้าดูผมอยู่เสมอ

 

หลวงปู่ทำให้ผมคิดถึงวัดป่าสุคะโต คิดถึงวันเก่าๆ ที่ผมได้เรียนรู้หลายอย่างจากที่นั้น เรียนรู้ธรรมที่นำพากายและใจนี้ให้เกิดสติปัญญา .....

 

ปลายปีนี้ ผมตัดสินใจไปที่วัดป่าสุคะโต ตามคำมั่นที่ให้ไว้กับหลวงปู่ และผมได้ชวนเพื่อนผองให้ร่วมเดินทางไปด้วยกันในครั้งนี้ด้วย หลายคนยินดีไปร่วมด้วย หลายคนอนุโมทนาในการเดินทาง พี่ๆ หลายคนนัดแนะการเดินทางและเตรียมที่จะไปที่นั่น

 

ณ เวลาปัจจุบันนี้ ความคิดของผมอยู่ในสภาวะที่ว่า ถ้าไปวัดป่าสุคะโต ในวันที่ไม่มีหลวงปู่...จะเป็นอย่างไร....

 

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…