Skip to main content
ช่วงที่ผ่านมา มีจดหมายจาก คุณ พรพรรณ เขียนจดหมายมาสอบถามผม 4 เรื่องดังนี้

 

1. การที่เราต้องอยู่ร่วมกับคนที่เขาไม่ชอบเรา หรือมีทัศนคติที่ขัดแย้งกัน  เราควรทำอย่างไร

2. การแผ่เมตตา  ช่วยให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นคลายลง ได้หรือไม่  และการแผ่เมตตามีคุณอย่างไร

3. การไปปฏิบัติ  จะช่วยให้เกิดผลบุญถึงเจ้ากรรมนายเวรได้จริงหรือเปล่าคะ

4. คุณน้องเต้าเชื่อเรื่องกรรม หรือไม่คะ

 

ผมได้รับและตอบกลับดังนี้

....................

 

สวัสดีครับ 
ขอบคุณที่ไว้วางใจให้ผมได้แบ่งปันนะครับ
แต่...สภาวะของผมอาจเป็นคนอื่น ที่มองเข้าไปยังเหตุการณ์ของพี่ที่เกิดขึ้น
ซึ่งคงไม่รู้สึกได้ทั้งหมดเหมือนที่พี่เจอ ยังไงก็ขอแบ่งปันจากที่ตัวเองที่เผชิญและรู้มาบ้างนะครับ
 
เรื่อง 1 การอยู่กับคนที่เขาไม่ชอบเรา ควรทำยังไง


ผมมองว่าคนอื่นๆ มี อยู่ 3 แบบ คือ คนที่ชอบเรา, คนที่ไม่ชอบเรา และ คนที่เฉยๆ กับเรา
นั่นไม่ว่าเราจะทำอะไร จะพูด จะทำ เป็นอย่างไร ก็จะมีคน 3 ประเภทนี้อยู่
หน้าที่ของเราคือ "เอาใจไว้กับตัวเอง" คือ "ไม่เอาใจไว้ที่เขา" เพราะเมื่อใดที่เราเอาใจไปไว้ที่เขา เราก็จะรู้สึกทุกข์ เช่น เมื่อเขาไม่ชอบ เราก็ทุกข์ เมื่อเขาไม่ชมเราก็ทุกข์ อันนี้เพราะเราเอาใจไปไว้ที่เขามากไป ทำให้เราทุกข์เพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่อคนที่เขาเห็นแย้งกับเรา ยิ่งไปกันใหญ่เลย ฉะนั้น ขั้นแรกคือ "ให้เราเอาใจไว้กับตัวเองก่อน"


ทีนี้ การเอาใจไว้กับตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราเห็นแก่ตัวหรือไม่ใส่ใจคนอื่นนะครับ
เรื่องที่เขาไม่เข้าใจ เราก็อธิบายให้เขาเข้าใจ, ถ้าหากเขาร้อนใจใส่เรา เราก็เย็นใจใส่เขา
คนบางคนเวลาเจอเราก็จะมีเรื่องเดิมๆ มาว่า มาวิจารณ์เรา เราก็ปล่อยให้เขาได้ "ปล่อย" เรื่องราวเหล่านั้นออกมา


เมื่อเขาพูดเสร็จ เราก็ "รับฟัง" อย่างตั้งใจ ไม่สวนกลับ เมื่อเสร็จแล้ว เราก็ขอบคุณเขา หรืออาจจะขอโทษเขาไปเลย คือทำให้เรื่องที่เค้าค้างใจ หลุดออกจากเขาก่อน ส่วนเรื่องที่เขาว่ามานั้นจะใช่หรือไม่ใช่ เป็นเรื่องที่เราจะมาจัดการกับตัวเอง
 
ในกรณีที่มีคนมาว่าเรา นินทา หรือด่า เรา ก็เหมือนกับ หากสมมุติว่า ผมเจอกับพี่ แล้วพี่เอาน้ำมาให้ผมดื่ม แต่ผมไม่รับ น้ำแก้วนั้นจะเป็นของใคร .....มันก็ต้องเป็นของพี่ใช่ไหมครับ ก็เหมือนกับถ้าเขาว่าให้เรา ด่าเรา วิจารณ์เรา แล้วเราไม่รับมา มันก็เป็นของเขาอ่าเนอะ^^
 
คนที่มีทัศนคติไม่ตรงกับเรา ถือเป็นบททดสอบของเรา ที่จะทำให้เราได้เติบโต อดทน ที่จะคุยกันอย่างกรุณา ไม่ใช้อารมณ์ คุยอย่างเมตตา แบบนี้ก็น่าจะโอเคแล้วนะครับ ลองอ่านเรื่องนี้นะครับ ไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับกรณีที่ 1 หรือไม่ http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=954
 
เรื่องที่ 2 การแผ่เมตตา

การแผ่เมตตา ส่งผลอย่างมากต่อจิตใจของเรา อย่างน้อยการแผ่เมตตาก็มีอานิสงค์ในหลายๆ ประการ
เช่น ทำให้ใจเรามีเมตตาต่อสรรพชีวิต ต่อคนรัก ต่อศัตรู ฯลฯ, ลดแรงกรรม, เป็นที่รักของสรรสัตว์
อันนี้ลองอ่านได้เพิ่มเติมที่ ลิ้งค์นี้ครับ http://board.palungjit.com/showthread.php?t=170075
 
สำหรับผม ก็แผ่เมตตาทุกข์วันครับ ช่วยทำให้ใจตัวเอง เอื้ออารีย์ต่อตัวเอง และคนอื่น
มองคนรอบข้าง ทั้งดี ไม่ดี หรือเฉยๆ กับเรา แบบเท่ากัน คือเขาก็เป็นเพื่อนร่วมโลก
หลายเรื่องที่เขาทำไม่ดีกับเรา เพราะเขาไม่รู้ แล้วเราก็ต้องแผ่เมตตาให้เขาได้พบธรรมะ ได้พ้นจากทุกข์
หรือบางทีเขาอาจเป็นคู่เวรที่มาใช้วิบากกับเรา เราก็แผ่เมตตาให้เขา ยิ่งทำมากก็ยิ่งดีนะครับ
คนทุกคนไม่ได้ตั้งใจเกิดมาเป็นคนไม่ดีหรอกเนอะ....
 
เรื่องที่ 3 การปฏิบัติจะช่วยให้เกิดผลบุญถึงเจ้ากรรมนายเวรจริงไหม


ขอตอบว่า จริงครับ
เพราะผมเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม และการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ
ตราบใดที่เรายังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน เราก็ยังเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
ไม่ว่าจะไป อบายภูมิ หรือ สุคติภูมิ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเวียนไป ไม่จบสิ้น
ทีนี้ กว่าเราจะเกิดมาเป็นคน เราก็เวียนว่ายตายเกิดมาไม่รู้กี่ภพ กี่ชาติ
มีพ่อ แม่ ญาติ คู่รัก เจ้ากรรม นายเวร มาไม่รู้กี่คน ไม่ว่าจะเป็น ปัจจุบัน หรือ อดีตชาติ
ฉะนั้นการที่เราได้เกิดมาเป็น "คน" ใน ปัจจุบันนี้ ย่อมมีนัยะ สำคัญคือ
เป็นการมาใช้กรรมเก่า และ การสร้างกรรมใหม่
 
ชดใช้กรรมเก่าที่เราเคยทำไม่ดีมา และสร้างกรรมใหม่ให้ส่งผลต่อภพภูมิต่อไป
 
ทีนี้เมื่อเราปฏิบัติธรรมแล้ว สิ่งที่จะเกิดกับเราคือ เราจะมีบารมีทางธรรม มีบุญกุศลเพิ่มมากขึ้น
และเมื่อเรามีบุญเยอะ ก็เหมือน มีน้ำใส่ในแก้วมากยิ่งขึ้นถ้าเรามีมาก แล้วไม่ได้แบ่งให้คนอื่นดื่ม เขาก็จะมาขอเราดื่มเอง ไม่ว่าจะมาให้เห็น หรือ มีสัญญาณต่าๆ ก็ตาม เราก็ต้องแบ่งบุญที่เรามีให้กับ เจ้ากรรมในอดีตชาติ หรือ ในปัจจุบัน ให้เขาได้รับผล อานิสงค์กับเรา ซึ่งมันก็ช่วยได้เยอะทีเดียวนะครับ
 
บางครั้ง การปฏิบัติ ก็ทำให้เราได้
1. ชดใช้ให้กับสิ่งเดิม
2. เพิ่มเติมให้กับสิ่งใหม่
3. รักษาให้ดำรงต่อไป
4. สบายใจทุกๆ ขณะ
 
หน้าที่ของเราคือ
- เอาของที่ไม่ดีออกจากจิตใจ คือ (1.) ไม่ตามใจกิเลส คือ โลภ โกรธ และหลง
อาจจะโดยการ ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา
 
- เพิ่มเติมความ "รู้สึกตัว" คือการเจริญสติ ให้ระลึกรู้กายและใจ ด้วยความเป็นจริง เป็นการทำ สติปัฏฐาน ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนไว้
ให้จิตเราบ่มเพาะความรัก ความเมตตา กรุณา มุฑิตา ต่อสรรพชีวิต
 
- รักษาจิต ให้มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทุกๆ ขณะ ทำบ่อยๆ เนืองๆ ฝึกไปเรื่อยๆ จิตจะรู้ทุกข์ และละทุกข์ได้เอง
 
- เมื่อจิตใจเรา มีสติ ไม่ว่าจะดี ใจ เสียใจ หรืออะไรก็ตาม เราจะรู้ว่า ทุกๆ อย่างมันไม่เที่ยง มีเกิด ก็มีดับ มีเหตุ ก็เกิด หมดเหตุ ก็ดับ ให้เราเห็นความจริงตรงนี้ไว้นะครับว่า "ทุกสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้"
จิตใจของเรา มีสุข มีทุกข์ มีโกรธ มีชอบ มีเครียด มีสุข คละกันไป
ถ้าเราเห็นความจริงในตรงนี้ เราจะมีความสุข
ความสุขที่เราเห็นความจริง, รู้สึกตัว ไม่เผลอไปกับกิเลส ไม่ติดยึดไปกับตัวตน
 
เรื่องที่ 4 เรื่องกรรม

ผมเชื่อเรื่องกรรมนะครับ เช่น เรื่องนี้, ผมถึงได้เจอพี่ในวันเวลาที่พี่ทุกข์ใจไง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ผมจะได้ตอบเมลของพี่ แสดงว่า ผมคงจะเคยติดค้างอะไรพี่ไว้ ฉะนั้น ผมจึงปรากฏ ให้พี่ได้พบ และเราก็ได้สนทนา แบ่งปันกัน เป็นการใช้กรรมที่ติดค้าง และ ผมก็ได้สร้างกรรมใหม่ให้เราตัวเองด้วย
 
จากเรื่องนี้ ผมคิดว่ากรรม (หมายถึงการกระทำ) มี 2 แบบ คือ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม
ซึ่งทั้งสองอย่าง เกิดได้ จาก "เจตนา"
 
ถ้าเราทำกรรมใด ย่อมส่งผมต่อวิบากนั้น หมายถึง เมื่อมีเหตุ ย่อมปรากฏผล เมื่อมีกรรม ย่อมมีผลของกรรม
 
ถ้าเรารู้ว่าตัวเองมีกรรม อย่าพึ่งยอมจำนนกับกรรม ว่าเราต้องใช้กรรมอย่างเดียว แต่ควรมองว่าเราก็ถือโอกาสสร้างกรรมใหม่ขึ้นมา หรือเมื่อเราทุกข์ ก็อย่าไปเผลอไปกับทุกข์
ให้เรารู้ว่าทุกข์เข้ามาเพื่อเป็นบททดสอบ ให้เรา รู้จักความจริงของทุกข์ และได้พ้นจากมัน
 
ทั้งนี้การแผ่เมตตาและการเจริญสติ จะช่วยลดแรงกรรมได้เยอะเลยครับ
เหมือนเราวิ่งเร็วขึ้น เจ้ากรรมก็ตามไม่ทันเรา แต่เราก็อย่าลืมเอาบุญให้เจ้ากรรมด้วยนะครับ
 
ลองอ่านเรื่องกรรมเพิ่มเติมต่อได้ที่ http://dungtrin.com/whatapity/02.htm  
 
----------------------
 
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้
ลองหยุด สำรวจ กายและใจของเรา
พักดู ลมหายใจ ออกและเข้า สัก 3 ครั้ง
 
ยิ้มกับความทุกข์นะครับ
 
ทุกข์ไม่เกิด เราก็ไม่รู้จักทุกข์
มารไม่มี บารมีก็ไม่มา
 
เป็นกำลังใจให้พี่นะครับ

 

 

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด