Skip to main content


เมื่อมีเวลาตรวจดูสภาวะจิตใจของตัวเองในช่วงนี้แล้ว ก็เหมือนกับว่าผมได้พบกันสภาวธรรมต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปหลายๆ ประการ มีเกิด มีดับ สลับกันไปในจิตแต่ละช่วงขณะ คือค่อยๆ รู้สึกตัวบ้างในบางครั้ง รู้ว่าเผลอ รู้ว่าหลง รู้ว่าประคอง ในอารมณ์ต่างๆ เช่น ความคิด ความโกรธ หรือแม้กระทั่งความอยาก

จากวันแรกที่ภาวนามาจนถึงวันนี้ ผมมั่นใจว่าในการเริ่มต้นของการภาวนาที่เราได้พบ เห็นสภาวะต่างๆ นี้ ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่เรา “วางใจ” ให้ถูกที่ ถูกฐานตามแต่จริตของเรา ซึ่งใครที่ชอบ ภาวนาแล้วสบาย ไม่อึดอัด ทำแล้วมีความสุขก็สามารถทำได้เลย


ฐานของการภาวนา เอาแบบหลักๆ ง่ายๆ นั้นมี 2 ฐาน คือ “ฐานกาย” และ “ฐานจิต” ก่อนที่จะเริ่มต้นภาวนาแรกๆ เราอาจต้องสำรวจตัวเองสักนิดว่ามี “จริต” อย่างไร คือ หากเราเป็นคนที่อยากสวย อยากงาม หรือ ชอบความสงบ เราจะเริ่มต้นภาวนาโดยการใช้ “ฐานกาย” หรือ หากเราเป็นคนคิดมาก ฟุ้งซ่าน เราจะเริ่มต้นภาวนาโดยการใช้ “ฐานจิต”


การเริ่มจากฐานกายนี้ ก็อาจจะทำได้ทั้งการทำสมาธิให้เกิดจิตที่ตั้งมั่นแล้วเมื่อถอนจากสมาธิเราก็ดูสภาวะจิตที่เปลี่ยนแปลงไป และเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของกายและจิต หรือหากใครที่ทำสมาธิยังไม่ชำนาญก็อาจจะใช้วิธีตามดูกายของเราที่เคลื่อนไหวไปมาก็ได้ เพียงแค่เรารู้ลงในปัจจุบันขณะ


ส่วนการเริ่มต้นจากฐานจิต ก็ทำได้โดยการตามรู้จิต เห็นความคิด เห็นความเผลอ ความหลง ที่ใจเราแปรเปลี่ยนไปในแต่ละขณะ มองเห็นอาการต่างๆ ของจิตที่เกิดขึ้น โดยรู้ลงในปัจจุบันขณะเช่นกัน


การภาวนาโดยฐานใดก็ตาม เราจะไม่ไปแทรกแซงกายและจิตของเรา คือ เราเพียงสักว่ารู้ สักว่าเห็นตามความเป็นจริงเท่านี้ก็พอ หากเกิดความคิดก็รู้ว่ากำลังคิด หากเกิดความโกรธก็รู้ว่ากำลังโกรธ หากกระพริบตาก็รู้ว่ากระพริบตา หากหายใจออก หายใจเข้า ก็รู้ว่าหายใจออก หายใจเข้า รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริง


การวางใจไว้ที่ฐานแต่ละฐานนี้ ในขั้นเริ่มต้น อาจต้อง “จงใจ” ไปรู้สักนิด แต่ไม่ต้องถึงขั้นว่ามัวไปเพ่ง ไปตั้งท่า ว่าอยากจะรู้ อยากจะเห็นอะไร เราดูกายดูจิต เหมือนเราชำเลืองมองคนที่เราชอบ เห็นเขา แต่อย่าให้เขารู้ว่าเขาเห็นเรา ถ้าเขารู้ว่าเรามองเขาอยู่เขาจะไม่แสดงอาการอะไรให้เรารู้มากนัก ต้องค่อยๆ ชำเรืองดู ทีละนิด


เมื่อเราเห็นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในกายและในจิตได้แล้ว ในระดับต่อมา ก็ขอรู้ไปโดยอัตโนมัติ คือ เดี๋ยวเราก็รู้ที่กาย เดี๋ยวเราก็รู้ที่จิต สลับกันไปมาในแต่ละขณะๆ ส่วนการภาวนานั้นอาจมีทั้งแบบใช้สมาธินำปัญญา หรือ ปัญญานำสมาธิ หรือแม้แต่การทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน ก็แล้วแต่ “กำลัง” ของจิตของแต่ละคน


วันนี้ที่เขียนเรื่อง “การวางใจ” ก็เพราะมองเห็นว่าตัวเองเิ่พิ่งจะรู้ว่า การภาวนาที่จะเห็นผลได้ชัด เห็นผลได้เร็ว คือ เราควรวางใจให้เป็น ให้เหมาะกับจริตของตัวเอง และเมื่อภาวนาแล้ว เราจะรู้สึกสบาย ไม่เครียด ไม่ตึง ไม่หย่อนจนเกินไป ยิ่งทำแล้วมีความสุขที่ได้เห็นความจริงที่ปรากฎ


เมื่อวางใจให้เป็นแล้ว เราก็จะเห็นสภาวะจิต สภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และดับลง ที่แปรเปลี่ยนไปในขณะต่างๆ ซึ่งเราไม่ต้องไปคิดว่าแบบนี้เรียกสภาวะอะไร แบบนี้มีชื่อว่าอะไร เพราะยิ่งจะเป็นการติดในสมมุติบัญญัติไปอีก เราทำเรื่องนี้ได้ง่ายเพียงรู้ไปเรื่อยๆ เมื่อรู้แล้วก็รู้ เอาแบบ “รู้” ตัวเดียวเลยครับ ยิ่งทำให้เกิดเหตุ และผลจะนำไปสู่สภาวะรู้ ตื่นและเบิกบาน ณ ปัจจุบัน อยู่ต่อหน้าต่อตาตัวเราเองเลยครับ...

 

 

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…