Skip to main content

บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวช

เรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช

เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่

ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ และเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นๆ เช่น เริ่มซื้อหนังสือธรรมะมาอ่าน ชอบคุยเรื่องกฎแห่งกรรม คุยภาษาธรรม เรื่องสมาธิ เรื่องการเจริญสติ มิหนำซ้ำยังชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว และช่วงหลังๆ กลายเป็นคนกินมังสวิรัติ ไม่ทานเนื้อสัตว์เลย

ข้าพเจ้าชื่นชมในความตั้งใจในธรรมปฏิบัติของเขาและเฝ้าภาวนาให้เขาได้พบกับหนทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้พบและได้สนทนากับเขาถึงผลของการปฏิบัติ

“ผมก็นั่งสมาธิทำอานาปานสติแล้วก็ทำวิปัสสนาต่อ ตอนเช้าและก่อนนอนอย่างละเกือบชั่วโมง ส่วนตอนกลางวันก็ดูลมหายใจของตัวเองไปเรื่อยๆ เฝ้าดูจิตของตัวเองไปตลอด ให้รู้ตัว ทั่วพร้อมอยู่เสมอๆ” เขาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังและแนะนำให้ข้าพเจ้าลองปฏิบัติแบบเขา

เขาเรียนรู้แนวทางปฏิบัติของพระอาจารย์หลายท่าน และเรียนรู้เรื่องสมาธิและวิปัสสนาหลายอย่าง เช่น เรื่องฌานสมาบัติ เรื่องนิวรณ์ 5 เรื่องสติปัฏฐานสี่ เรื่องมโนมยิทธิ หรือแม้แต่อภิญญา 6 และการถอดจิต ซึ่งข้าพเจ้าสงสัยว่าทำไมเขาต้องศึกษาเยอะมากมายขนาดนี้

“ลองศึกษาดูหลายๆ แนว คือถ้าเราจะปฏิบัติก็น่าจะรู้จักหลักต่างๆ ด้วย คือมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท คือการปฏิบัติจะรู้ได้ว่าเราทำอะไรไปถึงไหน น่าจะลองศึกษาจากผู้รู้แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับตัวเอง ให้เข้ากับจริตของเรา” เขาตอบข้อสงสัยนั้น

หลังจากที่ได้คุยกัน ข้าพเจ้าลองทำอย่างที่เขาแนะนำ และได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตตัวเองในการดำเนินประจำวัน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการนำมาปรับได้อย่างลงตัว เหมาะเจาะอย่างยิ่ง

ต่อมาไม่นานจากที่ได้พบกันครานั้น ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าเขาต้องการที่จะบวช ด้วยเหตุผลที่ว่าหลังจากไปชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง “พระพุทธเจ้า” แล้ว เขาก็ปลื้มและอยากเป็นสาวกสงฆ์ของพระพุทธเจ้า และอยากหาทางพ้นทุกข์ในร่มกาสาวพัตรอย่างจริงจัง

หลายคนที่ทราบข่าวของเขาต่างพูดคุยกันไปต่างๆ นานา บ้างเห็นด้วย อนุโมทนา บ้างไม่เห็นด้วยเพราะอยากให้เขาทำงานที่รับผิดชอบให้เสร็จเสียก่อนค่อยบวช หนักกว่านั้นคือทั้งพ่อและแม่ของเขาต่างไม่อยากให้ลูกชายของตนบวชเพราะเหตุผลอะไรก็ไม่อาจทราบได้

“ถึงเราบวชกายไม่ได้ เราบวชที่ใจเราไหม” มีคนหนึ่งเสนอแนะเขา
“อื้ม ครับ ผมไม่ลังเลใจที่จะบวชนะครับ แต่ผมกลัวว่าวันหนึ่งถ้าผมเป็นอะไรไปแล้วไม่ได้บวชคงจะเสียใจ ผมเปลี่ยนแปลงไปเพราะธรรมะของพระพุทธเจ้า ถ้าผมไมได้รู้ ไม่ได้ปฏิบัติ ผมคงเป็นคนโง่เขลาที่กิน เที่ยว เล่นไปวันๆ ผมคิดมาตลอดว่าการกินเที่ยวเล่นมันเป็นความสุขจริงๆ แต่ที่ไหนได้ มันเป็นแค่สุขทางโลกจอมปลอม ไม่ได้แก้ทุกข์ของเราได้จริงๆ” เขาตอบกลับเพื่อนผู้นั้น
พร้อมกับพูดเสริมว่า “พ่อแม่ไม่ให้บวชก็ค่อยว่ากัน แต่ยังไงผมก็อยากบวช เหตุผลมันตอบไม่ได้ มันมาจากความรู้สึก”

วันหนึ่งเขาโทรศัพท์มาถามเพื่อนทางธรรมเช่นข้าพเจ้าว่าควรทำยังไงดี เขาอยากบวชแต่มีงาน มีพ่อแม่เป็นอุปสรรค เขาบอกว่าเขาคิดเหมือนดั่งมีมารมาขวางหรือเทวดามาทดสอบจิตใจจริงๆ ว่าเขาอยากบวชจริงแท้ขนาดไหนกัน เป็นความคิดชั่ววูบหรือเป็นศรัทธาจริงๆ

เขาถาม ข้าพเจ้าตอบ

“เอายังไงดีครับ”
“ลองปฏิบัติต่อไปอีกนิดไหม ดูจิตของตัวเองไปเรื่อยๆ”
“แล้วถ้าผมจะบวชแล้วไม่สึกหรือหนีไปเลยไม่ต้องบอกใครจะดีไหม”
“จะดีเหรอ ถ้าเราบวชแล้ว ทำให้คนอื่นทุกข์ หรือเบียดเบียนเขามันก็เป็นการสร้างทุกข์ให้คนอื่นนะ”
“ลองไปอยู่วัดจะดีไหม”
“ดี ไปเลย”
“ถ้าไม่อยากบวชล่ะ”
“ก็ไม่ต้องบวช บวชใจก็ดีนะ”

“บวชใจ เป็นยังไง”
“หมั่นให้ทาน รักษาศีล ปฏิบัติภาวนาสม่ำเสมอเป็นฆราวาสก็ทำได้ บวชใจ การบวชไม่ได้อยู่ว่าจะใส่ผ้าเหลือง โกนหัว เราเป็นแบบเรา เราก็เป็นพระได้ พระอยู่ที่ใจ บวชที่ใจ ให้ธรรมอยู่ที่ใจเรา”
“แต่กิเลสเยอะ”
“ยังไง”
“กาม โกรธ เกลียด”
“แล้ว....”
“บวชเป็นพระอยู่วัดป่าจะได้ไม่ต้องมีผัสสะ ไม่มีทุกข์ กิเลส โทสะ มากระทบจิตให้เกิดปรุงแต่ง”
“แสดงว่าบวชหนีปัญหา ทำไมไม่เผชิญกับมัน ต่อสู้มัน เอาชนะให้ได้”

“กลัวทำไม่ได้”
“ทำไม”
“เราอายุยี่สิบสองปีเท่ากัน เรายังเป็นหนุ่ม เป็นวัยรุ่น โอกาสที่จะเกิดอะไรที่กิเลสพาไปมันมีเยอะ สภาพแวดล้อมมันไม่เอื้อต่อการปฏิบัติ มันไม่สัปปายะดีพอ”
“ใช่”
 “ผมเลยอยากบวช”
“อื้ม.........”
“แล้วจะบวชดีไหมละตอนนี้”
“ยังๆ........ รอจังหวะไปก่อน พ่อกับแม่สำคัญ การบวชต้องได้รับความเห็นชอบจากเขา”
“พูดหยั่งกับตัวเองจะบวชแล้วพ่อกับแม่ไม่ให้บวชเลยเนอะ”
“ใช่, อยากบวชเหมือนกันแต่พ่อกับแม่ไม่ให้บวช”
“.........”
“..........”
“บุพการีไม่ให้บวช แต่อยากบวช ทำยังไงดีล่ะ” ใครคนหนึ่งพูดก่อนที่ความเงียบจะมาเยือน.......

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…