Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

อายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่า

คุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/ความชั่ว เท่านั้น

“ธรรม” แห่งพระพุทธองค์ไม่ได้เลือกว่า คนๆ นั้นจะสนใจอะไรในการทำความดี คำว่า “กระแส” สำหรับพี่จึงเท่ากับ “ฮิต” อย่างเช่น กระแสสังคมที่มองว่าวัยรุ่น “เปราะบาง” ป้อนสิ่งใดเข้าไปก็รับง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องไม่ดี  ที่ทำให้ผู้ใหญ่ตกใจและตื่นเต้นมากมาย สิ่งเหล่านี้เห็นอยู่ในหน้าข่าวบ่อยๆ

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ข่าวดีของเด็กมักไม่เป็นที่สนใจและกล่าวถึง ทั้งๆ ที่มีข่าวดีๆ อยู่มาก อย่างเช่น การสอบเข้าเรียนต่อ การได้รับทุนการศึกษา เด็กที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน ฯลฯ แต่ข่าวที่ได้รับความสนใจกลับเป็นเรื่องเด็กวัยรุ่นกระทำความรุนแรง หรือตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำความรุนแรง กลับได้รับความสนใจอย่างมากมาย เช่น เด็กติดเกม เด็กตบตีกันแล้วถ่ายเป็นคลิปมือถือ...แล้วคนรุ่นก่อนหน้านี้ ไม่เคยกระทำความรุนแรงต่อกันเลยหรืออย่างไร ทำไมจึงกล่าวร้ายเฉพาะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้เท่านั้น

ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีคนที่ทำสงคราม เป็นทหาร เป็นอันธพาล ทั้งๆ ที่มีพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นครูที่ดี สามารถล่วงรู้ถึงการบรรลุธรรมและช่วยชี้แนะให้คนๆ นั้นสามารถเข้าถึงทางธรรมในรูปแบบต่างๆ ได้ ดังเช่น ท่านองคุลีมาร แม้มีบุญมากแต่ก็มีกรรมหนักเช่นกัน พระพุทธองค์ต้องตัดสินใจที่จะช่วยท่านก่อนที่ท่านจะทำกรรมหนักด้วย อีกด้านหนึ่งบุญเก่าที่ท่าองคุลีมารสร้างก็น่าจะถึงเวลาแห่งการบรรลุธรรมแล้ว พระพุทธองค์เพียงกล่าวธรรมที่สะกิดใจท่านว่า “เราหยุดแล้ว...ท่านต่างหากที่ยังไม่หยุด...” หากท่านองคุลีมารไม่มีปัญญา (ปัญญาญาณ) แล้วคงไม่สามารถเข้าถึงธรรมแห่งพระพุทธองค์และเดินทางสายนิพพานได้ถึงที่สุด

ถึงแม้ท่านจะเลือกแล้วว่าจะเลือกเดินทางสายนิพพาน แต่ในระหว่างทางที่ท่านดำเนินเพื่อให้ถึงพระนิพพาน ท่านเองก็ต้องใช้กรรมเก่าที่ท่านได้ทำไว้ เนื่องจากท่านฆ่าคนมากมาย ท่านต้องอดทนกับความเกลียด ความกลัว ความไม่เชื่อถือท่านในฐานะพระอริยบุคคลจากชาวบ้าน ญาติพี่น้องของคนที่ท่านฆ่าตั้งแต่สมัยก่อนบวช

โดยตัวของท่านเอง ท่านก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญธรรมไม่ต่างกับศิษย์ท่านอื่นๆ ของพระพุทธองค์ เมื่อท่านบิณฑบาตรท่านก็ต้องเผชิญหน้ากับญาติ พี่ น้อง ของคนที่ท่านเคยฆ่า แม้จะเป็นการฆ่าด้วยความหลงผิด ความไม่รู้ ท่านก็ต้องรับในสิ่งที่ตนทำ ซึ่งความน่านับถือท่านองคุลีมารอยู่ตรงที่ ท่านเป็นผู้มีขันติธรรมสูงมาก เมื่อท่านตัดสินใจว่าท่านจะเดินทางธรรม ท่านต้องปล่อยวางจากความโกรธ ลด ละ ความรุนแรง ที่แม้มีคนกระทำกับท่าน หากท่านยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านกระทำกับเขาก่อน หากก็ไม่ได้ทำให้ถึงแก่ชีวิต ทางธรรมที่ท่านเลือกนี้ ท่านต้องรักษาสันติ (peace) เอาไว้ ไม่เพียงแต่ท่านต้องรักษาความสงบภายในใจแล้ว ท่านยังต้องรักษาความสงบสันติที่ท่านจะพึงตอบผู้ที่กระทำกับท่านหรือไม่ด้วย ท่านองคุลีมารน่าจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จากการปฏิบัติไม่น้อย แต่ท่านก็ไม่เคยตอบโต้คนที่กลับมาทำร้ายท่านเลย ไม่ว่าศิษย์แห่งพระพุทธองค์คนใดก็ไม่เคยใช้ฤทธิ์เดชในทางที่ไม่สร้างสรรค์ หรือทำให้ผู้อื่นต้องเดือนร้อน

ธรรมข้อนี้ต่างหากที่พุทธศาสนิกชนมักนำไปใช้แต่เข้าไม่ถึง การต่อสู้กับสิ่งใดๆ ด้วยความสงบสันติ ไม่ใช่เพียงแค่เราบอกคนอื่นว่า เราสู้ด้วย “สันติวิธี” หากแต่ตัวเราต้องสู้กับใจตนเองด้วยความสงบ สันติ และไม่กดอารมณ์ จนกระทั่งระเบิดเช่นเดียวกัน ดังที่ท่านองคุลีมารไม่เคยใช้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือร่างกายตอบโต้คนอื่น หลังจากที่ท่านเลือกเดินทางธรรมอีกเลย

อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธเจ้าจะมีพระสงฆ์ ศิษย์แห่งพระองค์มากมายนับไม่ถ้วน หากก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงพระธรรมหรือความรู้แห่งพุทธศาสนา ท่านก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนเข้าถึงพระธรรมได้อย่างแท้จริง หลายสังคมที่รับเอาพระพุทธศาสนาไปต่างก็นำกลับไปปรับเพื่อปฏิบัติเพื่อเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมาย

การที่นนท์และพันธกุมภา “ฮิตธรรมะ” ก็อาจจะเป็นกระแสใหม่ๆ สำหรับวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่วัยรุ่นทุกกลุ่ม เท่าที่เห็นยังมีหนุ่มสาวอีกมากมายที่ตามกระแสอื่นๆ โดยเฉพาะช่วงสอนเอ็นทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย คำติดปากสำหรับทุกคนก็ต้องถามว่า “เรียนที่ไหน...” หากได้คณะและสถาบันที่ตนเองต้องการก็ไม่เครียด ไม่กลุ้มมากนัก แต่ถ้าไม่ได้...ก็ต้องทำใจ ไม่ว่าจะ “สมหวัง” หรือ “ผิดหวัง” ก็ตาม น่าจะเป็นสิ่งที่สอนธรรมให้แก่เรา อย่างน้อยก็สอนให้เรา ปล่อย สอนให้เรา วาง ในสิ่งนั้นๆ ไม่แน่ว่าสิ่งที่เราสมหวังในวันนี้ อาจจะก่อให้เกิดความผิดหวังในอนาคตก็ได้

สมัยที่พี่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย ตอนสอบเข้าได้พี่จำได้ว่าเพื่อนๆ ที่มีที่เรียนเป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล มีความสุขมาก ยิ่งบางคนได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นไปอีก สำหรับพี่ ตอนนั้นรู้แต่ว่า เราไม่ต้องเหนื่อยลุ้นอีกแล้ว เรามีที่เรียนแล้ว แต่ใครหลายคนที่ไม่มีที่เรียนก็คงจะทุกข์และเริ่มหาทางใหม่ๆ เพื่อนๆ หลายคนมีความอดทนและต้องคิดค่อนข้างมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีฐานะดี หลายคนต้องดิ้นรน พ่อแม่ต้องขายบางอย่างเพื่อให้ลูกได้เรียน เพื่อนบางคนพ่อแม่สามารถส่งให้เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน พอมีฐานะนิดหน่อยและจัดการกับเรื่องการเรียนได้

เรื่องเรียนเหล่านี้สอนอะไรให้กับพี่?

อาจไม่ต่างกับเด็กสมัยนี้ตรงที่ พี่เรียนรู้ว่าสอบเข้าได้ เพื่อนเรียนรู้ว่าสอบไม่ได้ พี่เรียนรู้ว่าเราน่าจะเห็นอกเห็นใจเพื่อนที่สอบไม่ได้ และเรียนรู้ที่จะรอรับความผิดหวังบางอย่างที่ยังมาไม่ถึง เพื่อนๆ หลายคนที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิดหรือมหาวิทยาลัยเอกชนมักคิดว่า เขาเก่งน้อยกว่าเราและเรียนรู้ที่จะมีความอดทนมากกว่าเรา เลือกได้น้อยกว่าเรา แต่พี่บอกได้เลยว่า...วันนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่า “ประสบความสำเร็จ”

คนทุกคนต่างอยากประสบความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่คนที่อยากบอกว่า เราอยากมีความสุขใจ เราเรียนรู้ที่จะมีความสุขได้อย่างไร

การเข้าเรียนของเพื่อนอาจผิดหวังว่าไม่ได้เรียนในสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่อาจจะสมหวังที่มีครอบครัวที่ดี คอยให้กำลังใจและการสนับสนุนไม่ได้ขาดตกบกพร่อง คนที่เข้ามหาวิทยาลัยรัฐได้ อาจจะผิดหวังกับสิ่งที่เลือกแต่ต้องจำใจเรียน หรือพบเพื่อนที่แย่ ครอบครัวต้องขายทรัพย์สินเพื่อมาจุนเจือ

ชีวิตของคนเรามีทั้งสมหวัง ผิดหวัง อยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น หากมนุษย์ปราศจากความหวังแล้วก็อาจจะไม่มีการต่อสู้ ดิ้นรนเพื่อให้ได้อะไร ทำไมเราไม่ลองถามตัวเองดูว่า เมื่อคาดหวังแล้วปล่อยวางมันได้ไหม หรืออย่างน้อยรู้เท่าทันตัวเองว่า “อ้อ! นี่มันเป็นความคาดหวังของเรา” ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องทำ ก็อาจจะพอช่วยได้บ้าง ไม่ใช่ว่าชีวิตต้องสมหวัง-ผิดหวัง ตลอดเวลา

ธรรมเริ่มได้ทุกที่ ทุกเวลา เราจะรู้ว่าธรรมง่ายกว่าที่คิด    

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด