Skip to main content

in rainbows

ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...

ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้


และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ !

ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/ เพื่อให้คนสามารถเข้ามาดาวน์โหลดเพลงได้ฟรี โดยที่ผู้ฟังสามารถบริจาคเงินสมทบทุนวงนี้ได้ตามกำลังทรัพย์และความพอใจ (เพลงวงนี้เป็นแนว Post-Hardcore ที่โหดเอาการทีเดียว)

ในวันนั้นซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดขายแบบ Digital Download มีคนเข้าไปกันเยอะมาก ทำให้เซิร์ฟเวอร์ยุ่งเหยิงจนเว็บแทบจะติด ๆ ดับ ๆ ทำให้ผมต้องรอให้การแห่แหนไปดาวน์โหลดนี้ซาไปสักระยะนึงก่อน ค่อยเข้าไปใช้บริการทีหลัง

ถ้าจะว่าไป Digital Download เริ่มจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ จนบางคนหวาดกลัวว่ามันจะเข้ามาแทนที่ CD หรือการฟังแบบ Analog อื่น ๆ ในอนาคต เครื่องเล่นเพลงแบบพกพาก็ตอบรับกับการเล่นไฟล์เสียงแบบดิจิตอลไม่ว่าจะเป็น Mp3 Players หรือ iPods แม้แต่เครื่องจำพวก Handy drive หรือ Thumb drive ที่ใช้กันแพร่หลายก็มีฟังค์ชั่นการทำงานตรงนี้

แต่เท่าที่เห็นก่อนหน้ากรณีของ Radiohead การซื้อขายเพลงด้วยไฟล์แบบดิจิตอลนั้นดูจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากเท่า CD อยู่ดี อาจจะเป็นเพราะความไม่คุ้นเคย การประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ยังไม่มากพอ หรืออาจจะเป็นเพราะความรู้สึกส่วนตัวของผู้เสพย์ดนตรีเองก็ได้ โดยส่วนตัวผมเองก็ยังรู้สึกดีกับการมีอะไรเป็นรูปธรรมจับต้องได้อย่าง CD มากกว่าการมีเพียงไฟล์ดิจิตอลซึ่งจับต้องไม่ได้แต่เพียงอย่างเดียว (ยังไม่นับที่ว่า CD เพลงนั้นมี Cover Art / Booklet อะไรต่อมิอะไรอื่น ๆ ที่เป็นตัวชูรสในการฟัง)

อีกนัยหนึ่ง เท่าที่ผมได้ทำการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมการฟังเพลงจากไฟล์ Digital ไม่ว่าจะมาจากการแชร์ไฟล์หรือดาวน์โหลด (โดยการสำรวจและอาศัยข้อจากสื่อต่างประเทศ) ก็ได้รู้ว่าผู้ที่ทำลายวัฒนธรรมการฟังแบบ Analog ตัวดีคนนึงเลยคือค่ายเพลง โดยเฉพาะค่ายเพลงใหญ่ ๆ ทุนหนา ๆ ที่สามารถใช้ลูกเล่นกับ CD เช่นการใส่ไวรัส หรือการสกัดไม่ได้มีการ Rip ไฟล์ลงเครื่อง (คนซื้อ CD บางคนเป็นคนรัก CD มาก เขาบอกผมว่าชอบ Rip มาฟังในเครื่องมากกว่า เพราะกลัวว่าฟังจาก CD บ่อย ๆ แล้วมันจะสึก) ฯลฯ โดยพวกเขาลืมไปว่าผู้ที่ฟังเพลงโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นมีมากขึ้นในปัจจุบัน ทางเดียวที่เหลือที่พวกเขาได้เพลงมาคือการหาฟังแบบ Digital File

ค่ายเพลง Major Label ทั้งหลายยังก่อวีรกรรมมากกว่านั้น การที่พวกเขาคอยตามจับกุมคนแชร์ไฟล์หรือการได้ดิจิตอลไฟล์มาโดยมิชอบทางอินเตอร์เน็ตแล้วอ้างมาตรการทางกฏหมายลิขสิทธิ (ถ้าเป็นในบ้านเราคงอ้างคำว่า "คุณธรรม" เสริมไปด้วย) เอาผิดกับผู้บริโภครายย่อย ๆ ที่อาจจะแค่อยากฟังเพลง หรืออาจจะไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลยด้วยซ้ำ

ค่ายเพลงคิดแบบตื้น ๆ ว่าการใช้มาตรการเด็ดขาดแบบนี้จะช่วยลดการแชร์ไฟล์หรือดาวน์โหลดแบบผิดกฏหมาย แต่หารู้ไม่ว่ามันยิ่งสร้างความรู้สึกแย่ ๆ ให้กับผู้บริโภครายย่อยทั้งหลาย โดยที่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่พวกเขาคิดกันเอาเองว่ามัน "ผิด" (เพราะทำให้พวกเขาเสียผลประโยชน์) ลดลงเลย
ทางออกที่น่าจะดีกว่าคือการตามให้ทันเทคโนโลยีแบบดิจิตอล ใช้มันให้เป็นประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็ควรประนีประนอมกับผู้ฟังไปด้วย

ผมจึงแอบดีใจเล็กน้อยเวลาได้ยินว่าศิลปินวงใด ๆ จะออกอัลบั้มโดยไม่อาศัยค่ายเพลง นัยหนึ่งมันให้ความรู้สึกชิดเชื้อกันมากกว่า แต่อีกนัยหนึ่งมันก็อาจจะทำให้คุณภาพของเพลงไม่สามารถเทียบเท่างานจากค่ายเพลงได้ในแง่ของ Mastering และในแง่ของยอดขาย เพลงที่ไม่ได้อาศัย Major Label น่าจะเผยแพร่ไปในวงกว้างได้ยากกว่า จนอาจต้องอาศัยการสนับสนุนจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยแบบพังค์ หรือ เมทัล (ซึ่งบางคนเขาก็มีความสุขกันดีกับการไม่ต้องออกไปในวงกว้างก็มี)

การออกมาจากค่ายใหญ่ เพื่อจัดการเผยแพร่ผลงานด้วยตัวเองของ Radiohead ในครั้งนี้อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกว่าเป็นความอาจหาญ รวมถึงการขายเพลงแบบ Digital Download โดยผู้บริโภคสามารถให้ราคาเองได้ก็ดูจะท้าทายการตลาดจากค่ายเพลงอยู่ไม่น้อย

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าการที่ Radiohead ทำแบบนี้ได้ก็เพราะเป็น Radiohead

 Radiohead

วง Radiohead ออกอัลบั้มมาหลายอัลบั้มก่อนหน้านี้ ทั้งยังมีบางอัลบั้มที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นวงที่มีแฟนเพลงอยู่เป็นจำนวนหนึ่งที่พร้อมจะจ่าย กับคนที่ไม่เคยฟัง Radiohead หรือฟังผ่าน ๆ ก็จะรู้สึกว่าวงนี้มีอะไรการันตีคุณภาพให้เชื่อใจได้ในระดับนึงอยู่ จึงมีคนที่พร้อมจะจ่ายให้อัลบั้มนี้แน่ๆ  ไม่ว่าจะด้วยความรู้สึกผูกพันในฐานะผู้ติดตามผลงาน ความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ฟังใหม่ หรือจะด้วยเหตุผลอื่นๆ ก็ตาม

ลองคิดดูว่าถ้าเป็นวงใหม่ ๆ เล็ก ๆ ก็คงยากที่จะมีคนกล้าเสี่ยงให้เงินไป ยังไม่นับเรื่องการประชาสัมพันธ์ ซึ่งวงใหม่ ๆ ไม่มีชื่อนี้ คงไม่อาจดึงดูดสื่อนำเสนอได้มากเท่ากรณีของ Radiohead

ผมจึงมองว่าการขายเพลงในครั้งนี้ของ Radiohead เป็นกลยุทธ์ใหม่ ในเชิงที่ท้าทายพื้นที่ใหม่ มากกว่าจะเป็นการเสียสละ หรือเป็นของกำนัลแก่ผู้ฟัง (แม้ผู้ฟังอย่างผมจะโหลดฟรีเลยก็ตาม ฮ่า ๆ)
แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการดีที่จะเริ่มต้นกับพื้นที่ใหม่นี้ เพราะมันเป็น "การประนีประนอมกับผู้ฟังในยุคดิจิตอล" ซึ่งค่ายเพลงใหญ่ ๆ แทนที่จะปรับตัวเข้าหาผู้ฟัง พวกเขากลับแห้งแล้งในเรื่องนี้มาก

ผมเองในฐานะผู้ติดตามงานเพลง Radiohead (อาจจะไม่เรียกว่าเป็นแฟนเพลงได้เต็มปาก) มา ก็ตื่นเต้นกับปรากฏการณ์นี้พอสมควร และยังคงตื่นเต้นอยู่ว่าเมื่อแก้ Zip ไฟล์ที่ได้จากการดาวน์โหลดมาแล้ว เสียงดนตรีแบบไหนกัน ที่จะออกมาจากอัลบั้มนี้... In Rainbows อัลบั้มซึ่งพวกเขาได้พ้นพันธนาการจากค่ายเพลงแล้ว

เมื่อผมลองได้ฟังทั้ง 10 เพลงนี้ดูแล้ว ก็บอกได้โดยรวม ๆ ว่า ดนตรีของอัลบั้มนี้ฟังดูปลดปล่อย ผ่อนคลาย ไม่ซีเรียสเท่าอัลบั้มอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

ดนตรีของพวกเขายังคงเป็น Art Rock ที่ใช้องค์ประกอบจากซาวน์ Electronic หลาย ๆ เพลงก็ยังคงออกเป็น Space Rock กับบางเพลงก็เสริมด้วยอิทธิพลจากดนตรีแบบ Minimalist*  เสียงร้องของ Thom Yorke ยังคงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ลูกเล่นของซาวน์สังเคราะห์ดูเป็นที่เป็นทางดี แต่อาจจะไม่จัดจ้านเท่า Kid A หรือหากจะเทียบกับ OK Computer แล้ว การเรียบเรียงดนตรีของ In Rainbows ก็ยังไม่แน่นเท่า

เปิดตัวมาด้วย 15 Step ที่เล่นกับจังหวะสลับกับสไลด์กีต้าร์ดูมีชีวิตชีวา เพลงอย่าง Bodysnatcher เหมือนเพลงติดเครื่องที่คงทำให้พอคิดถึง Radiohead แบบร็อค ๆ ได้บ้าง ก่อนจะพาผู้ฟังแล่นไปสู่ดนตรีช้า ๆ เบาสบายคล้ายอยู่ท่ามกลางสายรุ้ง กับเสียงออเครสตร้าและเสียงโหยหวนของ Yorke ใน เพลง Nude ก่อนจะเคลื่อนที่ต่อไปกับ Weird Fishes/Arpeggi ที่มีกีต้าร์โน๊ตสวย และเอฟเฟกท์ชวนให้ล่องลอย

เพลง All I Need ฟังดูค่อนข้างธรรมดา ขณะที่ Faust Arp มีเสียงร้องให้ความรู้สึกหวาดระแวง คลอไปกับเสียงออเครสตร้านุ่มนวล ซึ่งขัดกันในตอนแรก และคลี่คลายสอดประสานกันในตอนท้าย Reckoner เป็นเพลงที่ฟังดูเด่นมากในอัลบั้มนี้ นอกจากเสียงร้องความรู้สึกดั้งเดิมของ Thom Yorke แล้วทั้งเมโลดี้และเสียงประกอบอื่น ๆ ก็เรียบเรียงมาเป็นอย่างดี เสียงร้องของ Yorke กลับมาเบาสบายในเพลง House of Cards กับเสียงกีต้าร์ใส ๆ ของ Greenwood เนื้อหาพูดถึงเรื่องการนอกใจในมุมมองของผู้กระทำ ด้วยน้ำเสียงปะปนกันหลายความรู้สึก (คำว่า House of Cards เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เปราะบาง พังทลายง่าย ๆ ในที่นี่น่าจะหมายถึงการแต่งงานที่ไร้ความรู้สึกรัก)

"The infrastructure will collapse
From carpet spikes
Throw your keys in the bowl
Kiss your husband ‘good night'

Forget about your house of cards
And I'll do mine
Forget about your house of cards
And I'll do mine"

- House of Cards

เร่งจังหวะขึ้นมาในเพลง Jigsaw Falling Into Place แต่ก็ไม่มีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่ จบลงที่ Videotape ที่เมโลดี้และบรรยากาศของมันชวนให้นึกถึง Neon Bible ของ Arcade Fire ในบางช่วงเสียงเอฟเฟกต์แปลก ๆ จากเครื่องเคาะจังหวะที่ใส่เข้ามาช่วงกลางก็หลอนหูพิกล

อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่า โดยส่วนตัวยังคงชอบอะไรที่จับต้องได้ จึงถือว่าโชคดีที่ Radiohead ยังไม่ละทิ้งการขายแบบ Analog คือ Discbox ที่พวกเขาจะออกกันอีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาฯ ซึ่ง Discbox นี้นอกจากจะมีเพลง 10 เพลงเดิมจากการซื้อแบบดาวน์โหลดแล้ว ก็ยังจะมีเพลงเพิ่มเข้ามาอีก 8 เพลง พร้อมทั้งรูปและ Artwork ของวงด้วย (ซึ่งผมสัญญากันตัวเองว่าจะซื้อแน่นอน)

In Rainbows ฉบับโหลด 10 เพลงอาจจะไม่เลิศเลอเพอร์เฟคนัก แต่ก็เป็นก้าวแรกที่น่าจับตาว่า พวกเข้าจะก้าวไปทางใดต่อไป ไม่แน่ว่าพวกเขาอาจจะต้องกลับเข้าไปสู่ระบบค่ายเพลงอีกครั้ง หรือหากพวกเขาจะยืนยัดอยู่อย่างเป็นอิสระจากระบบแล้วนั้นจะสามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพมากกว่าเดิมหรือเปล่า

ขอแค่อย่ามัวฉลองอิสรภาพ พักผ่อนอยู่ในสายรุ้งชวนเคลิ้มนี้จนเผลอหยุดอยู่กับที่ ไม่อยากออกไปไหนแล้วกัน ;)

(*ดนตรีที่อาศัยปรัชญา "น้อยแต่มาก" คือ ไม่ใช้องค์ประกอบอะไรมาก เน้นความเรียบง่าย โน๊ตซ้ำๆ จังหวะเรียบๆ หรือไม่มีเสียงเคาะจังหวะเลย ฯลฯ)

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…