Skip to main content

Sum 41 เป็นอีกหนึ่งวงที่อยู่ในธารสายเชี่ยวของ Punk ร่วมสมัยไม่นานมานี้ ในแง่ของดนตรียังคงอิทธิพลส่วนหนึ่งจาก Metal โดยเจือไว้ในโครงดนตรี Pop Punk สมัยนิยม ซึ่งอิทธิพลความหนักส่วนหนึ่งคงมาจากมือกีต้าร์ที่เพิ่งออกจากวงไปอย่าง Dave Baksh อัลบั้มล่าสุด Underclass Hero จึงลดทอนซาวน์แบบ Metal ลงไป และกรุยทางอย่างเต็มที่ในความเป็น Punk ดนตรีแบบ Punk ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาของการลุยไปข้างหน้านี้เองที่เหมาะกับการประท้วงดีแท้ แต่จะว่าไปความ Punk ของวงในอัลบั้มก่อนๆ ก็มากพอจะ "ประท้วง" ได้อยู่แล้ว

จึงไม่ใช่ว่ารูปแบบของดนตรีในแง่นี้จะเกี่ยวข้องกับทิศทางเนื้อหาที่เปลี่ยนไป ทางวงได้ออกมาบอกชัดเจนว่าเนื้อหาของอัลบั้มนี้จะหันมาพูดเรื่องสังคมการเมือง  ขณะที่ในอัลบั้มก่อนๆ Sum 41 มีภาพของวงขวัญใจวัยรุ่นอยู่พอสมควร

ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะวง Pop Punk ขวัญใจวัยรุ่นอย่าง Green Day เองก็ได้เขียนเพลงเกี่ยวกับ ชีวิต สังคม การเมือง และสร้างผลงานชุดดังอย่าง American Idiot ออกมาแล้ว ไม่นับวง Political Punk อื่นๆ ที่มีแนวทางของตัวชัดเจน

แต่น่าสนใจตรงที่ว่า นอกจาก Linkin' Park แล้ว วง Sum 41 เองก็เริ่มทำท่าว่าอยากจะหันมาสร้างงานที่ทำให้ตัวเองดูเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่า Linkin'Park ยังทำตรงนี้ได้ไม่ดีนัก เลยจะลองมาดูกันว่า Underclass hero อัลบั้มล่าสุดของ Sum 41 จะแสดงมุมมองต่อโลกนี้อย่างไร และทำได้ดีแค่ไหน

จะว่าไปชื่ออัลบั้มนี้ชวนให้นึกถึงชื่อเพลง Working Class Hero ของ John Lennon อยู่บ้าง คำว่า Working Class นั้น แปลตรงตัวได้ว่า ชนชั้นแรงงาน ถึงแม้ชื่อเพลงมันอาจจะชวนให้เข้าใจว่าเชิดชูผู้ใช้แรงงานก็ตาม แต่จริงๆ แล้วมันฟังดูเป็นเพลงวิจารณ์ระบบการศึกษามากกว่า และคำว่า Hero ก็ใช้อย่างประชดประชัน ไม่ได้นำมาใช้เชิดชู

ส่วนคำว่า Underclass มีความหมายกว้างกว่ามาก เพราะมันเป็นคำที่หมายรวมชนชั้นใต้ถุนสังคมผู้ไร้โอกาส ตั้งแต่คนจนข้ามรุ่น คนจรข้างถนน คนติดยา คนตัวเล็กที่ไร้กำลังในโลกของธุรกิจมืด ไปจนถึงคนไข้โรคจิต

เพลง Title Track ซึ่งขึ้นมาเป็นเพลงแรกของอัลบั้ม แม้ยังคงให้ความรู้สึกแบบ Pop Punk อยู่ แต่หากตัดอคติเรื่องความเป็นผู้ใหญ่ในเนื้อหาออกไป เนื้อเพลงมันก็สื่ออารมณ์แบบอนาคิสต์ผู้ป่าวประกาศต่อต้านรัฐและความเป็นสถาบันอย่างตรงไปตรงมาดี ติดตรงที่ดนตรียังฟังดูทรงพลังไม่มากพอ ทำให้รู้สึกว่ามันไม่ค่อยไปด้วยกันกับเนื้อหาเท่าไหร่

"Well i wont be caught living in a dead end job
or pray to a government guns and gods
now its us against them
we're here to represent
stare right in the face of the establishment
and i dont believe
stand on my own
wasting the use
speak for yourself"

- Underclass Hero

แต่ขณะเดียวกันไม่รู้ทำไม เมื่อผมได้ฟังอัลบั้มนี้แล้วกลับไม่รู้สึกนึกถึง Underclass ในภาพเดียวกับที่เขียนถึงในข้างต้นเลยแม้แต่น้อย อาจจะเว้นไว้หน่อยให้กับชนชั้น "วัยรุ่นมีปัญหา" ซึ่งก็ไม่ได้ถึงขั้นเป็น Underclass จริง ๆ

ส่วนตัวผมเองแล้วชอบเพลงที่สะท้อนความรู้สึกสับสน เจ็บปวด เคียดแค้น ของวัยรุ่นที่อยากจะบอกอะไรต่อโลกและคนรอบข้างอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหากับเนื้อหาแบบนี้สักเท่าไหร่ เพียงแต่ราคาคุยของ Sum 41 ที่บอกว่าจะเป็นแนวสังคมการเมืองอาจจะเสียไปบ้าง เพราะเพลงที่มีเนื้อแบบ "วัยรุ่นมีปัญหา" อย่าง Count Your Last Blessing . Walking Disaster หรือ Dear Father (Complete Unknown) นั้นฟังดูสื่อออกมาได้จริงใจกว่าเนื้อเพลงที่พูดถึงเรื่องราวอื่นๆ ในอัลบั้ม

โดยเฉพาะเพลง Dear Father (Complete Unknown) ที่ Deryck Whibley มือกีต้าร์และนักร้องนำ เขียนถึงพ่อของตัวเขาเองที่ไม่เคยได้เห็นหน้าเลย เพราะเขาเป็นเด็กที่เกิดจากแม่อายุ 17 และพ่อก็ทิ้งเขาทั้งสองไป จะว่าไปเพลงนี้น่าจะทำให้วง Sum 41 ดูเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเพลงอื่นๆ เสียอีก เพราะเนื้อหามันก็ไม่ได้คร่ำครวญอะไรมากมาย และดูจะท้าทายผู้เป็นพ่อที่ทิ้งเขาไปหน่อยๆ ด้วย

"I addressed this letter to ‘dear father'
I know you as complete unknown
I guess it's better you don't bother
All our truth should be left alone"

- Dear Father (Complete Unknown)

ขณะที่เพลงอย่าง Pull the Curtain นั้นทำท่าว่าจะดีในช่วงต้นๆ เพลง แต่ตัวดนตรีกลับดูยืดยาวเกินความจำเป็นและพูดอะไรซ้ำซากไปหน่อย ส่วนเพลง Confusion And Frustration In Modern Times ที่ชื่อเพลงก็ประกาศอยู่แล้วว่า จะพูดถึง "ความสับสนและวิตกกังวลในโลกสมัยใหม่" นะ มันคงฟังดูน่าสนใจหากมีแง่มุมใหม่ๆ เกี่ยวกับผู้คนในยุคสมัยปัจจุบัน แต่กลายเป็นว่าเนื้อเพลงฟังดูโหวง ๆ ดนตรีก็ไม่ได้มีอะไรชวนให้รู้สึกถึงสิ่งที่พวกเขาบอก หรือแม้แต่พวกเขาเองจะรู้สึก Confuse หรือ Frustrate จริงๆ หรือเปล่าก็ไม่ทราบได้
 
หรือถ้าไม่คิดมาก การที่หลายเพลงดูจืด ๆ และสื่ออารมณ์ยังไม่ "ถึง" อาจจะมาจาก เสียงร้องนำของ Deryck Whibley เองที่ไม่ว่าจะเป็นเพลงเศร้า เพลงโกรธ หรือเพลงประชด ก็มีน้ำเสียงคล้ายกันไปหมดจน ทำให้อารมณ์ร่วมดูเจือจางไป

ไม่ต้องกลัวว่าจะลืมพูดถึงเพลงประท้วง แต่จะเรียกว่าเป็นเพลงประท้วงก็เรียกได้ไม่เต็มปากเท่าไหร่ เพราะเพลงโจมตีผู้นำ (แน่นอน...โดยเฉพาะ ผู้นำอเมริกา) คือ March of the Dogs , The Jester และ King of Contradition ฟังดูเป็นเพลงสาปแช่งมากกว่าจะเป็นเพลงที่พูดถึงปัญหาที่เกิดจากตัวคนที่พวกเขาโจมตี ตัวเพลงเองก็ดูจะมีแต่น้ำและไม่ได้มีท่าทีจะสะท้อนอะไรจาก Underclass เลยจริง ๆ

ผมเองพยายามจะไม่คิดอะไรมากกับมันและนึกเสียว่ากำลังฟังเพลงสาปแช่งเพื่อความสะใจของตัวเองอยู่ แต่จะว่าไป มันก็ยังมีเพลงสาปแช่งที่มันส์สะใจกว่านี้หลายเท่าอยู่นี่นา... ทำไมผมถึงต้องมามัวฟัง (Political?) Punk อยู่ด้วยเล่า

"I hope you burn like a cigarette in ashes
As your head comes down an crashes
Your throat pours blood from slashes
And I hope you never forget like a tatoo of regret this time, this time"

- King of Contradition

ให้ตายสิ...ทั้งที่ Sum 41 ตั้งมั่นไว้ว่าจะกรุยทางไปสู่เนื้อหาประท้วงสังคม แต่เพลงที่ผมชอบกลับเป็นเพลงที่สุดแสนจะปัจเจกอย่าง Best of Me ที่เป็นเพลงช้าได้อารมณ์ (โชคดีที่ Backing Vocal ช่วยกลบเสียงชืดๆ ของ Deryck ไว้ได้ในบางช่วง) เนื้อหาของเพลงนี้มันพูดถึงการสำรวจตัวเอง ที่สามารถตีความเป็นเพลงรักได้ ถ้าให้บอกกันจริง ๆ เนื้อหาสุดแสนจะปัจเจกบางเพลง มันกลับบอกอะไรจากสังคมได้ดีกว่าเพลง (พยายาม) ประท้วง เสียอีก

Sum 41 กลายเป็นอีกวงหนึ่งที่พยายามเปลี่ยนตัวเอง แต่กลับไม่สามารถก้าวข้ามอะไรบางอย่างไปได้ หากจะเรียก Underclass Hero ว่าเป็นอัลบั้มความหวังใหม่ของพังค์การเมือง มันก็จะกลายเป็นอัลบั้มที่เต็มไปด้วยรอยตำหนิและไปไม่ถึงสิ่งที่อยากจะเป็น หรือแม้กระทั่งจะคิดว่ามันก็คืออีกอัลบั้มหนึ่งของศิลปินพังค์วัยรุ่น ก็จะกลายเป็นอัลบั้มที่ดูด้อยพลังลงกว่าแต่ก่อนอยู่ดี

หาก Angry Young Men ทั้งหลาย อยากจะพูดถึงสังคมอย่างจริงจังบ้างมันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่อยากลองให้พวกเขาไปศึกษาวง Political Punk บางวงดูเสียหน่อย อาจจะทำให้เห็นแนวทางได้มากขึ้น อย่างวง Anti-Flag ที่ประท้วงได้อย่างมีแนวทางชัดเจน หรือวง Propagandhi ที่เนื้อเพลงเสียดสีอย่างน่าคิด และแม้กระทั่งวงอื่น ๆ ที่ถึงแม้จะไม่ได้พูดอะไรลึกนัก แต่ก็มีพลัง และอย่างน้อยก็เข้าใจในสิ่งที่ตนเองต้องการประท้วง

อีกนัยหนึ่ง การเป็น Angry Young Men มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะบางเพลง แม้มันจะไม่ใช่เพลงประท้วงหรือเพลงที่มุ่งสะท้อนสังคมอย่างจริงจัง แต่มันกลับสามารถถ่ายทอดอะไรจากสังคมออกมาได้ดีกว่าเสียอีก ที่สำคัญคือ ถ้าความโกรธเกรี้ยว หรือเศร้าโศกมันถ่ายทอดออกมาได้อย่างสวยงาม และออกมาจากใจจริง มันก็ยังคงคุณค่าในความเป็นศิลปะอยู่ดี

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…