Skip to main content

[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สำรวจตาม ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] งบประมาณสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเมื่อประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติแล้ว หากสภาผู้แทนราษฎรไม่แสดงความกล้าหาญในฐานะผู้แทนปวงชนวิพากษ์วิจารณ์ความฟุ่มเฟือยในงบประมาณแผ่นดินเพื่อกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์นี้แล้ว ตัวเลขดังที่ปรากฏคงไม่คลาดเคลื่อนไปจากนี้ แต่คาดหวังว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคงไม่ปล่อยปละให้ "ตัวเลขงบประมาณ" ในส่วนนี้ยังคงมีสภาพที่สูงมากและสูงขึ้นเรื่อยในทุกปีดำรงอยู่เช่นนี้สืบไป โดยพิจารณาตาม "ร่างพระราชบัญญัติฯ" ฉบับดังกล่าว มีรายการดังต่อไปนี้

มาตรา ๔ (๑) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๔ (๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดาเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๗๔,๖๙๗,๕๐๐ บาท

สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓,๘๒๕,๓๑๖,๕๐๐

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๒) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๒,๗๖๐,๗๐๐ บาท

กรมราชองครักษ์
มาตรา ๖ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๘๔,๕๘๕,๙๐๐ บาท

กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา ๖ ข้อ ๓ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพบก
มาตรา ๖ ข้อ ๔ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพเรือ
มาตรา ๖ ข้อ ๕ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๒,๒๔๖,๑๐๐ บาท

กองทัพอากาศ
มาตรา ๖ ข้อ ๖ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๐ ข้อ ๑๗ สานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ๑๙๘,๘๓๕,๒๐๐ บาท

สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๗ ข้อ ๑ (๒) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๗๑,๔๖๖,๐๐๐ บาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา ๑๗ ข้อ ๖ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๙๑๖,๕๒๐,๖๐๐ บาท

สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕๕๒,๐๘๖,๘๐๐ บาท

สำนักพระราชวัง
มาตรา ๒๕ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓,๒๑๙,๒๗๕,๑๐๐ บาท

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๔ (๒) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๐๗,๓๐๖,๑๐๐ บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๗ (๕) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๔๘๑,๐๖๓,๗๐๐ บาท

รวมจำนวนเงินตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสามพันแปดร้อยหกสิบเก้าล้านหกแสนหกหมื่นสองร้อยบาท)[๒]

หมายเหตุ ข้อความเฉพาะในหมายเหตุนี้ เพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๒๓.๐๗ น.

งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ (๑.๓ หมื่นล้านบาท : ปี ๒๕๕๗) มากกว่าเงินงบประมาณของ
- กระทรวงการต่างประเทศ (งบ ๘,๖๑๐,๓๘๗,๘๐๐ บาท)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งบ ๙,๒๔๖,๒๙๓,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงพาณิชย์ (งบ ๗,๗๘๘,๐๑๓,๖๐๐ บาท)
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งบ ๙,๖๕๘,๒๘๑,๕๐๐ บาท)
- กระทรวงพลังงาน (งบ ๒,๐๙๘,๓๐๘,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงอุตสาหกรรม (งบ ๖,๗๗๔,๗๘๗,๑๐๐ บาท)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งบ ๑๐,๓๘๔,๘๗๓,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (งบ ๙,๓๖๓,๙๐๓,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงวัฒนธรรม (งบ ๖,๘๙๒,๑๗๗,๗๐๐ บาท)

___________________
เชิงอรรถ
[๑] ดู ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เล่มที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ใน สานักการประชุม, กลุ่มงานระเบียบวาระ,. "ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖," ใน https://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx?id=81

[๒] อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน ๑๐,๗๘๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหา กษัตริย์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์," : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔] ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๑,๒๐๘,๘๐๐,๙๗๕ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ" ใน http://prachatai.com/journal/2012/03/39614 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖].

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ